วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Waymo เริ่มให้บริการรถไร้คนขับใน Arizona


ภาพจาก: Bloomberg

บริษัทรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง Waymo ประกาศเปิดบริการเรียกรถแบบไร้คนขับเต็มรูปแบบในชานเมือง Phoenix, Arizona โดยในช่วงแรกจะให้บริการเฉพาะลูกค้าเก่า และจะมีรถให้ใช้กว่า 300 คัน แต่จะให้บริการอยู่ในพื้นที่ 50 ตารางไมล์เท่านั้น ซึ่ง Waymo จะขยายบริการให้กับลูกค้าใหม่ในอีกสองหรือสามสัปดาห์ โดยบริษัทอาจจะจัดให้มีคนขับนั่งไปในรถเพื่อดูแลความปลอดภัยในบางเที่ยว แต่จะยังไม่ทำจนกว่าจะติดตั้งแผงกั้นระหว่างเบาะหน้ากับเบาะหลังให้เสร็จก่อน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ส่งจดหมายเปิดตัวในญี่ปุ่น

ภาพจาก KYODO

Japan Post Co. ซึ่งเป็นบริษัทไปรษณีย์และขนส่งของญี่ปุ่น กำลังทดสอบหุ่นยนต์ที่ใช้ส่งจดหมายที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยหุ่นยนต์นี้สามารถเคลื่อนที่ได้ในที่ที่มีอุปสรรคต่าง ๆ และสามารถข้ามถนนในแยกที่มีไฟเขียวไฟแดงได้ หุ่นยนต์นี้มีชื่อว่า  DeliRo ซึ่งมีขนาดเท่ากับวีลแชร์ มีกล้อง และเว็นเซอร์ต่าง ๆ ติดตั้งอยู่ภายใน และสามารถบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักสูงสุดได้ 30 กิโลกรัม โดยมีความเร็วในการเดินทางอยู่ที่ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้ผลการทดสอบที่ได้นี้ ในการพิจารณาลดข้อจำกัดที่มีอยู่ในตอนนี้คือหุ่นยนต์จะไม่สามารถทำงานอยู่บนทางเท้าและบนถนน โดยไม่มีคนควบคุมไม่ได้ ดูวีดีโอการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากข่าวเต็มครับ

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  The Japan Times 

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ยุคของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่เป็นพลาสติกแบบไม่ต้องมีแบตเตอรี

ทีมนักวิจัยจาก University of Washington (UW) 
Photo: Mark Stone/University of Washington

นักวิจัยจาก University of Washington (UW) ได้พัฒนาเทคนิคในการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในการพิมพ์วัตถุที่เป็นพลาสติกที่สามารถสื่อสารกันด้วยไวไฟ (Wi-Fi) โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี โดยต่อยอดงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเองเมื่อปี 2014 ที่ใช้การส่งสัญญาณโดยใช้การสะท้อนหรือไม่สะท้อนสัญญาณออกไปแทนค่าบิตที่เป็น 1 หรือ 0 ดังนั้นจึงไม่ต้องใช้แบตเตอรีเป็นแหล่งพลังงาน นักวิจัยได้ปล่อยตัวแบบที่เขาได้ออกแบบโดยใช้โปรแกรม computer-aided design (CAD) เพื่อให้คนที่ชอบการพิมพ์ได้ใช้พิมพ์อ็อบเจกต์ที่เป็นอินเทอร์เน็ตของสรพพสิ่งได้ด้วยตัวเอง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยสร้างลายนิ้วมือดิจิทัลเพื่อตามรอยคนสร้างมัลแวร์


ภาพจาก: The Hacker News

นักวิจัยด้านความมั่นคงไซเบอร์จาก Check Point Research ได้ติดตั้งวิธีการที่จะระบุลักษณะเฉพาะตัวของผู้เขียนมัลแวร์ และใช้มันในลักษณะของลายนิ้วมือเพื่อตามรอยว่าคนคนเดียวกันนี้พัฒนามัลแวร์ตัวใดอีกบ้าง การระบุลักษณะเฉพาะตัวนี้จะดูจากการตั้งค่าที่ใส่ไว้ในโค้ดโปรแกรม การตั้งชื่อสตริง การจัดโครงสร้างโค้ด การพัฒนาฟังก์ชัน เป็นต้น ตัวอย่างที่ค้นพบจากวิธีการนี้คือเขาพบว่า "Volodya" และ "PlayBit" น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน นักวิจัยบอกว่าวิธีการนี้น่าจะช่วยระบุตัวตนของคนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Hacker News


วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แอปจากนาซาเพื่อช่วยงานวิจัยที่สู้กับความอ่อนล้า

Credits: NASA/Ames Research Center/Dominic Hart

National Aeronautics and Space Administration หรือนาซา (NASA) ได้ปล่อยแอปพลิเคชันขึ้นบน App Store ของ Apple เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อคนเรารู้สึกล้า และสามารถระบุสัญญาณที่จะสามารถเตือนให้คนได้รู้ว่าตัวเขาเองเกิดอาการล้าแล้วนะ แอปนี้ทำงานโดยใช้ฐานของการเฝ้าระวังด้านจิตใจ ที่วัดเวลาในการตอบสนองต่อสัญญาณที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับอุปกรณ์พกพา แอปนี้ยังมีส่วนที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลทำได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นคนที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้กับการออกแบบการทดสอบและทางแก้ปัญหาที่น่าเชื่อถือ นาซาใช้แอปนี้ในการจำลองการเดินทางด้วยยานอวกาศ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NASA