วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติพิมพ์เรือที่เล็กที่สุดในโลก

ภาพจาก: CNN

นักวิจัยจาก Leiden University ในเนเธอร์แลนด์ สร้างเรือที่เล็กที่สุดในโลกจากกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน และเครื่องพิมพ์สามมิติความละเอียดสูง เรือซึ่งมีความยาว 30 ไมโครเมตร ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเดินทางไปในร่างกายของคนเพื่อใช้การรักษาโรค นอกจากเรือแล้วนักวิจัยยังได้สร้างวัตถุในรูปแบบอื่น ๆ ด้วยเช่นวัตถุขนาด 4 ไมโครเมตร นักวิจัยบอกว่าเขาต้องการจะรู้ว่าการออกแบบในรูปแบบใดจะดีที่สุดที่จะเป็นตัวที่ใช้ในการลำเลียงยา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

นักวิทยาศาสตร์สร้างลิ้นสังเคราะห์โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ

ภาพจาก: Daily Mail (U.K.)

นักวิจัยจาก University of Leeds ในอังกฤษ รายงานการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าลิ้นแบบไบโอมิเมติก (biomimetic tongue) อันแรกที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ นักวิจัยใช้การสแกนแบบดิจิทัลกับลิ้นของคนแล้วส่งเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งจะพิมพ์ลิ้นออกมาบนวัสดุที่เป็นซิลิโคนสังเคราะห์เพื่อเลียนแบบความยืดหยุ่นของลิ้นคน ความเปียกของลิ้น และลักษณะของเนื้อ นักวิจัยบอกว่าจุดประสงค์ของการพัฒนาลิ้นสังเคราะห์นี้คือการสร้างลิ้นของมนุษย์ที่สามารถนำไปใช้งานในห้องทดลองได้โดยง่ายเพื่องานอย่างเช่นการตรวจอาหารปลอม ยา และช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านโภชนาการใหม่ ๆ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Daily Mail (U.K.)

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เครื่องมือเพื่อทำนายอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19

Photo by Avi Richards on Unsplash

นักวิจัยจากหลายสถาบันในอังกฤษได้พัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับทำนายอัตราการตายจาก COVID-19 นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากคนไข้กว่า 8 ล้านคน โดยข้อมูลของคนไข้ 6 ล้านคนถูกใช้เป็นตัวสร้างตัวแบบโดยใช้ช่วงเวลา 97 วัน จากวันที่ 24 มกราคม ถึง 30 เมษายน ข้อมูลของอีก 2.2 ล้านคนใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวแบบบนช่วงเวลาที่ต่างกันสองช่วงในรอบของการระบาดรอบแรก โดยตัวแบบทำนายว่า 5% จากคนที่ที่ถูกทำนายว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูงมากจาก COVID-19 จะเป็น 75% ของผู้ที่ตายในช่วงเวลาที่ศึกษา 97 วันแรก นักวิจัยคาดหวังว่าตัวแบบนี้จะช่วยในการแบ่งกลุ่มความเสี่ยงของประชากรสำหรับการจัดการด้านสาธารณสุขในการระบาดรอบสอง และช่วยสนับสนุนการแบ่งปันด้านการจัดการความเสี่ยง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Independent (U.K.)

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์พบว่าแฮกเกอร์ขายข้อมูลผู้เลือกตั้งในอเมริกา 186 ล้านคน

Consumer data for sale.Trustwave

Trustway บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์พบว่าแฮกเกอร์กำลังขายข้อมูลส่วนบุคคลของคนอเมริกัน 245 ล้านคน รวมถึงข้อมุลการลงทะเบียนของผู้เลือกตั้ง 186 ล้านคน โดยแฮกเกอร์เรียกตัวเองว่า Greenmoon 2019 และได้สร้างตัวตนปลอมขึ้นมาเพื่อรับเงิน โดยรวมถึงการใช้กระเป๋าเงินบิตคอยน์ด้วย Trustwave ได้รายงานเรื่องนี้ให้กับ FBI แล้ว Trustwave บอกว่าข้อมูลเหล่านี้เมื่ออยู่ในมือผู้ไม่หวังดีก็จะสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างการบิดเบือนข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อีเมลล่อลวง ข้อความและโทรศัพท์หลอกลวงทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการโต้แย้งผลการเลือกตั้ง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NBC News

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคที่จะทำให้ AI เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องมีข้อมูลฝึกหัด

 

Sample images from the MNIST dataset.WIKIMEDIA

นักวิจัยจาก University of Waterloo ในแคนาดานำเสนอตัวแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ที่มีความสามารถที่เรียกว่า การเรียนรู้แบบ "less than one”-shot (LO-shot)" นั่นคือระบบสามารถรับรู้วัตถุที่นอกเหนือสิ่งที่มันเคยเรียนรู้มาได้อย่างแม่นยำ นักวิจัยสาธิตแนวคิดนี้โดยใช้ภาพ 60,000 ภาพจากชุดข้อมูลของ MNIST ซึ่งเป็นรูปลายมือของการเขียนเลข 0 ถึง 9 โดยจากงานวิจัยก่อนหน้าของ Massachusetts Institute of Technology ได้กลั่นรูปภาพให้เหลือรูปภาพที่ใช้ฝึกอยู่เพียง 10 รูปภาพ โดยใช้เพียง 10 รูปภาพนี้ ก็ทำให้ AI สามารถเรียนรู้ลายมือของการเขียนเลข 0-9 ได้ ซึ่งนักวิจัยจาก Waterloo ต้องการจะลดจำนวนรูปภาพที่ใช้ฝึกลงไปอีก โดยการพยายามรวมภาพการฝึกเลขหลาย ๆ ตัวไว้ในภาพเดียว โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Soft labels ซึ่งพยายามจับส่วนที่เหมือนกันของตัวเลขแต่ละตัว จากนั้นก็ฝึกระบบด้วยข้อมูลอย่างเช่น รูปนี้มีเปอร์เซนต์ที่จะเป็นเลข 3 อยู่ 60%  เป็นเลข 8 อยู่ 30% และเป็นเลข 0 อยู่ 10% เป็นต้น ซึ่งจากการทดลองพบว่าตัวอย่างเพียงสองตัวอย่างอาจแยกความแตกต่างได้เป็น หมื่นหรือเป็นล้านคลาส ซึ่งนักวิจัยบอกว่าประสิทธิภาพของวิธีนี้ขึ้นอยู่กับชุดข้อมูลที่จะถูกนำมาใช้ด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  MIT Technology Review