นักวิจัยจาก University of Illinois at Urbana-Champaign's Coordinated Science Laboratory (CSL) ได้พัฒนาระบบที่ทำให้ลำโพงอัจฉริยะอย่าง Amazon Alexa สามารถบอกตำแหน่งของผู้ที่สั่งงานมันได้ โดนระบบนี้ยังสามารถเรียนรู้ลักษณะของห้องได้ด้วย นักวิจัยบอกว่าการรู้ตำแหน่งของผู้สั่งงาน จะทำให้ลำโพงอัจฉริยะสามามารถตอบสนองต่อการสั่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอบ่างเช่นเวลาเราสั่งงานว่าปิดไฟ ถ้าลำโพงรู้ตำแหน่งของเราก็จะรู้ได้ว่าควรปิดไฟห้องไหนเป็นต้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Illinois Coordinated Science Lab
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563
อิสราเอลใช้โทรศัพท์เพื่อติดตามผู้ป่วยโคโรนาไวรัส
รัฐบาลอิสราเอลได้มอบอำนาจให้ Shin Bet ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความปลอดภัยเพื่อใช้ระบบสอดแนมในโทรศัพท์ในความพยายามป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ซึ่งนายกรัฐมนตรีเบนจสมิน เนทันยาฮู ยอมรับว่ามันก็จะมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนในระดับหนึ่ง โดย Shin Bet จะใช้ระบบติดตามโทรศัพท์เพื่อสร้างตัวแบบการเดินทางของผู้ที่ติดเชิ้อ โดยวิเคราะห์ว่าก่อนที่เขาจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น เขาไปที่ไหนมาบ้าง เพื่อที่จะได้ระบุได้ว่าใครบ้างที่อาจมีสิทธิติดโรคบ้าง เพื่อลดการละเมิดความเป็นส่วนตัว เนทันยาฮูบอกว่าจะจำกัดว่าใครจะสามารถดูข้อมูลได้บ้าง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press
เพิ่มเติมเสริมข่าว: เห็นว่าของไทยก็จะบังคับให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาต้องยอมให้ลงแอพติดตามตัว
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press
เพิ่มเติมเสริมข่าว: เห็นว่าของไทยก็จะบังคับให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาต้องยอมให้ลงแอพติดตามตัว
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563
เซ็นเซอร์ติดผิวหนังแบบไร้สายช่วยติดตามทารกและหญิงตั้งครรภ์
นักวิจัยจาก Northwestern University ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ติดผิวหนังแบบไร้สายเพื่อติดตามทารกเกิดใหม่และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้การคลอดมีความปลอดภัยและลดอัตราการตายของแม่ โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Bill & Melinda Gates Foundation and Save the Children ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำไปใช้กับประเทศอย่าง Ghana, India, Kenya, และ Zambia โดยนักวิจัยบอกว่าสิ่งที่ดีของเทคโนโลยีนี้ก็คือเราสามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile device) ได้หลากหลายในการติดตามผล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังคงแม่นยำ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลในทุกวันนี้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern University NewsCenter
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern University NewsCenter
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563
ใช้ VR ในการออกแบบยา
นักวิจัยจาก University of Bristol ในสหราชอาณาจักรกำลังสำรวจวิธีการใช้ VR ในการออกแบบยา นักวิจัยใช้ VR ในการเรนดอร์ (render) โมเลกุลของยาในรูปแบบสามมิติ ผลการทดลองพบว่าแม้แต่คนที่ไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญก็สามารถสร้างโครงสร้างของยาซึ่งมีความซับซ้อนได้ นักวิจัยบอกว่ามันมีความเป็นไปได้ในการสร้างตัวแบบเชื่อมยาเข้าหรืออกจากโปรตีนเป้าหมายโดยใช้เวลาสั้นกว่าการทำแบบเดียวกันโดยไม่ใช้วิธีการนี้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bristol
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bristol
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563
PIN 4 หลักหรือหกหลักปลอดภัยกว่ากัน
ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ Germany’s Ruhr-Universitat Bochum (RUB) และ Max Planck Institute for Security and Privacy และ George Washington University ได้ประเมินการใช้ PIN ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้ง Apple และ Android โดยผลจากการประเมินพบว่า PIN 6 หลักมีความปลอดภัยมากกว่า PIN 4 หลัก เพียงนิดเดียวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ PIN 6 หลัก สามารถสร้างรหัสที่ต่างกันได้ 1,000,000 รหัส ส่วน PIN 4 หลัก จะสร้างรหัสที่ต่างกันได้เพียง 10,000 รหัส เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นอย่างนี้ก็เพราะคนมักจะตั้งรหัส 6 หลักแบบง่าย ๆ เพื่อให้จำได้ง่าย ผลการวิจัยยังบอกด้วยว่ารหัสผ่านปลอดภัยกว่า PIN แต่ PIN ปลอดภัยกว่า Pattern Lock
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ruhr-University Bochum (Germany)
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
มีมหาวิทยาลัยตัวเองมีส่วนร่วมด้วยแฮะ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ruhr-University Bochum (Germany)
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
มีมหาวิทยาลัยตัวเองมีส่วนร่วมด้วยแฮะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)