วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

เมืองในญี่ปุ่นจะทดสอบรถโดยสารสะเทื้นน้ำสะเทิ้นบกที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

ภาพจาก Saitama Institute of Technology

เมือง Naganohara ในญี่ปุ่น จะทดสอบรถโดยสารสะเทื้นน้ำสะเทิ้นบกที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยจะเริ่มในเดือนธันวาคม และทดสอบไปจนถึงมีนาคม 2021 Saitama Institute of Technology (SIT) กำลังพัฒนาระบบไร้คนขับให้กับรถโดยสาร โดยใช้แพลตฟอร์ม Autoware ซึ่งเป็นแบบเปิดเผยรหัส โดยใช้กับรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ และใช้กับตัวควบคุมซึ่งเอา Joy Cars มาดัดแปลง  Joy Cars คือตัวที่ใช้ควบคุมรถในรูปแบบ joystick ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้พิการ หลักการทำงานคร่าว ๆ ก็คือ ตัวโปรแกรม Autoware จะถูกติดตั้งในเครื่องพีซี จะรับข้อมูลจากอุปกรณ์อย่าง Lidar กล้อง และ GPS และนำข้อมุลมาประมวลผลเพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายตัวควบคุม (controller area network ) หรือ CAN ซึ่งก็จะส่งสัญาณไปที่ตัว joystick เพื่อใช้ควบคุมรถยนต์อีกต่อหนึ่ง โดยตัวควบคุมรถยนต์จะแบ่งเป้นสองส่วนคือ ควบคุมพวงมาลัย และควบคุมการเร่งและเบรค โดยตัวรถจะต้องสามารถควบคุมการเคลื่อนที่จากบกสู่น้ำ จากน้ำสู่บก ตรวจสอบาภาพแวดล้อมแบบสามมิติ เนื่องจากเส้นทางที่รถวิ่งจะวื่งไปในเขื่อน Yanba ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงระดับของน้ำ อย่างรวดเร็ว และเนื่องจากในการสร้างเขื่อนนี้ไม่ได้มีการปรับภูมิทัศน์อะไร คือปล่อยน้ำท่วมเข้ามาเฉบ ๆ ดังนั้นต้นไม้ที่เคยมีอยู่ก็จะอยู่อย่างนั้น ดังนั้นต้องใช้โซนาร์ (sonar) เพื่อตรวจสอบอุปสรรคต่าง ๆ ใต้น้ำด้วย  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum


วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

ทำนายอายุขัยของแอป

ภาพจาก Shutterstock

นักวิจัยจาก Northwestern Polytechnical University พัฒนาตัวแบบเพื่อใช้ทำนายอายุขัยของแอป นักวิจัยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ Multi-Task ในการพัฒนาตัวแบบ โดยวิเคราะห์ปัจจัยอย่างเช่นประวัติการดาวน์โหลด คะแนนที่ได้รับ และรีวิวของผู้ใช้จากช่วงเวลาต่าง ๆ ตัวแบบนี้มีชื่อว่า AppLife มันจะทำนายโอกาสที่แอปจะถูกถอดออกจาก app store ในปีหรือสองปี นักวิจัยได้ทดสอบกับชุดข้อมูลของแอปกว่า 35,000 แอป จาก app store ที่เปิดตัวในปี 2015 และยังโหลดได้อยู่ในปี 2016 นักวิจัยบอกว่าวิธีของเขาชนะวิธีที่ทันสมัยที่สุด 7 วิธี ในการทำนายอายุขัยของแอป

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้บุกเบิกคอมพิวเตอร์ Arnold Spielberg พ่อของ Steven Spielberg ตายเมื่ออายุ 103 ปี

Steven Spielberg (ซ้าย) Arnold Spielberg (ขวา) ภาพจาก AP โดย Chris Pizzello

วิศวกรคอมพิวเตอร์ Arnold Spielberg ผู้ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกทางไปสู่คอมพิวเตอร์พีซี และเป็นพ่อแท้ ๆ ของนักสร้างภาพยนต์ชื่อดัง Steven Spielberg เสียชีวิตด้วยวัย 103 ปี ผลงานในการบุกเบิกของเขาคือเขาได้ร่วมมือกับ Charles Propster สร้างเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ GE-225 ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ Dartmouth College ได้พัฒนาภาษาเขียนโปรแกรมคือภาษา Basic ขึ้นมา และภาษา Basic นี้เองเป็นภาษาหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในช่วง ทศวรรษ 1970 และ 1980  Steven Spielberg บอกว่า เมื่อเขามองไปที่เครื่อง PlayStation และมือถือที่มีขนาดตั้งแต่เท่ากับเครื่องคิดเลข ไปจนถึง iPad เขาจะพูดว่าพ่อของเขาและทีมที่เต็มไปด้วยอัจฉริยะ เป็นผู้เริ่มต้นที่ทำให้พวกมันเกิดขึ้นมา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press

เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าพ่อ Steven Spielberg เป็นผู้บุกเบิกวงการคอมพิวเตอร์คนนึง 


วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคใหม่เพื่อป้องกันอุปกรณ์ถ่ายภาพทางการแพทย์จากการจู่โจมทางไซเบอร์

Photo by National Cancer Institute on Unsplash

นักวิจัยจากBen-Gurion University of the Negev (BGU) ในอิสราเอลได้พัฒนาวิธีการใหม่ที่ใช้ AI ในการป้องกันอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพทางการแพทย์จากการจู่โจมทางไซเบอร์ และจากความผิดพลาดของคนที่ป้อนคำสั่งที่ผิดผ่านทางคอมพิวเตอร์ โดยนักวิจัยได้สร้างการตรวจสอบเป็นสองระดับ ยกตัวอย่างเช่นคำสั่งที่สั่งเครื่องให้ทำงาน โดยให้ทำงานกับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นอันตรายถ้าคนไข้จริง ๆ เป็นเด็กทารก ซึ่งถ้าตรวจสอบเพียงชั้นเดียวอาจตรวจสอบไม่พบความผิดนี้ แต่เมื่อเพิ่มการตรวจสอบในชั้นที่สองเข้าไปก็จะตรวจพบได้ การตรวจสอบในชั้นแรกนั้นเป็นการตรวสอบโดยไม่ดูบริบท (context-free) ส่วนการตรวจสอบในชั้นที่สองนั้นเป็นแบบขึ้นกับบริบท (context-sensitive)  นักวิจัยได้ทดสอบการทำงานของระบบกับเครื่อง computed tomography (CT) โดยใช้คำสั่ง 8,227 คำสั่ง ผลการทดลองพบว่าการใช้ชั้นที่สองร่วมกับชั้นที่ 1 จะตรวจจับความผิดพลาดได้เพิ่มขึ้นจาก 71.6% เป็น 82 ถึง 99% ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ทางคลีนิคและทำงานกับส่วนไหนของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการใช้การตรวจสอบในชั้นที่สองนี้สามารถครวจจับความผิดพลาดที่ตรวจไม่เจอในการใช้ชั้นที่หนึ่งอย่างเดียวด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Ben-Gurion University of the Negev (Israel)


วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ช้างกับรถไฟ AI ช่วยไม่ให้มันชนกัน

ทีมนักวิจัยประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบใน West Bengal 
[ภาพจาก Apal Singh] 

นักวิจัยจาก Polytechnic University of Catalonia (UPC)-BarcelonaTech ในสเปนได้พัฒนา"หูอัจฉริยะ"เพื่อช่วยกันการชนกันจนตายระหว่างช้างกับรถไฟในอินเดีย โดยรถไฟที่วิ่งอยู่บนรางรถไฟสาย  Siliguri-Jalapaiguri ได้ชนช้างตายไปแล้วกว่า 200 เชือกในทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยได้ติดตั้งกล้องและเครื่องบันทึกเสียงบนรางรถไฟใน West Bengal จากนั้นวิเคราะห์เสียงและภาพที่ถูกบันทึกไว้ด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อแยกระหว่างเสียงกับภาพของช้างออกจากสิ่งอื่น ๆ "หูอัจฉริยะนี้" สามารถระบุเสียงของช้างได้ในระยะห่าง 1 กม. และสามารถระบุภาพของช้างได้ในระยะ 250 เมตร เมื่อระบบตรวจจับเจอช้างก็จะส่งสัญญาณเตือนไปที่โทรศัพท์ของคนขับรถไฟ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet