แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ iot แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ iot แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

IoT จะพาเมืองอัจฉริยะก้าวไปอีกขั้น

การใช้งานเครือข่าย IoT ในเมืองอัจฉริยะกำลังก้าวหน้าไปอย่างมาก Gartner ประมาณว่าเมื่อปีที่แล้วเครือข่าย IoT มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันอยู่ประมาณ 14.2 พันล้านเครื่อง ส่วน IDC คาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกัน 41.6 พันล้านเครื่องในปี 2025 ในปัจจุบันเมืองใช้เครือข่ายนี้ในการจัดการของเสีย และการจราจร แต่ผู้เชี่ยวชาญตั้งความหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จะช่วยให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนขึ้นในการบริหารจัดการเมือง และในด้านการทำนาย เช่นหน่วยงานดับเพลิงใน Nashville ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยวิเคราะห์ตำแหน่งที่จะเกิดไฟใหม้ขึ้นในอนาคต ซึ่งก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งก็คือการเปลี่ยนจากการทำงานเชิงรับไปเป็นการทำงานเชิงรุกนั่นเอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Financial Times

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

การทำให้อุปกรณ์ IoT สื่อสารกันได้เร็วขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ของการสื่อสารไร้สาย

นักวิจัยจาก  University of Pittsburgh’s Swanson School of Engineering ได้ค้นพบวิธีที่จะลดความล่าช้า (delay) ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ IoT โดยไม่ต้องเพิ่มฮาร์ดแวร์ใหม่เข้าไป แต่ใช้ทรัพยากรที่เหลือไม่ได้ใช้ในเครือข่ายการสื่อสารไร้สายมาช่วยในการรับส่งข้อมูล ซึ่งผลการทดลองพบว่าสามารถลดความล่าช้าได้ถึง 90% การสื่อสารที่รวดเร็วแบบมีความล่าช้าน้อยนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ ในข่าวได้ยกตัวอย่างของการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ที่จำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลให้เร็วมากที่สุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Pitt Swanson Engineering

  

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

เซ็นเซอร์แบบพลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อเก็บข้อมูลร่างกาย

ข่าวนี้เป็นผลงานของนักวิจัยเอเชีย เป็นนักวิจัยจากเกาหลีใต้ครับ โดยเขาได้ออกแบบเซ็นเซอร์ติดตัวผู้ใช้ที่มีลักษณะเหมือนพลาสเตอร์ปิดแผล (รูปดูได้ในข่าวเต็ม) วิธีการใช้งานก็เหมือนกับพลาสเตอร์คือติดลงไปบนผิวหนังของเรา ตัวเซ็นเซอร์เองสร้างจากวัสดุซึ่งกันน้ำได้ เซ็นเซอร์แบบนี้จะแก้ปัญหาของเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่ัมักจะมีข้อจำกัดถ้าผู้ใช้มีการเคลื่อนไหวร่างกายหนัก ๆ เหงื่อและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย  เซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านทางบลูทูช (bluetooth) ทำให้สามารถเก็บข้อมูลขึ้นคลาวด์ได้ตลอดเวลา  ดังนั้นก็จะเป็นประโยชน์มากในการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ (biodata) ของผู้ใส่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: dgist

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

จินตนาการถึงวันที่เราจะติดเซ็นเซอร์บนตัวกันเป็นเรื่องปกติ อาจมีแฟชันเซ็นเซอร์แบบต่าง ๆ ให้เลือกซื้อกันตามความชอบด้วย