อ่านข่าวเต็มได้ที่: NPR
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
กว่าครึ่งหนึ่งของทวีตบนทวิตเตอร์ที่เกี่ยวกับโคโรนาไวรัสมาจากบอท
นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก Carnegie Mellon University พบว่าเกือบครึ่งของบัญชีทวิตเตอร์ที่ส่งข้อความเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสน่าจะเป็นบอท โดยทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ทวีตกว่า 200 ล้านทวีตที่เกี่ยวกับไวรัสตั้งแต่เดือนมกราคม และพบว่าประมาณ 45% มีพฤติกรรมที่น่าจะเป็นคอมพิวเตอร์บอทมากกว่าจะเป็นคน ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยยังระบุว่ามีเรื่องเท็จเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสกว่า 100 เรื่องที่ถูกทวีตโดยบอท วิธีการติดตามบอทก็คือ ดูว่ามีบัญชีไหนบ้างที่โพสต์ข้อความบ่อย ๆ เกินกว่าที่คนปกติจะทำได้ หรือข้อความที่บอกว่าอยู่ในประเทศที่แตกต่างกันภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง นักวิจัยบอกว่าบอทมีการทำงานในช่วงนี้มากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดมาก่อนหน้านี้อย่างภัยธรรมชาติ วิกฤติอื่น ๆ และการเลือกตั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
แอปมือถือที่ใช้ประเมินโรคโลหิตจางจากภาพถ่ายเปลือกตา
วิศวกรจาก Purdue University ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์นับจำนวนฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ได้จากภาพถ่ายเปลือกตาภายในของคนไข้ โดยภาพถ่ายนั้นสามารถใช้กล้องจากมือถือได้โดยไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ใด ๆ ช่วยอีก นักวิจัยบอกว่าวิธีนี้ไม่ได้จะมาแทนที่วิธีทดสอบเลือดแบบดั้งเดิม แต่มันให้ผลลัพธ์ที่ใช้ได้ในการนับฮีโมโกลบิน โดยไม่ต้องเจาะเลือดของคนไข้ และยังให้ผลทันทีอีกด้วย
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Purdue University News
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
อินเทลร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ฝึกสอน AI ให้ระบุมะเร็งสมอง
อินเทลและ University of Pennsylvania ได้ร่วมมือกับองกค์กรด้านสุขภาพอีก 29 แห่ง ได้ร่วมมือกันเพื่อฝึกสอน AI ให้ระบุมะเร็งสมองได้ โดยจะฝึกสอน AI ด้วยชุดข้อมูลมะเร็งสมองที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุด โดยชุดข้อมูลนี้จะไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนไข้ ซึ่งอินเทลมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวนี้ สถาบันด้านสุขภาพทั้ง 29 แห่งที่เข้าร่วมตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ และอินเดีย
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ฝึกให้หุ่นยนต์เข้าใจอารมณ์ขันด้วยการแสดงตลก
นักวิจัยจาก Oregon State University (OSU) ได้ประเมินหุ่นยนต์เล่าเรื่องตลกโดยการส่งไปแสดงตลกในสโมสรตลกต่างๆ โดยหุ่นตัวนี้มีชื่อว่า John และได้ไปแสดงตลกในสโมสร 22 แห่งใน LA และ 10 แห่งใน Oregon โดย John ได้ศึกษาเรื่องตลกจากการ์ตูน John จะทำงานในสองโหมด โหมดแรกไม่มีการจัดจังหวะเวลา คือหลังจากปล่อยมุกไปแล้ว จะหยุดรอเสมอ กับโหมดจัดจังหวะเวลา คือถ้าปล่อยมุกไปแล้วคนดูหัวเราะก็จะหยุดรอจนเสียงหัวเราะจางลงแล้วค่อยพูดต่อไปเหมือนกับที่ตลกที่เป็นคนทำ ซึ่งผลการทดลองพบว่า โหมดที่จัดจังหวะเวลาให้ผลที่ดีกว่า ซึ่งการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AI ที่จะเข้าใจการตอบสนองแบบกลุ่มกับหุ่นยนต์ที่ให้ความบันเทิงในโลกจริง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Oregon State University News
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ไมโครซอฟท์เปิดเผยข้อมูลลับที่ใช้ต่อสู้กับการคุกคามที่ใช้โคโรนาไวรัส
ไมโครซอฟท์ได้ตัดสินใจที่จะเปิดเผยข้อมูลลับกับชุมชนด้านความมั่นคง เพื่อการป้องกันเชิงรุก ตรวจสอบ และต่อสู้กับการจู่โจมทางไซเบอร์ที่ใช้การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสในการหลอกลวงเหยื่อ โดยซอฟท์แวร์ด้านความมั่นคงของไมโครซอฟท์มีกลไกการป้องกันฝังอยู่ในตัวแล้ว สิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำก็คือ เปิดเผยตัวบ่งชี้ด้านการจู่โจมบางตัวที่ไมโครซอฟท์มี ให้กับซอฟท์แวร์ที่ไม่ใช่ของไมโครซอฟท์ โดยคาดหวังว่าการทำแบบนี้จะช่วยยกระดับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการจู่โจม วิธีการที่จะมองหาวิธีจู่โจม และวิธีการที่จะติดตามการจู่โจมด้วยตัวเอง ตัวบ่งชี้เหล่านี้ตอนนี้สามารถเข้าถึงได้แล้วจาก Azure Sentinel GitHub และ Microsoft Graph Security API
อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechRadar
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)