วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วิศวกรเชื่อมสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยการปลูกถ่ายโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ภาพจาก University of Sheffield (U.K.)

วิศวกรจาก University of Sheffield ประเทศอังกฤษ St. Petersburg State University ประเทศรัสเซีย และ Technical University of Dresden ประเทศเยอรมัน ได้พัฒนาต้นแบบการปลูกถ่ายจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่สามารถนำไปใช้ในการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีนี้จะทำให้นักประสาทวิทยาสามารถออกแบบ ให้วิศวกรนำไปสร้างตัวแบบคอมพิวเตอร์ และถูกพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นักวิจัยบอกว่า ผู้ป่วยมีลักษณะทางกายวิภาคที่ต่างกัน และการปลูกถ่ายก็จะต้องถูกจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละคน ในอนาคตตัวปลูกถ่ายนี้อาจถูกพิมพ์ออกมาในห้องผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเตรียมตัวรอรับการผ่าตัดอยู่ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Sheffield (U.K.)


วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Amazon เปิดตัว Amazon One ให้จ่ายเงินด้วยฝ่ามือ

Image Credits: Amazon

Amazon เปิดตัว Amazon One เครื่องสแกนไร้สายที่ให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินที่ร้าน Amazon Go ด้วยฝ่ามือ วิธีการจ่ายเงินก้คือลูกค้าสอดบัตรเครดิตเข้าไปที่เครื่อง จากนั้นเอาฝ่ามือชูอยู่เหนือตัวเครื่อง และเครื่องจะจับคู่รูปฝ่ามือของลูกค้ากับระบบจ่ายเงินของ Amazon โดย Amazon บอกว่า Amazon One ใช้เทคโนโลยีด้าน computer vision ในการสร้างลายเซ็นของฝ่ามือแบบทันที ซึ่งวิธีนี้จะให้ความเป็นส่วนตัวมากกว่าการใช้ชีวมาตรแบบอื่น รูปภาพจะถูกเข้ารหัสและส่งไปยังจุดที่ปลอดภัยบนระบบคลาวด์ของ Amazon โดยตอนนี้มีการทดลองระบบนี้อยู่ที่ร้านของ Amzon สองแห่งในซีแอตเติล (Seattle)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechCrunch

  

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์เอาชนะคนในกีฬา Curling

ภาพจาก:  Korea University

นักวิจัยจาก South Korea's Korea University, Germany's Berlin Institute of Technology และ Max Planck Institute for Informatics ได้พัฒนาขั้นตอนวิธีเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ที่ทำให้หุ่นยนต์เอาชนะคนในกีฬา Curling (นาจะคล้าย ๆ ทอยกองบ้านเรา: ผู้สรุป) ทีมนักวิจัยฝึกสอนหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Curly ให้รู้จักประเมินและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ โดยใช้การเรียนแบบเสริมแรงเชิงลึก (deep reinforcement learning)  ทำให้มันสามารถชดเชยความไม่แน่อน และมีการเล่นที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งผลก็คือมันสามารถเอาชนะผู้เล่นที่เชี่ยวชาญที่เป็นคนได้อย่างขาดลอย นักวิจัยบอกว่าเกมอย่าง Curling จะเป็นตัวทดสอบที่ดีในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัญญาประดิษฐ์และโลกจริง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UPI

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

นี่คือรางวัลที่แฮกเกอร์ได้รับจากการล่าบั๊ก

Photo by Bermix Studio on Unsplash

เงินรางวัลกว่า 44.75 ล้านเหรียญถูกมอบให้แฮกเกอร์ทั่วโลกในปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 86% จากการรายงานของ HackerOne ซึ่งเป็นคนจัดการมอบรางวัล ค่าเฉลี่ยของช่องโหว่ที่ร้ายแรงเพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 3,650 เหรียญ และค่าเฉลี่ยต่อหนึ่งช่องโหว่อยู่ที่ 979 เหรียญ นับมาจนถึงปัจจุบัน มีรายงานช่องโหว่เข้ามากว่า 181,000   ช่องโหว่ และแฮกเกอร์ได้รางวัลไปแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญ 90% ของแฮกเกอร์ที่ลงทะเบียนกับ HackerOne มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และหนึ่งในห้ามีแหล่งรายได้จากการแฮกเพียงอย่างเดียว HackerOne รายงานว่าในช่วงน้อยกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีแฮกเกอร์ 9 คน ที่แต่ละคนได้รับเงินรางวัลไปแล้วประมาณ 1 ล้านเหรียญ แฮกเกอร์กว่า 200 คน ได้เงินไปกว่า 100,000 เหรียญ และแฮกเกอร์อีก 9,000 คน ได้เงินไปจำนวนหนึ่ง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ตามล่าไวรัสโคโรนาด้วยแสงยูวีที่สถานีรถไฟลอนดอน

ภาพจาก Reuters

หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานที่ London's St. Pancras International train station ในสหราชอาณาจักร เพื่อฆ่าไวรัสโคโรนาด้วยแสงอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet) หรือเรียกสั้น ๆ ว่ายูวี (UV) โดยหุ่นยนต์จะกวาดไปในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยแสงยูวี ซึ่งจะไม่สร้างผลกระทบด้านสารเคมี และสามารถทำลายไวสัสและแบคทีเรียบนพื้นผิวและในอากาศได้เกือบ 100% ในเวลาไม่กี่นาที โดยสถานีรถไฟนี้มีผู้คนเข้าออกประมาณ 34.6 ล้านคนในเดือนมีนาคม 2019 จัดว่าเป็นสถานีที่มีความวุ่นวายเป็นอันดับที่เก้าในสหราชอาณาจักร  โดยทางสถานีบอกว่าทางสถานีเป็นสถานีแรกที่นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ โดยต้องการให้ผู้คนที่เขามาใช้บริการมีความเชื่อมั่น และค่อย ๆ กลับไปใช้ชีวิตกันตามปกติ ดูวีดีโอการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากข่าวเต็มครับ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters