วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

NSA และ FBI เปิดเผยเครื่องมือแฮกจากรัสเซีย


Photo by Markus Spiske on Unsplash

National Security Agency (NSA) ของสหรัฐ และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ได้ประกาศต่อสาธารณชนถึงเครื่องมือแฮกจากรัสเซียชื่อ Drovorub ซึ่งเป็นมัลแวร์ (malware) ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Linux ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า  Drovorub เป็นคล้าย ๆ มีดพับสารพัดประโยชน์ของสวิส (Swiss Army knife) ที่ทำงานได้หลากหลายเช่นการขโมยไฟล์ การควบคุมคอมพิวเตอร์ของเหยื่อจากระยะไกล การประกาศการค้นพบ Drovorub นี้เป็นตัวล่าสุดที่ประกาศโดยรัฐบาลสหรัฐ เกี่ยวกับปฏิบัติการแฮกของรัสเซียก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

แฮกเกอร์ชาวดัชแสดงให้เห็นว่าการแฮกระบบสัญญาณไฟทำได้ง่าย ๆ

เราอาจเคยเห็นในหนังฮอลลีวู้ดหลายเรื่องถึงการแฮกระบบสัญญาณไฟจราจร แตาเอาจริง ๆ แล้วจากการสาธิตของนักวิจัยด้านความมั่นคงหลายคนเมื่อหลายปีก่อนแสดงให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ทำกันง่าย ๆ เหมือนในหนัง เพราะใครที่จะทำต้องอยู่ในระยะสัญญาณวิทยุของไฟจราจรที่เป็นเป้าหมาย แต่ตอนนี้นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์สองคนได้แสดงให้เห็นว่าเขาสามารถแฮกไฟจราจรได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต 

[ภาพจาก Getty Images]

ในงานสัมมนาด้านแฮกเกอร์ Defcon นักวิจัยด้านความมั่นคงสองคนคือ Rik van Duijn และ Wesley Neelen ได้แสดงให้เห็นว่าเขาพบช้่องโหว่ในระบบ "intelligent transport" ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเข้าไปแทรกแซงระบบสัญญาณไฟจราจรในอย่างน้อย 10 เมืองในเนเธอร์แลนด์ การแฮกของเขาทำไดยหลอกระบบว่ามีจักรยานกำลังจะผ่านสี่แยก (จริง ๆ ไม่มี) จากนั้นไฟสัญญาณจราจรก็จะกลายเป็นไฟเขียวให้จักรยาน ส่วนรถอื่น ๆ ที่จะผ่านแยกก็จะได้สัญญาณไฟแดง ซึ่งพวกเขาบอกว่าถ้าระบบ "intelligent transport" นี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และถูกแฮกแบบนี้ จะทำให้รถต้องหยุดรออยู่ที่แยกที่จริง ๆ แล้วไม่มีรถอะไรวิ่งผ่านเลย ซึ่งจะทำให้การจราจรติดขัดเป็นวงกว้าง นักวิจัยบอกว่าเขาสามารถสร้างจักยานปลอม ๆ นี้ได้จากที่บ้าน และทำได้พร้อม ๆ กันจากหลายสี่แยกด้วย 

จุดอ่อนของระบบนี้อยู่ที่ระบบสัญญาณไฟจราจรนี้ใช้ตำแหน่งของจักรยานจากแอปอย่าง Schwung และ CrossCycle ซึ่งเมื่อผู้ขี่จักรยานที่ใช้แอปนี้มาถึงสี่แยก ระบบก็จะได้ตำแหน่งของจักรยานและเปลี่ยนไฟเขียวให้กับจักรยาน นักวิจัยได้เขียนสคริปต์เพื่อป้อนข้อมูลหลอก ๆ ให้กับระบบสัญญาณไฟว่าตอนนี้มีโทรศัพท์ของนักขี่จักรยานกำลังจะผ่านแยก

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Wired


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โมเดลการคำนวณที่ช่วยปรับปรุงการนำยาที่ทดลองในสัตว์มาใช้กับคน

ประมาณ 50% ของคนที่กินยารักษาลำไส้อักเสบอย่าง infliximab มีการต่อต้านหรือไม่มีการตอบสนองต่อการใช้ยานี้ นักวิทยาศาสตร์อาจเห็นปัญหานี้ได้ตั้งแต่แรกเริ่มในการผลิตยา ถ้าใช้ตัวแบบการคำนวณที่นักวิจัยจาก Purdue University และ Massachusetts Institute of Technology พัฒนาขึ้นเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนจากการทดลองยาในสัตว์มาสู่การทดลองทางคลีนิคกับคน  

ตัวแบบนี้ชื่อว่า TransComp-R ซึ่งนักวิจัยใช้มันเพื่อระบุกลไกทางชีววิทยาที่ถูกมองข้ามไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้ต่อต้านยา infliximab นักวิจัยบอกว่าตัวแบบนี้จะช่วยบอกได้ว่ายาตัวใดที่ควรจะย้ายจากการทดลองในสัตว์ไปทดลองในคน ถ้ามันมีปัจจัยที่จะทำให้ยานี้ใช้ไม่ได้กับคนเช่นการต่อต้านยา ตัวแบบนี้จะช่วยระบุได้ และจะช่วยแนะนำว่าจะจัดการการทดลองทางคลีนิคได้อย่างไร 

Doug Brubaker หนึ่งในนักวิจัยที่พัฒนา TransComp-R 
[ภาพจาก Purdue University photo/John Underwood]

TransComp-R รวบรวมผลการประเมินเป็นพัน ๆ ตัวอย่างจากตัวแบบที่ใช้กับสัตว์ ข้อมูลที่น้อยลงนี้จะช่วยอธิบายสาเหตุของความแตกต่างด้านชีววิทยาที่มีความเกี่ยวพันกันมากที่สุดระหว่างตัวแบบของสัตว์กับของคน  จากจุดนี้นักวิทยาศาสตร์จะสามารถฝึกสอนตัวแบบอื่น ๆ ให้ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาที่มีต่อมนุษย์จากข้อมูลที่ถูกเลือกมาแล้วจากตัวแบบของสัตว์ได้ 

ในกรณีของ infliximab ปัญหาก็คือข้อมูลการทดลองที่ทำกับหนู และคนไม่เข้ากันด้วยความแตกต่างของประเภทการประเมินทางชีววิทยา ซึ่งตัว TransComp-R สามารถชี้ให้เห็นได้   

นักวิจัยบอกว่างานนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสัตว์ประเภทอื่น โรคอื่น และปัญหาอื่น การที่สามารถระบุสิ่งที่มีผลแต่เฉพาะสัตว์แต่ไม่มีผลกับคน จะช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามในการพัฒนายา

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Purdue University News

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

งานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์มีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกครั้งแต่ทักษะที่เป็นที่ต้องการกำลังเปลี่ยนไป

Photo by Karl Pawlowicz on Unsplash

นักวิจัยจากบริษัทจัดหาคนระดับนานาชาติ Harvey Nash พบว่าในธุรกิจหลายภาคส่วนได้เปลี่ยนความต้องการประเภทของทักษะด้านเทคโนโลยี โดยความมั่นคงทางไซเบอร์ (cybersecurity) สถาปัตยกรรมแบบเอนเทอร์ไพรส์ (enterprise architecture) การเปลี่ยนแปลงองค์กร (organizational change) และทักษะด้านคลาวด์ (cloud) อยู่ในส่วนต้น ๆ ของความต้องการ โดยเมื่อปีที่แล้ว ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ (big data and analytics) อยู่ในอันดับหนึ่ง ตามด้วยความมั่นคงทางไซเบอร์ สถาปัตยกรรมแบบเอนเทอร์ไพรส์ สถาปัตยกรรมเชิงเทคนิค (technical architecture) และ DevOps นักวิจัยบอกว่าภาคเทคโนโลยีนั้นเหมือนมีฉนวนป้องกันตัวจากปัญหาการระบาดของโรค เพราะภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนไปทำงานที่บ้าน ดังนั้นงานด้านเทคโนโลยีที่ชลอตัวลงจะเป็นส่วนของงานประจำเท่านั้น แต่ตอนนี้อัตราความต้องการก็กำลังเพิ่มขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในด้านนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ตอบคำถามให้ความช่วยเหลือ (helpdesk advisor) สถาปนิกระบบคลาวด์ (cloud architect) และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ภาพสามมิติใบหน้าของทารกจากอัลตราซาวด์เพื่อพ่อแม่ที่ตาบอด

Taylor Ellis อายุ 26 ถือรูปสามมิติจากภาพอัลตราซาวด์ของลูกของเธอ 
(Andrew Mangum for The Washington Post)

โรงพยาบาล Johns Hopkins ในบัลติมอร์สามารถสร้างตัวแบบสามมิติของหน้าของลูกของพ่อแม่ที่ตาบอด จากภาพถ่ายที่ได้จากอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยให้พวกเขาได้ "เห็น" หน้าลูกของเขา ก่อนที่ลูกของเขาจะคลอดออกมา เหมือนกับพ่อแม่ที่ตาปกติทั่วไปที่จะได้เห็นหน้าลูกจากภาพอัลตราซาวด์ โดยแนวคิดนี้ได้มาจากการที่เมื่อหลายปีก่อนโรงพบาบาลได้ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติพิมพ์ภาพกระดูกสันหลังของเด็กทารกที่ต้องผ่าตัดเพื่อรักษาโรค spina bifida เพื่อให้ทีมหมอผ่าตัดได้ฝึกฝนก่อนการผ่าจริง สำหรับการพิมพ์หน้าทารกแบบสามมิตินี้ จะใช้เวลาประมาณ 3.5 ชั่วโมง และใช้วัสดุราคา $1.40

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Washington Post