วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โดรนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพาราไกลเดอร์ เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์

Gih-Keong Lau
Mechanical engineer Associate Professor Gih-Keong Lau pictured with the drone prototypeNATIONAL CHIAO TUNG UNIVERSITY

ทีมนักวิจัยนานาขาตินำโดย National University of Singapore ได้พัฒนาต้นแบบของอุปกรณ์บินแบบกระพือปีกได้ ที่สามารถบินวน บินร่อน หรือดิ่งลงมา ได้ดีกว่าโดรนแบบสี่ใบพัดในปัจจุบัน เครื่องนี้สามารถบินโฉบเข้ามาในพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น และสามารถหยุดได้ทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการชน นักวิจัยบอกว่าโดรนนี้คือการผสมผสานกันของ พาราไกลเดอร์ (paraglider) เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Newsweek

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อัตราการประกาศหางานด้านด้านเทคโนโลยีในอเมริกาลดลงมากกว่างานด้านอื่น

postings-tech-vs-all.png
Image: Indeed

Indeed ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านการหางานในอเมริกาบอกว่าอัตราการประกาศหางานด้านเทคโนโลยีลดลง 36% ในปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว จริง ๆ แล้วการประกาศหางานก็ลดลงในทุกด้านแต่เฉลี่ยแล้วอยูที่ 21% นั่นคืองานด้านเทคโนโลยีลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ย ถึงแม้มีการเพิ่มขึ้นของนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมด้วยภาษา R และ Python แต่การประกาศงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับงานด้านเทคโนโลยีทั้งหมด บริษัทจัดอันดับภาษาโปรแกรมชื่อดังอย่าง Tiobe บอกว่าการค้นหาเกี่ยวกับภาษา R และ Python ที่มีอัตราสูงขึ้น น่าจะมาจากมหาวิทยาลัย และด้านสาธารณสุขที่กำลังทำวิจัยด้านวัคซีนไวรัสโคโรนา จากข้อมูลของ Indeed การประกาศหานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และผู้จัดการด้านเทคโนโลยีลดลง 43% และ 45% ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นงานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็ลดลง 35% และงานด้าน ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องก็ยังลดลง 29% 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การจู่โจม Garmin ไม่ได้มีผลแค่เรื่องออกกำลังกาย

grounded planes

PHOTOGRAPH: TOM BLACHFORD/GETTY IMAGES

จากที่บริษัทด้านฟิตเนสและเครื่องมือนำทางอย่าง Garmin ถูกโปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomeware) จู่โจมสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้บริการหลายอย่างใช้ไม่ได้ แต่ปัญหาตอนนี้ไม่ได้เกิดกับแค่ผู้ที่ออกกำลังกายเท่านั้น นักบินที่ใช้ Garmin ในการหาตำแหน่ง และนำทางของเครื่องบินก็กำลังมีปัญหาเช่นกัน แอป flyGarmin และ Garmin Pilot ซึ่งไม่สามารถติดต่อกับระบบคลาวด์ของ Garmin ได้ ก็มีปัญหากับกลไกการวางแผนการบิน และไม่สามารถอัพเดตฐานข้อมูลการบินของ FAA ได้  โดยปกตินักบินจะใช้แอปบน iPad เพื่อสำรองแผนการบิน แต่ถ้าแอปนั้นเป็นของ Garmin ก็จะใช้การไม่ได้ นักบินจะต้องไปโหลดไฟล์จาก FAA เว็บไซต์ หรือโทรศัพท์ไปขอไฟล์ด้วยตัวเอง โปรแกรมเรียกค่าไถ่พุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมด้านระบบควบคุม และสาธารณูประโภคที่สำคัญมากขึ้น เช่นโรงกลั่นน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ และระบบไฟฟ้าสำหรับโรงพยาบาล ซึ่งการที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ถูกเป็นเป้าจู่โจมก็เพราะเป้าหมายเหล่านี้มักจะมีอะไรที่ต้องสูญเสียมากถ้าระบบล่มไป ดังนั้นเป้าหมายเหล่านี้จึงมักที่จะยอมจ่ายเงินค่าไถ่ เพื่อกู้ระบบคืนมา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

ตอนที่โพสต์ข่าวนี้เห็นว่า Garmin เริ่มทยอยแก้ปัญหาได้บางส่วนแล้ว

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การโจมตีเครื่องชาร์จไฟแบบเร็วเพื่อทำให้อุปกรณ์พัง

badpower.jpg
Image: Tencent

ทีมนักวิจัยด้านความมั่นคงของจีนจาก Tencent's Xuanwu Lab บอกกว่าพวกเขาสามารถเข้าไปแก้เฟิร์มแวร์(firmware) ของเครื่องชาร์จไฟแบบเร็ว (fast charger) เพื่อให้อุปกรณ์ที่นำมาชาร์จกับเครื่องชาร์จนี้เสียหายได้ โดยเขาเรียกวิธีการนี้่ว่า BadPower ซึ่งหลักการทำงานของ BadPower ก็คือการไปทำให้เครื่องชาร์จปล่อยแรงไฟออกมามากกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะรับได้ ซึ่งการจู่โจมนี้ทำได้โดยเอาเครื่องมือไปเสียบไว้ที่ตัวชาร์จ ทิ้งไว้สักสองสามวินาที จากนั้นตัวเฟิร์มแวร์ก็จะถูกแก้ไข หรือถ้าคิดว่าการเข้าถึงอุปกรณ์ชาร์จไฟของคนอื่นทำได้ยาก อักวิธีหนึ่งก็หาทางติดตั้งโปรแกรมลงไปในอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ พอผู้ใช้เอาไปชาร์จ โปรแกรมจากโทรศัพท์ผู้ใช้ก็จะไปเปลี่ยนแปลงเฟิร์มแวร์ของเครื่องชาร์จไฟได้เช่นกัน วิธีการป้องกันปัญหานี้ก็คือต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์ของเครื่องชาร์จ แต่นักวิจัยพบว่ามีเครื่องชาร์จไฟหลายยี่ห้อที่ใช้ชิปจากผู้ผลิตที่ไม่ได้เปิดให้มีการอัปเดตเฟิร์มแวร์ ดังนั้นเครื่องชาร์จที่ใช้ชิปเหล่านั้นก็จะยังคงมีความเสี่ยงกับปัญหานี้ วิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้นอกจากการอัพเดตเฟิร์มแวร์ของเครื่องชารจ์ก็คือ ตัวอุปกรณ์ที่จะนำมาชาร์จต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หลอดเลือด Artery ที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถติดตามการอุดตันได้จากภายใน

Section of artificial artery

[ภาพจาก UW-Madison News]

วิศวกรจาก University of Wisconsin-Madison (UW-Madison) กำลังพัฒนาหลอดเลือด artery ที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งจะช่วยให้หมอและคนไข้รู้ว่ามีการอุตตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นได้จากภายในตัวหลอดเลือด ในเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อหมอเอาหลอดเลือดไปใส่แทนของเดิมที่เสียหาย วิธีการติดตามผลต้องทำผ่านอุปกรณ์อย่างเช่น CT scan, ultrasound หรือเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ที่มีราคาแพง 

หลอดเลือดแบบใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาได้ หลอดเลือดนี้จะถูกพิมพ์ขึ้นมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น และสามารถติดตามผลได้ตลอดเวลา หลอดเลือดนี้สามารถสร้างสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นจังหวะตามการเคลื่อนไหวของความดัน ทำให้รู้ระดับความดันเลือดได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานภายนอก 

ด้วยความที่เป็นรูปทรงแบบ 3 มิติ สัญญาณไฟฟ้าที่เป็นจังหวะนี้ยังสามารถทำให้เห็นว่ามีการเคลื่อนตัวที่ผิดไป เนื่องจากการอุดตันในเส้นเลือดหรือไม่ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UW-Madison News