ขอรวบยอดสองสัปดาห์อีกสักครั้งนะครับ
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
การแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มได้ที่ตัวเรา
สวัสดีครับสำหรับวันนี้พอดีอ่านเจอเรื่องที่น่าสนใจจาก CNET เกี่ยวกับความพยายามแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของค่ายหนังค่ายเพลงในอเมริกาครับ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาเล่าให้ฟังกัน สำหรับวิธีแก้ปัญหานี้เขามุ่งไปที่ตัวผู้ใช้ครับแทนที่จะไปไล่ตามจับผู้ละเมิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไปไล่จับผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดนะครับ แต่เขาจะใช้วิธีที่เรียกว่าให้ความรูู้กับผู้ใช้บริการครับ วิธีนี้นี้มีชื่อว่าระบบแจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์ (Copyright Alert System) หรือเรียกย่อ ๆ ว่าซีเอเอส (CAS) ลักษณะการทำงานของระบบก็คือ จะให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ว่าขณะนี้ผู้ใช้กำลังดาวน์โหลดไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิอยู่ ซึ่งทางระบบมองว่าถ้าเป็นผู้ใช้ที่ดีและไม่รู้เรื่องจริง ๆ ก็จะหยุดการกระทำดังกล่าว แต่เขาจะให้โอกาสผู้ใช้โดยการเตือนถึงหกครั้งนะครับ ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกระบบนี้คือ "เตือนหกครั้ง (six strikes)" ถ้าเตือนไปขนาดนี้แล้วแต่ผู้ใช้ยังคงละเมิดต่อไปก็แสดงว่าผู้ใช้คนนี้อาจเกินเยียวยาแล้ว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็มีสิทธิที่จะระงับการให้บริการชั่วคราวได้ แต่การยกเลิกสัญญากับผู้ใช้นี่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของระบบนี้นะครับ แต่ถ้าผู้ใช้คิดว่าตัวเองไม่ได้ละเมิดก็สามารถแสดงหลักฐานกับทางผู้ให้บริการได้นะครับ แต่สุดท้ายแล้วเจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะต้องลงมาดำเนินการฟ้องร้องกับผู้ใช้เองต่อไป ระบบนี้เริ่มใช้แล้วในอเมริกาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 ครับ จริง ๆ ระบบนี้มีกำหนดการที่จะต้องเสร็จและใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วครับ แต่ก็ต้องเลื่อนมาเพราะพายุเฮอริเคนแซนดี้กับเรื่องที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตยังลังเลที่จะให้ความร่วมมือด้วย
จากประเด็นนี้เราคงเห็นนะครับว่าไม่ใช่เฉพาะคนในประเทศเราที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้แต่ในประเทศที่ถูกมองว่าเจริญแล้วอย่างอเมริกาก็ยังมีปัญหานี้ ในส่วนตัวผมว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ก็มาถูกทางแล้วระดับหนึ่งคือเริ่มจากการให้ความรู้ แต่ที่น่ารังเกียจกว่าพวกประเภทไปเอาของเขามาคือพวกที่เอาของเขามาฟรี ๆ แล้วเอามาหากำไรต่อหรือเอามาเคลมว่าเป็นของตัวเองครับ อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้อ่านเว็บดรามาเรื่องมีคนไปโหลดเกมมาฟรี ๆ แล้วก็เอามาให้คนอื่นโหลดต่อแต่ดันทำลิงก์โฆษณาครอบไว้ประเภทว่าต้องคลิกผ่านลิงก์นี้ก่อนถึงจะโหลดไฟล์ได้ ดังนั้นคนพวกนี้ก็จะได้ค่าโฆษณาครับ แต่คนเขียนเกมไม่ได้อะไรเลย ส่วนเขาจะดราม่าอะไรกันนั้นก็ลองไปอ่านกันดูเองนะครับ หรือที่เจออีกอันหนึ่งก็คือมีคนสร้างฟอนต์ที่ให้นักพัฒนาแอพบน iOS เอาไปใช้ ก็มีคนเอามาเผยแพร่แล้วก็บอกว่าเป็นของตัวเอง ลองอ่านดูที่นี่ครับ และอีกอันหนึ่งที่ยุคนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างมากมายและอยู่ในวงการวิชาชีพของผมซะด้วย ก็คือพวกนักวิชาการที่ไปโขมยผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
ข้ออ้างที่คนเหล่านี้มักจะนำมาใช้ซึ่งผมว่ามันน่าเศร้าใจมากก็คือคำว่า "สังคมแห่งการแบ่งปัน" จริงครับสังคมแห่งการแบ่งปันเป็นสังคมที่ดีแต่ก็ควรจะให้เกียรติกับเจ้าของผลงาน และไม่ควรเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้แบ่งปันเอามาแบ่งปัน หนักไปกว่านั้นดันไปเอาของเขามาหาประโยชน์ และบางครั้งพอเจ้าของเขามาทวงถามหรือขอให้ให้เครดิตเขาบ้างดันไปด่าเขาอีกว่าเห็นแก่ตัว จริง ๆ นะครับพออ่านความคิดเห็นอะไรแบบนี้แล้วรู้สึกเศร้าใจจริง ๆ
วิธีการแก้ปัญหานี้ที่ดีที่สุดผมว่าต้องเริ่มที่ตัวเราครับ ระบบอะไรที่สร้างขึ้นมาผมว่ามันกันคนที่ตั้งใจจะละเมิดไม่ได้หรอก อย่างมากก็ทำให้ลำบากขึ้นบ้าง ตัวเราเองต้องสำนึกครับ เริ่มจากไม่ทำงานหรือรายงานด้วยการตัดปะงานคนอื่น และให้คิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นคนที่นั่งหลังขดหลังแข็งสร้างงานขึ้นมา แต่มีใครไม่รู้ที่ใช้เพียงการคลิกไม่กี่คลิกก็ได้งานของเราไปใช้แบบฟรี ๆ หรือมาหาประโยชน์จากงานของเราแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร เราภูมิใจไหมกับการที่ได้รับตำแหน่งเพิ่มขึ้นหรือได้รับความชื่นชมด้วยการไปลอกผลงานของคนอื่นมา แล้วเราจะมีความสุขไหมที่ต้องมานั่งกังวลว่าจะมีคนมาเจอไหมว่าเราลอกงาน
เราควรจะเริ่มต้นให้ความรู้กับคนที่อาจจะยังไม่รู้ครับว่าเนื้อหาที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรือที่ไหนก็ตามถึงแม้บางอย่างเจ้าของเขาอาจจะประกาศให้เรานำไปใช้ได้ฟรี แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องเคารพ ถ้าเราต้องการจะนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นแค่ประโยคเดียวเราก็ควรจะต้องให้เกียรติกับเจ้าของ ยิ่งของอะไรที่ผู้ใช้ไม่ได้บอกว่าให้ฟรีนี่ก็ไม่ควรจะไปเอามาใช้
ซอฟต์แวร์ก็เหมือนกันครับ เดี๋ยวนี้ราคาก็ถือว่าถูกลงจนพอหาซื้อมาใช้ได้ และถ้าเราไม่อยากซื้้อเราก็ยังมีทางเลือกอื่น อย่างชุด Microsoft Office ในสมัยก่อนเราอาจไม่มีทางเลือก แต่ในปัจจุบันเราอาจใช้ OpenOffice ซึ่งใช้ได้ฟรี หรือใช้บริการอย่าง Google Docs ก็ได้ มันอาจจะมีคุณสมบัติไม่ครบเท่า Microsoft Office แต่คุณสมบัติพื้นฐานก็มีครบถ้วน หรือถ้าจะตกแต่งรูปถ้าเราไม่ใช่มืออาชีพ อยากตกแต่งรูปเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจไม่ต้องไปหาโปรแกรมอย่าง Photoshop มาใช้ก็ได้ มีเว็บให้เราใช้แต่งภาพแบบฟรีมากมาย แม้แต่ Photoshop เองก็มีเครื่องมือออนไลน์อย่าง PhotoshopExpress แต่ถ้าเป็นมืออาชีพและต้องการใช้งานคุณสมบัติในระดับสูงของโปรแกรม ผมก็แนะนำว่าควรซื้อโปรแกรมแบบถูกลิขสิทธิ์มาใช้นะครับ เพราะคุณนำโปรแกรมเขาไปหาผลประโยชน์
เรามาเริ่มที่ตัวเราสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันที่อยู่บนฐานของการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ (และสิทธิ) ของคนอื่นกันเถอะครับ...
วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556
สรุปข่าวงานวิจัยด้านไอที 2-16 มีนาคม 2556
สัปดาห์ที่แล้วที่แล้วยุ่งกับการตรวจข้อสอบครับ เลยขออนุญาตรวบยอดข่าวสองอาทิตย์เลยนะครับ
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556
สรุปข่าวงานวิจัยด้านไอที 25 ก.พ. -1 มี.ค. 2556
กว่าจะได้โพสต์ก็ผ่านมาเกือบอาทิตย์หนึ่งแล้ว แต่เรื่องราวก็ยังไม่ล้าสมัยหรอกนะครับ
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
การเขียนบทสรุปและข้อเสนอแนะในตัวเล่มงานวิจัย
การเขียนบทสุดท้ายในงานวิจัยซึ่งก็คือบทสรุปและข้อเสนอแนะดูเหมือนจะเป็นอีกบทหนึ่งที่ยากสำหรับนักวิจัยหลาย ๆ คน เพราะไม่รู้ว่าควรจะต้องเขียนอะไรบ้าง บางคนเขียนไปเขียนมาก็กลายเป็นเหมือนกับบทคัดย่อ หรือบางคนก็เขียนไปเขียนมากลายเป็นบทนำไปเลย ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่าในบทนี้จุดประสงค์ของมันคืออะไรและควรจะมีอะไรอยู่ในบทนี้บ้าง ตอนแรกผมก็ว่าจะเขียนสรุปขึ้นมาเอง แต่ก็รู้สึกอยากหาทางลัดบ้างก็เลยลองค้นจาก Google ดูว่ามีใครที่เขียนสรุปเรื่องนี้ไว้ดี ๆ บ้างก็ได้เจอสไลด์สรุปของ คุณ Louise Edwards ซึ่งเขียนไว้ที่ Acedimia.edu ซึ่งผมเห็นว่ามันค่อนข้างตรงกับสิ่งที่ผมจะอยากจะเขียนครับก็เลยเอามาสรุปให้ฟังกัน
แต่ก่อนจะมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้างเรามาดูประโยชน์ของการเขียนบทนี้กันก่อนดีกว่าครับ คุณ Louise Edwards ได้เขียนสรุปไว้ได้ค่อนข้างตรงประเด็นทีเดียวครับกล่าวคือประโยชน์แรกก็คือเมื่อคุณต้องนำเสนองานวิจัยของคุณต่อคณะกรรมการสอบ ซึ่งบทนี้มักจะเป็นบทที่กรรมการสอบมักจะอ่านเพื่อที่จะเข้าใจแนวคิดโดยรวมและผลลัพธ์ของงานวิจัย ประเด็นคือคณะกรรมการสอบอาจจะไม่ได้อ่านงานวิจัยของคุณต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ แต่อาจจะอ่าน ๆ หยุด ๆ เป็นช่วง ๆ ดังนั้นบทนี้และบทนำจะช่วยให้กรรมการสามารถเข้าใจงานคุณได้เร็วขึ้น ประโยชน์ประการที่สองคือประโยชน์ต่อตัวคุณเองถ้าคุณมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และต่อมาคุณต้องการเขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับงานของคุณ บทนี้จะเป็นบทที่ทำให้คุณปะติดปะต่องานที่คุณทำได้เร็วขึ้น
เอาล่ะครับหลังจากเห็นประโยชน์บางประการของบทนี้กันไปแล้ว เรามาดูว่าบทนี้ควรมีอะไรอยู่บ้าง อันแรกก็คือส่วนสรุป และอีกส่วนหนึ่งก็คือข้อเสนอแนะ แต่ไม่ได้หมายความว่าบทนี้ของเราจะต้องแบ่งออกเป็นแค่สองส่วนนะครับ เช่นในส่วนสรุปอาจแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ อีกก็ได้ ส่วนสรุปก็คือการนำทุกส่วนในรูปเล่มของเรานำมาร้อยเรียงเชื่อมกันเพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพรวมของงานวิจัยของเราอีกครั้ง ในส่วนนี้ก็มักจะประกอบด้วยเราทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร ประเด็นหลักของงานคืออะไร เราทำวิจัยอย่างไร เราค้นพบอะไรจากงานวิจัยนี้ งานวิจัยนี้มีข้อดีเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้าอย่างไร แต่การสรุปแบบนี้อย่างเดียวยังไม่พอครับในส่วนนี้เราจะต้องเน้นให้เห็นประโยชน์ ความสำคัญ ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ และข้อจำกัดของงานวิจัยนี้ ข้อจำกัดก็คือส่วนที่จะแสดงให้เห็นถึงว่าเราทำงานวิจัยนี้ภายใต้ขอบเขตหรือสภาพแวดล้อมแบบใด มีปัญหาอะไรที่เรายังไม่ได้แก้หรือยังไม่ได้ทดสอบ เช่นบอกว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ทดสอบและทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.1.2 หรือเราได้ทดลองระบบของเราโดยใช้ข้อมูลจากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบัน... เป็นกรณีศึกษา ซึ่งถ้านำไปใช้กับข้อมูลของสถาบันอื่นอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนเป็นต้น ในส่วนของข้อเสนอแนะจะเป็นส่วนที่แนะนำการทำวิจัยต่อไป เช่นการนำเสนอให้ทดลองโดยใช้ชุดข้อมูลใหม่ หรือทดลองกับข้อมูลชุดเดิมโดยใช้ขั้นตอนวิธีใหม่ หรือทดลองและปรับปรุงโปรแกรมให้ทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชันอื่น หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดหน้้าจอที่หลากหลายเป็นต้น
คุณ Louise Edwards ได้สรุปไว้ว่าซึ่งที่จะต้องมีในบทนี้ก็คือการเขียนที่ชัดเจนและเน้นให้เห็นประโยชน์และความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย ในบทนี้จะต้องแสดงถึงความเชื่อมโยงของแนวคิดหลักที่กระจัดกระจายอยู่ในบทต่าง ๆ ของตัวเล่มของเรา ควรจะแสดงถึงความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นของเราในด้านงานวิชาการ และต้องให้ผู้ที่อ่านงานวิจัยของเรามีความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับตัวเราครับ คือเขาอ่านจบแล้วเขาควรจะต้องเข้าใจงานของเราและเชื่อถือหรือยอมรับในสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่พออ่านเสร็จก็มีคำถามเต็มไปหมดว่าไอ้คนนี้มันทำอะไร มันทดลองอะไร ทำไมมันทำแบบนี้ แล้วผลการทดลองมันน่าเชื่อถือได้หรืออะไรประมาณนี้
นอกจากสิ่งที่ควรต้องทำหรือต้องเขียนแล้ว คุณ Louise Edwards ก็แนะนำถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงด้วย ซึ่งผมก็ว่าสำคัญนะครับ เพราะหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง ส่วนแรกที่ไม่ควรจะอยู่ในบทนี้ก็คือการอ้างหรือนำสิ่งที่เรายังไม่ได้ทดสอบมาใช้ เช่นบอกว่าโปรแกรมนี้น่าจะทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Black Berry ด้วยโดยผ่านทางระบบอีมูเลเตอร์ทั้งที่เราก็ไม่เคยได้ทดสอบ อีกส่วนหนึ่ง (ซึ่งส่วนนี้ผมมักจะพบบ่อย ๆ) ก็คือการนำเสนอแนวคิดใหม่หรือหัวข้อใหม่ซึ่งไม่เคยพูดถึงมาก่อนในบทใด ๆ ในตัวเล่มงานวิจัย อีกจุดที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงข้อจำกัดของงานวิจัยเราครับ เพราะมันจะทำให้ผู้อ่านมองว่างานวิจัยของเราไม่น่าเชือถือ นอกจากนี้เราควรจะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงข้อเสนอแนะที่เป็นไปในทางปฏิบัติมาก ๆ เช่นพูดถึงวิธีการปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์โปรแกรมหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งถ้าจำเป็นจริง ๆ ให้เขียนไว้ที่ภาคผนวกครับ และสุดท้ายก็คืออย่าให้บทนี้ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ถ้าบทนี้จะยาวเกินไปส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เราเขียนซ้ำไปซ้ำมาครับ สิ่งที่ผมมักจะเจอก็คือบางทีไปเอาผลการทดลองซึ่งอยู่ในบทก่อนหน้าเอามาใส่ซ้ำในบทสรุปอีกทีหนึ่ง หรือไปคัดลอกเอาส่วนของบทนำมาใส่เป็นต้น แต่ถ้าเขียนสั้นเกินไปผลก็คือเราอาจจะไม่ได้พูดถึงสิ่งสำคัญที่งานวิจัยของเราได้นำเสนอ
ก็หวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอรวบรวมบล็อกที่เกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยของผมมาไว้ที่นี่นะครับเพื่อความสะดวกในการอ้างถึง
การเขียนบทคัดย่อ
การเขียนบททฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เน้นที่ปริญญานิพนธ์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
Use Case Diagram ไม่ใช่ Flowchart นะจะบอกให้ (อันนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับบทที่สามสำหรับด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
อ้างอิง: Writing the Conclusion Chapter for your Thesis
แต่ก่อนจะมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้างเรามาดูประโยชน์ของการเขียนบทนี้กันก่อนดีกว่าครับ คุณ Louise Edwards ได้เขียนสรุปไว้ได้ค่อนข้างตรงประเด็นทีเดียวครับกล่าวคือประโยชน์แรกก็คือเมื่อคุณต้องนำเสนองานวิจัยของคุณต่อคณะกรรมการสอบ ซึ่งบทนี้มักจะเป็นบทที่กรรมการสอบมักจะอ่านเพื่อที่จะเข้าใจแนวคิดโดยรวมและผลลัพธ์ของงานวิจัย ประเด็นคือคณะกรรมการสอบอาจจะไม่ได้อ่านงานวิจัยของคุณต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ แต่อาจจะอ่าน ๆ หยุด ๆ เป็นช่วง ๆ ดังนั้นบทนี้และบทนำจะช่วยให้กรรมการสามารถเข้าใจงานคุณได้เร็วขึ้น ประโยชน์ประการที่สองคือประโยชน์ต่อตัวคุณเองถ้าคุณมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และต่อมาคุณต้องการเขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับงานของคุณ บทนี้จะเป็นบทที่ทำให้คุณปะติดปะต่องานที่คุณทำได้เร็วขึ้น
เอาล่ะครับหลังจากเห็นประโยชน์บางประการของบทนี้กันไปแล้ว เรามาดูว่าบทนี้ควรมีอะไรอยู่บ้าง อันแรกก็คือส่วนสรุป และอีกส่วนหนึ่งก็คือข้อเสนอแนะ แต่ไม่ได้หมายความว่าบทนี้ของเราจะต้องแบ่งออกเป็นแค่สองส่วนนะครับ เช่นในส่วนสรุปอาจแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ อีกก็ได้ ส่วนสรุปก็คือการนำทุกส่วนในรูปเล่มของเรานำมาร้อยเรียงเชื่อมกันเพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพรวมของงานวิจัยของเราอีกครั้ง ในส่วนนี้ก็มักจะประกอบด้วยเราทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร ประเด็นหลักของงานคืออะไร เราทำวิจัยอย่างไร เราค้นพบอะไรจากงานวิจัยนี้ งานวิจัยนี้มีข้อดีเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้าอย่างไร แต่การสรุปแบบนี้อย่างเดียวยังไม่พอครับในส่วนนี้เราจะต้องเน้นให้เห็นประโยชน์ ความสำคัญ ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ และข้อจำกัดของงานวิจัยนี้ ข้อจำกัดก็คือส่วนที่จะแสดงให้เห็นถึงว่าเราทำงานวิจัยนี้ภายใต้ขอบเขตหรือสภาพแวดล้อมแบบใด มีปัญหาอะไรที่เรายังไม่ได้แก้หรือยังไม่ได้ทดสอบ เช่นบอกว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ทดสอบและทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.1.2 หรือเราได้ทดลองระบบของเราโดยใช้ข้อมูลจากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบัน... เป็นกรณีศึกษา ซึ่งถ้านำไปใช้กับข้อมูลของสถาบันอื่นอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนเป็นต้น ในส่วนของข้อเสนอแนะจะเป็นส่วนที่แนะนำการทำวิจัยต่อไป เช่นการนำเสนอให้ทดลองโดยใช้ชุดข้อมูลใหม่ หรือทดลองกับข้อมูลชุดเดิมโดยใช้ขั้นตอนวิธีใหม่ หรือทดลองและปรับปรุงโปรแกรมให้ทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชันอื่น หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดหน้้าจอที่หลากหลายเป็นต้น
คุณ Louise Edwards ได้สรุปไว้ว่าซึ่งที่จะต้องมีในบทนี้ก็คือการเขียนที่ชัดเจนและเน้นให้เห็นประโยชน์และความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย ในบทนี้จะต้องแสดงถึงความเชื่อมโยงของแนวคิดหลักที่กระจัดกระจายอยู่ในบทต่าง ๆ ของตัวเล่มของเรา ควรจะแสดงถึงความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นของเราในด้านงานวิชาการ และต้องให้ผู้ที่อ่านงานวิจัยของเรามีความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับตัวเราครับ คือเขาอ่านจบแล้วเขาควรจะต้องเข้าใจงานของเราและเชื่อถือหรือยอมรับในสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่พออ่านเสร็จก็มีคำถามเต็มไปหมดว่าไอ้คนนี้มันทำอะไร มันทดลองอะไร ทำไมมันทำแบบนี้ แล้วผลการทดลองมันน่าเชื่อถือได้หรืออะไรประมาณนี้
นอกจากสิ่งที่ควรต้องทำหรือต้องเขียนแล้ว คุณ Louise Edwards ก็แนะนำถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงด้วย ซึ่งผมก็ว่าสำคัญนะครับ เพราะหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง ส่วนแรกที่ไม่ควรจะอยู่ในบทนี้ก็คือการอ้างหรือนำสิ่งที่เรายังไม่ได้ทดสอบมาใช้ เช่นบอกว่าโปรแกรมนี้น่าจะทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Black Berry ด้วยโดยผ่านทางระบบอีมูเลเตอร์ทั้งที่เราก็ไม่เคยได้ทดสอบ อีกส่วนหนึ่ง (ซึ่งส่วนนี้ผมมักจะพบบ่อย ๆ) ก็คือการนำเสนอแนวคิดใหม่หรือหัวข้อใหม่ซึ่งไม่เคยพูดถึงมาก่อนในบทใด ๆ ในตัวเล่มงานวิจัย อีกจุดที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงข้อจำกัดของงานวิจัยเราครับ เพราะมันจะทำให้ผู้อ่านมองว่างานวิจัยของเราไม่น่าเชือถือ นอกจากนี้เราควรจะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงข้อเสนอแนะที่เป็นไปในทางปฏิบัติมาก ๆ เช่นพูดถึงวิธีการปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์โปรแกรมหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งถ้าจำเป็นจริง ๆ ให้เขียนไว้ที่ภาคผนวกครับ และสุดท้ายก็คืออย่าให้บทนี้ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ถ้าบทนี้จะยาวเกินไปส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เราเขียนซ้ำไปซ้ำมาครับ สิ่งที่ผมมักจะเจอก็คือบางทีไปเอาผลการทดลองซึ่งอยู่ในบทก่อนหน้าเอามาใส่ซ้ำในบทสรุปอีกทีหนึ่ง หรือไปคัดลอกเอาส่วนของบทนำมาใส่เป็นต้น แต่ถ้าเขียนสั้นเกินไปผลก็คือเราอาจจะไม่ได้พูดถึงสิ่งสำคัญที่งานวิจัยของเราได้นำเสนอ
ก็หวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอรวบรวมบล็อกที่เกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยของผมมาไว้ที่นี่นะครับเพื่อความสะดวกในการอ้างถึง
การเขียนบทคัดย่อ
การเขียนบททฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เน้นที่ปริญญานิพนธ์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
Use Case Diagram ไม่ใช่ Flowchart นะจะบอกให้ (อันนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับบทที่สามสำหรับด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
อ้างอิง: Writing the Conclusion Chapter for your Thesis
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)