วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Data Visualization มีบทบาทอย่างมากในช่วง COVID-19

ในช่วงวิกฤต COVID-19 จะเห็นว่านักวิจัยและมืออาชีพด้านการนำข้อมูลมาแสดงผลได้ช่วยกันนำความเชี่ยวชาญของตัวเองมาต่อสู้กับการระบาดของโรค ในด้านการออกแบบเครื่องมือแจ้งข้อมูลให้สาธารณชน และเป็นแนวทางในการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่นนักวิจัยจาก Johns Hopkins University ได้พัฒนากระดานสรุปข่าวสาร (dashboard) ที่แสดงข้อมูลปัจจุบันของทุกประเทศทั่วโลก โดยมีหน้าต่างที่จะแสดงแผนภาพต่าง ๆ เมื่อคลิกแทบต่าง ๆ เข้าไปดู สื่ออย่าง The New York Times และอื่น ๆ ก็ได้ร่วมกันทำกระดานข่าวสารที่แสดงภาพเคลื่อนไหวของการแพร่ระบาด โดยนักวิจัยจาก Northeastern University  ก็ได้อัพเดตข้อมูลลงในฐานข้อมูลที่เปิด ซึ่งก็มีการนำไปนำเสนอกว่า 600 รูปแบบ นักวิจัยบอกว่าไม่มีสถานการณ์ไหนที่จะผลักดันให้ศาตร์ของข้อมูล การสร้างตัวแบบ และการนำเสนอข้อมูลจะถูกผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของชีวิตประจำวันของเราได้มากกว่านี้อีกแล้ว 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:Nightingale

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

ศูนย์ K-DAI ของคณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ก็เป็นหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลแก่คนไทยในสถานการณ์นี้เช่นกัน 

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยอิสราเอลพัฒนาวิธีการตรวจโคโรนาแบบกลุ่มได้ผลเร็วขึ้น 8 เท่า

ทีมนักวิจัยจากอิสราเอลได้ร่วมกันพัฒนาขั้นตอนวิธีที่ทำให้สามารคัดกรองผู้ติด COVID-19  โดยสามารถทดสอบเป็นกลุ่มได้ ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรง และสามารถตรวจตัวอย่างได้พร้อมกัยที่ละหลาย ๆ ตัวอย่าง ทำให้ประหยัดเวลา เงิน และปริมาณของชุดตรวจที่ต้องใช้ หลักการทำงานของวิธีนี้คือ เอาตัวอย่างที่จะทดสอบมาใส่เครื่องพร้อม ๆ กัน ทีละ 384 ชิ้น โดยตัวอย่างจากคนไข้ 1 คน จะแยกเป็น 6 ชิ้น โดยใช้หุ่นยนต์  ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ใช้การทดสอบแค่ 48 ครั้งสำหรับตัวอย่าง 384 ชิ้น และตัวอย่างของคนไข้ 1 คน จะได้รับการทดสอบทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องขึ้นด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ซื้อของได้รับความนิยมในเมืองในอังกฤษช่วงปิดเมือง

หุ่นยนต์หกล้อที่ใช้ส่งสินค้าจากร้านค้าปลีกกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในเมือง Milton Keynes ในอังกฤษ ในช่วงปิดเมืองเนื่องจากไวรัสโคโรนา หุ่นยนต์นี้เป็นของบริษัท Starship ซึ่งใช้ส่งของฟรีให้กับบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ่นยนต์นี้ได้ส่งของไปแล้วกว่าแสนเที่ยว ซึ่งทางบริษัทบอกว่าจะขยายการใช้หุ่นยนต์นี้กับผู้คนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Reuters

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ุอุปกรณ์ช่วยติดตามพฤติกรรมนักสูบ

ทีมนักวิจัยจาก Cornell ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่จะติดตามพฤติกรรมการสูบของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อที่อาจจะได้ใช้ช่วยควบคุมการติดบุหรี่ของผู้สูบได้ นักวิจัยได้พัฒนาแบตเตอรีที่เขาเรียกว่า PuffPacket ขึ้นมาสามเวอร์ชัน ทำให้สามารถติดเข้าได้กับบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ และมันก็ใช้สัญญาณจากตัวบุหรี่ และเทคโนโลยีบลูทูชเพื่อติดตามความแรง ช่วงเวลา และความถี่ของการสูบ โดยส่งข้อมูลไปที่สมาร์ทโฟน ซึ่งก็จะบันทึกสถานที่ เวลา และกิจกรรมที่ทำในตอนสูบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยให้รู้ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้างที่กระตุ้นให้สูบบุหรี่ ซึ่งนักวิจัยหวังว่า PuffPacket จะข่วยให้คนสูบได้รู้ปริมาณนิโคตินที่ตัวเองได้รับเข้าไป และช่วยให้นักวิจัยเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้คนสูบบุหรี่ เพื่อที่จะได้ออกแบบกลไกในการควบคุม

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Cornell Chronicle

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผิวหนังไฟฟ้าที่ใช้เหงื่อเป็นพลังงานช่วยดูแลสุขภาพ

นักวิจัยจาก California Institute of Technology (Caltech) ได้พัฒนาผิวหนังไฟฟ้าที่สามารถติดลงบนผิวหนังของคน โดยในตัวผิวหนังนี้มีเซ็นเซอร์เพื่อวัดสัญญาณชีพของคนที่ติดมันอยู่ โดยผิวหนังนี้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะดูดซับแลคเตท (lactate) จากเหงื่อของคนใส่ โดยเมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับอากาศจะทำให้ได้น้ำ ไพรูเวท (pyruvate) และพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซ็นเซอร์และอุปกรณ์บลูทูช ด้วยวิธีนี้ทำให้ผิวหนังนี้ส่งค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์ และมีพลังงานที่เสถียรเพียงพอที่จะทำงานอยู่ได้หลายวัน

อ่านข่างเต็มได้ที่: Caltech News