ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่เรียกว่าบอท (bot) ซึ่งย่อมาจาก robot ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมายและถูกนำไปใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ จุดประสงค์ของบอทก็คือการสร้างเนื้อหาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งบอทหลายตัวก็มีชื่อเสีย(ง) ในทางที่ไม่ดีเช่นทำให้เกิดการจูงใจที่ผิดในการไปออกเสียงลงมติ หรือให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ผิด ๆ ซึ่งนักวิจัยยังบอกว่าบอทที่ไม่ดีเหล่านี้ทำให้การพยายามหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ทำได้ยาก เพราะข้อมูลที่จะวิเคราะห์ควรจะมาจากการโพสต์ของคนจริง ๆ ไม่ใช่บอท ดังนั้นการตรวจสอบว่าโพสต์นั้นมาจากบอทหรือคนจริง จึงมีความสำคัญ แต่ปัญหาก็คือในปัจจุบันบอทมีการพัฒนาไปมาก ไม่ง่ายเหมือนบอทแบบเก่า ๆ ในข่าวบอกว่าโปรแกรมล่าบอทที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นมันยังมีบอทดีด้วย เช่นบอทที่ให้ข้อมูลด้านสุขภาพจริง ๆ หรือบอทที่รายงานสภาพอากาศ ดังนั้นงานที่ยากขึ้นไปอีกก็คือการแยกประเภทของบอท
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Nature News
การแยกระหว่างของจริงกับของปลอมก็ยากอยู่แล้ว นี่ยังต้องแยกระหว่างปลอมดีกับปลอมเลวอีก
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ระบบควบคุมความอุณหภูมิแบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง
นักวิจัยจาก Swiss Federal Laboratories for Materials Science and Technology (Empa) ได้พัฒนาระบบที่ใช้ข้อมูลอุณหภูมิจากปีก่อนและข้อมูลการพยากรณ์อากาศในปัจจุบัน เพื่อใช้ประเมินสภาพของตัวอาคาร และปรับเครื่องควบคุมความร้อนในอาคารให้ปรับอุณภูมิให้มีความสบายสำหรับผู้อาศัย ซึ่งผลจากการประเมินพบว่าระบบนี้ให้ผลลัพธ์ดีพอ ๆ กับการตั้งค่าความสบายจากเมนูที่เครื่องเตรียมไว้ให้ แต่ประหยัดพลังงานได้มากกว่าถึง 25%
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Empa News
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้งาน Big Data
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Empa News
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้งาน Big Data
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ส่งข้อมูลบนเครือข่าย 5G มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มฮาร์ดแวร์
การส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G ในเมืองที่มีผู้คนหนาแน่น ต้องใช้ฮาร์ดแวร์มากขึ้นเพื่อให้ได้การใช้งานที่มีเสถียรภาพ นักวิจัยในญี่ปุ่นได้เสนอวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้โดยติดตัวรับส่งสัญญาณวิทยุบนรถยนต์ และให้ตัวรับส่งสัญญาณเหล่านี้ช่วยกันทำงานจากรถยนต์ที่จอดอยู่ โดยตัวรับส่งสัญญาณนี้จะใช้แบตเตอรีรถยนต์เป็นแหล่งจ่ายพลังงาน แนวคิดหลักของวิธีนี้ก็คือในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่นมักจะมีรถยนต์จอดอยู่ในลานจอดรถเป็นจำนวนมาก ในข่าวบอกว่ามีการทดลองกับรถที่วิ่งอยู่ด้วย แต่ผลการทดลองพบว่าการส่งสัญญาณจากรถที่วิ่งอยู่ทำได้ยากมาก
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
AI ที่ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยาเตือนการแพร่กระจายของไวรัสอูฮันได้เป็นที่แรก
BlueDot ซึ่งเป็นระบบสำหรับเฝ้าระวังด้านสาธารณสุขของแคนาดา เป็นที่แรกที่ได้ส่งสัญญาณเตือนเรื่องการระบาดของโคโรนาไวรัสอูฮันในวันที่ 31 ธันวาคมปีที่แล้ว BlueDot ใช้การวิเคราะห์รายงานข่าวในภาษาต่างประเทศ เครือข่ายโรคพืชโรคสัตว์ และข้อมูลจากรัฐบาลเพื่อเตือนผู้ใช้ระบบให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่การระบาดของโรคน่าจะเกิดขึ้น ขั้นตอนวิธีที่ระบบใช้ยังวิเคราะห์ไปถึงข้อมูลสายการบินทั่วโลกเพื่อช่วยทำนายว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ติดเชื้อเดินทางไปที่ไหนบ้าง ระบบ BlueDot ทำนายได้อย่างถูกต้องว่าไวรัสจะแพร่กระจายจากอูฮัน ไปกรุงเทพ โซล ไทเป และโตเกียวหลังจากวันที่มันเริ่มระบาด ผู้พัฒนาระบบ BlueDot บอกว่าแรงบันดาลใจจากการพัฒนาระบบก็คือการระบาดของไวรัส SARS ในปี 2003 ซึ่งการระบาดนี้ทำให้บุคคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งเขาไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้นอีก ระบบ BlueDot นี้เริ่มเปิดตัวในปี 2014 ด้วยทุน 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มันจะวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Proessing) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อกรองข้อมูลจากนั้นก็ส่งข้อมูลให้นักระบาดวิทยาที่เป็นคนวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ และส่งข้อมูลให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
IoT จะพาเมืองอัจฉริยะก้าวไปอีกขั้น
การใช้งานเครือข่าย IoT ในเมืองอัจฉริยะกำลังก้าวหน้าไปอย่างมาก Gartner ประมาณว่าเมื่อปีที่แล้วเครือข่าย IoT มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันอยู่ประมาณ 14.2 พันล้านเครื่อง ส่วน IDC คาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกัน 41.6 พันล้านเครื่องในปี 2025 ในปัจจุบันเมืองใช้เครือข่ายนี้ในการจัดการของเสีย และการจราจร แต่ผู้เชี่ยวชาญตั้งความหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จะช่วยให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนขึ้นในการบริหารจัดการเมือง และในด้านการทำนาย เช่นหน่วยงานดับเพลิงใน Nashville ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยวิเคราะห์ตำแหน่งที่จะเกิดไฟใหม้ขึ้นในอนาคต ซึ่งก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งก็คือการเปลี่ยนจากการทำงานเชิงรับไปเป็นการทำงานเชิงรุกนั่นเอง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Financial Times
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Financial Times
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)