วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ขากรรไกรเพื่อช่วยผลิตหมากฝรั่งทางการแพทย์

จากการศึกษาของนักวิจัยที่ University of Bristol ประเทศอังกฤษ พบว่าหุ่นยนต์ที่เลียนแบบขากรรไกรของคนในการบดเคี้ยว จะช่วยให้บริษัทยาผลิตหมากฝรั่งทางการแพทย์ได้ โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบปริมาณไซลิทอล (xylitol) ที่เหลืออยู่ในหมากฝรั่งจากการเคี้ยวของหุ่นยนต์ เทียบกับคนไข้ที่เข้ารับการทดลอง 


[รูปภาพจาก: University of Bristol News (U.K.)]

นักวิจัยยังต้องการประเมินปริมาณของไซลิทอลที่ถูกปล่อยออกจากหมากฝรั่งอีกด้วย ซึ่งผลการทดลองพบว่าอัตราการปล่อยไซลิทอลในคนกับหุ่นยนต์มีอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยปริมาณไซลิทอลที่ถูกปล่อยออกมามากที่สุดจะอยู่ใน 5 นาที่แรก และหลังจากเคี้ยวไป 20 นาที จะมีปริมาณไซลิทอลเหลืออยู่ในหมากฝรั่งค่อนข้างน้อย นักวิจัยบอกว่าหุ่นยนต์นี้จะช่วยให้บริษัทผลิตยาได้ทดลองหมากฝรั่งทางการแพทย์ โดยลดการทดลองกับคนไข้จริงและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bristol News (U.K.)

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การสัมภาษณ์งานด้านเทคโนโลยีเป็นการประเมินความตื่นเต้นไม่ใช่ทักษะ

นักวิจัยจาก North Carolina State University (NC State) และ Microsoft พบว่าการสัมภาษณ์ด้านเทคนิคในตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ไม่ได้เน้นไปที่ความสามารถในการเขียนโปรแกรม แต่เป็นการดูว่าใครจัดการกับความตื่นเต้นได้ดีกว่ากัน เพราะการสัมภาษณ์งานในตำแหน่งนี้มีการให้ผู้สมัครเขียนโปรแกรมลงบนกระดาน และอธิบายโปรแกรมให้ผู้สอบสัมภาษณ์ฟังไปด้วย 

person writes on whiteboard

[รูปภาพจาก: NC State University News]

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยการแบ่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยกลุ่มหนึ่งให้สัมภาษณ์แบบเขียนกระดานและอธิบายโปรแกรม อีกกลุ่มหนึ่งให้เขียนโปรแกรมในห้องส่วนตัวที่ไม่มีผู้สัมภาษณ์อยู่ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่าบริษัทอาจจะเสียนักเขียนโปรแกรมที่เก่ง ๆ ไป เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่คุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมบนกระดานไปด้วยและอธิบายสิ่งที่เขาเขียนออกมาดัง ๆ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NC State University News

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ช่วยทำแล็บช่วยการวิจัยได้เร็วกว่าเป็น 1000 เท่า




[รูปภาพจาก: The Verge]

ที่ University of Liverpool ในประเทศอังกฤษ นักวิจัยได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยทำแล็บ ซึ่งสามารถช่วยทำแล็บได้เร็วกว่าคน 1,000 เท่า แม้ว่าหุ่นยนต์นี้จำทำงานได้ในห้องแล็บซึ่งต้องมีการระบุตำแหน่งอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า และไม่สามารถออกแบบการทดลองเองได้ แต่มันสามารถทำงานได้ 22 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างระบบอัตโนมัติกับงานวิจัยที่ใช้เวลานานและน่าเบื่อ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Verge

  

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

คำเตือนสำหรับผู้ใช้เราเตอร์ตามบ้าน

นักวิจัยจาก Fraunhofer Institute for Communication (FKIE) ในประเทศเยอรมัน ได้ศึกษาเราเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน 127 ตัวจาก 7 ยี่ห้อ และพบว่า 46 ตัว ไม่มีการอัพเดตด้านความมั่นคงในปีที่ผ่านมา การศึกษายังพบว่าเราเตอร์หล่านี้มีช่องโหว่ที่รู้กันอยู่แล่้วเป็นร้อย ๆ รายการ แต่ซอฟต์แวร์อัพเดตของเราเตอร์ กลับไม่ได้แก้ปัญหาเหล่านี้ นักวิจัยยังพบว่าเราเตอร์ยี่ห้อ AVM เป็นเพียงยี่ห้อเดียวที่ไม่ได้นำกุญแจส่วนตัว (private key) ในการเข้ารหัสใส่ลงไปเฟิร์มแวร์ของเราเตอร์ นอกจากนี้ 90% ของเราเตอร์ที่นำมาศึกษาใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่ไม่ได้มีการอัพเดต นักวิจัยบอกว่าบริษัทเหล่านี้มีการอัพเดตซอฟต์แวร์ของตัวเอง เพียงแต่การอัพเดตนั้นไม่ได้มีส่วนที่ควรจะต้องอัพเดต

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

หวังว่าจะไม่กี่ยวข้องกับเราเตอร์ในประเทศเรานะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

นาฬิกาอัจฉริยะอาจถูกแฮกเพื่อส่งข้อมูลการเตือนการกินยาให้คนป่วย

นักวิจัยจาก Pen Test Partners ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคงในประเทศอังกฤษพบว่าช่องโหว่ในนาฬิกาอัจฉริยะ (smart watch) ที่จะช่วยเตื่อนให้คนไข้ที่สูงอายุไม่ลืมกินยา โดยนักวิจัยพบว่าแอปที่ชื่อ SETracker ที่ได้รับความนิยมมากในนาฬิกาอัจฉริยะราคาถูกซึ่งถูกดาวน์โหลดไปมากกว่า 10 ล้านครั้ง มีช่องโหว่ให้แฮกเกอร์ส่งข้อความเตือนกินยาไปที่นาฬิกาหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยกินยาเกินขนาดได้ เมื่อได้รับการเตือนเรื่องนี้บริษัทจากจีนที่เป็นเจ้าของแอปนี้ก็รีบแก้ช่องโหว่นี้ทันที แต่นักวิจัยบอกว่าเราไม่มีทางรู้ว่าช่องโหว่นี้ถูกใช้ไปบ้างหรือยังก่อนที่จะมีการแก้ไข

 อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News