การเขียนบทสุดท้ายในงานวิจัยซึ่งก็คือบทสรุปและข้อเสนอแนะดูเหมือนจะเป็นอีกบทหนึ่งที่ยากสำหรับนักวิจัยหลาย ๆ คน เพราะไม่รู้ว่าควรจะต้องเขียนอะไรบ้าง บางคนเขียนไปเขียนมาก็กลายเป็นเหมือนกับบทคัดย่อ หรือบางคนก็เขียนไปเขียนมากลายเป็นบทนำไปเลย ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่าในบทนี้จุดประสงค์ของมันคืออะไรและควรจะมีอะไรอยู่ในบทนี้บ้าง ตอนแรกผมก็ว่าจะเขียนสรุปขึ้นมาเอง แต่ก็รู้สึกอยากหาทางลัดบ้างก็เลยลองค้นจาก Google ดูว่ามีใครที่เขียนสรุปเรื่องนี้ไว้ดี ๆ บ้างก็ได้เจอสไลด์สรุปของ คุณ Louise Edwards ซึ่งเขียนไว้ที่ Acedimia.edu ซึ่งผมเห็นว่ามันค่อนข้างตรงกับสิ่งที่ผมจะอยากจะเขียนครับก็เลยเอามาสรุปให้ฟังกัน
แต่ก่อนจะมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้างเรามาดูประโยชน์ของการเขียนบทนี้กันก่อนดีกว่าครับ คุณ Louise Edwards ได้เขียนสรุปไว้ได้ค่อนข้างตรงประเด็นทีเดียวครับกล่าวคือประโยชน์แรกก็คือเมื่อคุณต้องนำเสนองานวิจัยของคุณต่อคณะกรรมการสอบ ซึ่งบทนี้มักจะเป็นบทที่กรรมการสอบมักจะอ่านเพื่อที่จะเข้าใจแนวคิดโดยรวมและผลลัพธ์ของงานวิจัย ประเด็นคือคณะกรรมการสอบอาจจะไม่ได้อ่านงานวิจัยของคุณต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ แต่อาจจะอ่าน ๆ หยุด ๆ เป็นช่วง ๆ ดังนั้นบทนี้และบทนำจะช่วยให้กรรมการสามารถเข้าใจงานคุณได้เร็วขึ้น ประโยชน์ประการที่สองคือประโยชน์ต่อตัวคุณเองถ้าคุณมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และต่อมาคุณต้องการเขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับงานของคุณ บทนี้จะเป็นบทที่ทำให้คุณปะติดปะต่องานที่คุณทำได้เร็วขึ้น
เอาล่ะครับหลังจากเห็นประโยชน์บางประการของบทนี้กันไปแล้ว เรามาดูว่าบทนี้ควรมีอะไรอยู่บ้าง อันแรกก็คือส่วนสรุป และอีกส่วนหนึ่งก็คือข้อเสนอแนะ แต่ไม่ได้หมายความว่าบทนี้ของเราจะต้องแบ่งออกเป็นแค่สองส่วนนะครับ เช่นในส่วนสรุปอาจแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ อีกก็ได้ ส่วนสรุปก็คือการนำทุกส่วนในรูปเล่มของเรานำมาร้อยเรียงเชื่อมกันเพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพรวมของงานวิจัยของเราอีกครั้ง ในส่วนนี้ก็มักจะประกอบด้วยเราทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร ประเด็นหลักของงานคืออะไร เราทำวิจัยอย่างไร เราค้นพบอะไรจากงานวิจัยนี้ งานวิจัยนี้มีข้อดีเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้าอย่างไร แต่การสรุปแบบนี้อย่างเดียวยังไม่พอครับในส่วนนี้เราจะต้องเน้นให้เห็นประโยชน์ ความสำคัญ ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ และข้อจำกัดของงานวิจัยนี้ ข้อจำกัดก็คือส่วนที่จะแสดงให้เห็นถึงว่าเราทำงานวิจัยนี้ภายใต้ขอบเขตหรือสภาพแวดล้อมแบบใด มีปัญหาอะไรที่เรายังไม่ได้แก้หรือยังไม่ได้ทดสอบ เช่นบอกว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ทดสอบและทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.1.2 หรือเราได้ทดลองระบบของเราโดยใช้ข้อมูลจากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบัน... เป็นกรณีศึกษา ซึ่งถ้านำไปใช้กับข้อมูลของสถาบันอื่นอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนเป็นต้น ในส่วนของข้อเสนอแนะจะเป็นส่วนที่แนะนำการทำวิจัยต่อไป เช่นการนำเสนอให้ทดลองโดยใช้ชุดข้อมูลใหม่ หรือทดลองกับข้อมูลชุดเดิมโดยใช้ขั้นตอนวิธีใหม่ หรือทดลองและปรับปรุงโปรแกรมให้ทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชันอื่น หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดหน้้าจอที่หลากหลายเป็นต้น
คุณ Louise Edwards ได้สรุปไว้ว่าซึ่งที่จะต้องมีในบทนี้ก็คือการเขียนที่ชัดเจนและเน้นให้เห็นประโยชน์และความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย ในบทนี้จะต้องแสดงถึงความเชื่อมโยงของแนวคิดหลักที่กระจัดกระจายอยู่ในบทต่าง ๆ ของตัวเล่มของเรา ควรจะแสดงถึงความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นของเราในด้านงานวิชาการ และต้องให้ผู้ที่อ่านงานวิจัยของเรามีความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับตัวเราครับ คือเขาอ่านจบแล้วเขาควรจะต้องเข้าใจงานของเราและเชื่อถือหรือยอมรับในสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่พออ่านเสร็จก็มีคำถามเต็มไปหมดว่าไอ้คนนี้มันทำอะไร มันทดลองอะไร ทำไมมันทำแบบนี้ แล้วผลการทดลองมันน่าเชื่อถือได้หรืออะไรประมาณนี้
นอกจากสิ่งที่ควรต้องทำหรือต้องเขียนแล้ว คุณ Louise Edwards ก็แนะนำถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงด้วย ซึ่งผมก็ว่าสำคัญนะครับ เพราะหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง ส่วนแรกที่ไม่ควรจะอยู่ในบทนี้ก็คือการอ้างหรือนำสิ่งที่เรายังไม่ได้ทดสอบมาใช้ เช่นบอกว่าโปรแกรมนี้น่าจะทำงานได้ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Black Berry ด้วยโดยผ่านทางระบบอีมูเลเตอร์ทั้งที่เราก็ไม่เคยได้ทดสอบ อีกส่วนหนึ่ง (ซึ่งส่วนนี้ผมมักจะพบบ่อย ๆ) ก็คือการนำเสนอแนวคิดใหม่หรือหัวข้อใหม่ซึ่งไม่เคยพูดถึงมาก่อนในบทใด ๆ ในตัวเล่มงานวิจัย อีกจุดที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงข้อจำกัดของงานวิจัยเราครับ เพราะมันจะทำให้ผู้อ่านมองว่างานวิจัยของเราไม่น่าเชือถือ นอกจากนี้เราควรจะหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงข้อเสนอแนะที่เป็นไปในทางปฏิบัติมาก ๆ เช่นพูดถึงวิธีการปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์โปรแกรมหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งถ้าจำเป็นจริง ๆ ให้เขียนไว้ที่ภาคผนวกครับ และสุดท้ายก็คืออย่าให้บทนี้ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ถ้าบทนี้จะยาวเกินไปส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เราเขียนซ้ำไปซ้ำมาครับ สิ่งที่ผมมักจะเจอก็คือบางทีไปเอาผลการทดลองซึ่งอยู่ในบทก่อนหน้าเอามาใส่ซ้ำในบทสรุปอีกทีหนึ่ง หรือไปคัดลอกเอาส่วนของบทนำมาใส่เป็นต้น แต่ถ้าเขียนสั้นเกินไปผลก็คือเราอาจจะไม่ได้พูดถึงสิ่งสำคัญที่งานวิจัยของเราได้นำเสนอ
ก็หวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอรวบรวมบล็อกที่เกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยของผมมาไว้ที่นี่นะครับเพื่อความสะดวกในการอ้างถึง
การเขียนบทคัดย่อ
การเขียนบททฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เน้นที่ปริญญานิพนธ์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
Use Case Diagram ไม่ใช่ Flowchart นะจะบอกให้ (อันนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับบทที่สามสำหรับด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
อ้างอิง: Writing the Conclusion Chapter for your Thesis
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเขียน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเขียน แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
การเขียนบททฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เน้นที่ปริญญานิพนธ์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์)
จริง ๆ ว่าจะเขียนเรื่องนี้มานานแล้ว เพราะในฐานะที่ตัวเองเป็นอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จะต้องตอบคำถามว่าบทที่สองในรูปเล่มรายงานปริญญานิพนธ์ (ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) ต้องเขียนอะไรบ้าง วันนี้ก็โดนถามอีกก็เลยคิดว่ามาเขียนบล็อกให้แนวทางในการเขียนสักหน่อยก็น่าจะดี นอกจากจะเป็นประโยชน์กับลูกศิษย์ตัวเองแล้ว ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่ต้องเขียนปริญญานิพนธ์ และที่สำคัญก็คือตัวเองจะได้ไม่ต้องปากเปียกปากแฉะซ้ำ ๆ หลายรอบ :)
บทที่สองจุดประสงค์จริง ๆ ก็คือให้คุณได้เขียนอธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่คุณจะนำมาใช้เป็นหลักในการทำวิจัย และวิเคราะห์และสรุปการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ ส่วนที่เป็นปัญหาที่เจอมากที่สุดก็คือทฤษฎีจะเขียนอะไร บางคนก็เข้าใจว่าอะไรที่ตัวเองใช้ก็คือทฤษฎี ดังนั้นในสมัยก่อนที่เจอบ่อยก็คือจะเริ่มต้นด้วยว่าฐานข้อมูลคืออะไร อธิบายการออกแบบ การเขียน ER ไปจนถึง primary key, candidate key เป็นต้น ซึ่งพอถามว่าจะเขียนมาทำไม ก็ได้รับคำตอบว่านี่คือทฤษฎีที่ต้องใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล พอเจอคำตอบอย่างนี้ผมก็เลยถามกลับว่าถ้าอย่างนั้นทำไมถึงไม่เขียนมาด้วยล่ะว่าการเขียนโปรแกรมคืออะไร การคอมไพล์โปรแกรมทำยังไง หรือการวิเคราะห์หรือออกแบบระบบคืออะไร เพราะก็ต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเหมือนกันไม่ใช่หรือ พอเจอคำถามนี้เข้าไปก็เงียบกันไปหมด รุ่นหลัง ๆ นี้ก็เลยไม่เขียนกันแล้วว่าฐานข้อมูลคืออะไร แต่ไปเขียนว่าแอนดรอยด์คืออะไร จะเขียนโปรแกรมบนแอนดรอย์ต้องทำยังไงแทน เฮ้อ.... แต่ที่เจอแล้วมึนที่สุดก็คือเขียนอธิบายมาว่าเว็บเบราซ์เซอร์คืออะไร เหตุผลที่เขียนมาก็คือเพราะตัวเองทำเว็บแอพพลิเคชัน เว็บเบราซ์เซอร์ก็เลยเป็นทฤษฎีที่ใช้ส่วนหนึ่ง เวรกรรมจริง ๆ
ผมมานั่งวิเคราะห์ปัญหาดูว่าทำไมเราถึงเขียนอะไรกันอย่างนี้ ก็เลยคิดว่าปัญหาอาจมาจากคำว่าอย่าเขียนอะไรโดยคิดว่าคนอ่านรู้อยู่แล้ว แต่จริง ๆ มันมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ในนั้นนะครับคือเราต้องคิดว่าคนอ่านอย่างน้อยก็น่าจะอยู่ในฟิลด์ของเรา (คอมพิวเตอร์) ดังนั้นเขาควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องพวกฐานข้อมูล หรือการพัฒนาโปรแกรมอยู่แล้ว หรือถ้าเขาเป็นนักคอมพิวเตอร์แต่ไม่รู้วิธีการเขียนโปรแกรมแอนดรอยด์ เขาก็ควรไปหาอ่านจากหนังสือทางด้านนี้โดยตรง งานวิจัยของเราคงไม่ได้มีจุดประสงค์จะมาสอนใครให้เขียนโปรแกรมแอนดรอยด์เป็นใช่ไหมครับ ดังนั้นอันแรกครับพวกความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าแพล็ตฟอร์มไหนนี่ตัดทิ้งไปได้เลยครับ เวลาเขียนบทที่สองให้คิดไว้ครับว่าคนอ่านเขาคงไม่ได้เข้ามาอ่านงานของเราเพื่ออ่านทฤษฎีพื้นฐานที่หาอ่านได้ทั่ว ๆ ไป หรือมีการเรียนการสอนกันอยู่แล้วนะครับ
แล้วจะเขียนอะไรดีล่ะในส่วนทฤษฎีนี้ คำตอบที่ผมมักจะให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางคือ มีทฤษฎีหรือความรู้อะไรที่คนที่อ่านงานของคุณในบทที่สาม (การดำเนินการวิจัย/การวิเคราะห์และออกแบบระบบ) จำเป็นต้องรู้บ้างไหม ถ้ามีก็ให้เขียนไว้เพื่อที่เขาจะได้กลับมาอ่านเป็นแนวทางได้ แต่ก็เอาเฉพาะที่จำเป็น ส่วนที่เป็นรายละเอียดมาก ๆ ก็ให้เป็นเอกสารอ้างอิงไป ตัวอย่างเช่นสมมติว่าคุณต้องทำโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับ GPS และต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ GPS ลงฐานข้อมูล ก็ไม่แปลกอะไรที่คุณจะมีทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ GPS ต้องใช้ จะเห็นนะครับว่าอย่างเรื่อง GPS นี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นพื้นฐานใช้กันทั่วไป และการที่คุณให้ข้อมูลตรงนี้ไว้ มันก็จะช่วยให้คนอ่านในบทที่สามของคุณเข้าใจว่าทำไมคุณต้องมีฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลนี้ในตารางในฐานข้อมูลของคุณ หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่ง ถ้างานเราต้องใช้การติดต่อกับ Social Network อย่าง Twitter หรือ Facebook ก็ถือว่าโอเคนะถ้าจะมีส่วนที่แสดงให้เห็นว่าการติดต่อกับ Social Network เหล่านี้ทำได้โดยผ่าน API และมันมีข้อมูลหรือบริการอะไรที่เราใช้ได้บ้าง เพราะตรงนี้มันก็อาจอธิบายถึงการออกแบบในบทที่สามของเราเมื่อต้องทำงานกับส่วนนี้ ส่วนถ้างานของเราเน้นที่การพัฒนาโปรแกรม ไม่ได้ใช้อะไรจริง ๆ นอกจากทักษะด้านออกแบบและการพัฒนาโปรแกรม ผมว่าจะไม่มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเลยก็ไม่แปลกนะ เพราะบทนี้ยังมีอีกส่วนหนึ่งก็คืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะให้คุณได้แสดงทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ในส่วนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องถ้าใครที่ทำงานที่เน้นไปที่ด้านการวิจัย สิ่งที่ต้องทำก็คือให้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานที่เราทำ แต่ไม่ใช่ไปลอกงานเขามาใส่งานเรานะครับ แต่ทีต้องทำก็คือศึกษาและวิเคราะห์จุดดีจุดด้อยของงานวิจัยที่มีอยู่ เพื่อที่จะได้ตอบคำถามว่าทำไมเราถึงต้องทำงานชิ้นนี้ จากนั้นก็เขียนสรุปงานของเขาและส่วนของการวิเคราะห์ด้วยคำพูดของเราเอง ส่วนคนที่ทำำแอพพลิเคชันก็ต้องเขียนเพื่อตอบให้ได้ว่าทำไมต้องทำแอพลิเคชันนี้ ถ้ามันยังไม่มีิอยู่เลยก็ต้องหาที่มาของข้อกำหนดความต้องการให้ได้ เช่นถ้าจะพัฒนาระบบงานเพื่อช่วยทำอะไรก็ต้องชี้ให้เห็นว่าระบบเดิมที่เขาทำด้วยคนโดยไม่มีโปรแกรมนี่มันมีการทำงานอย่างไร ระบบเดิมมีปัญหาตรงไหน หรือถ้าจะทำแอพพลิเคชันที่มีคนทำอยู่แล้ว ก็ศึกษาข้อดีข้อด้อยของแอพลิเคชันเหล่านั้น แล้วก็นำมาเขียนอาจจะเป็นลักษณะของการรีวิวก็ได้ ซึ่งสิ่งที่เราศึกษาและวิเคราะห์มาก็จะนำไปสู่ข้อกำหนดความต้องการของระบบที่เราจะพัฒนาขึ้นนั่นเอง
คิดว่าจากที่เขียนมาทั้งหมด ก็คงจะพอทำให้เห็นแนวทางการเขียนบทที่สองของงานปริญญานิพนธ์ได้มากขึ้นนะครับ ซึ่งถึงแม้ผมจะเน้นและยกตัวอย่างด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่คิดว่าก็อาจนำไปปรับใช้กับงานวิจัยด้านอื่นได้เช่นกัน
สุดท้ายก็ขอนำบล็อกที่เคยเขียนเกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยมาใส่ลิงก์ไว้ให้ตรงนี้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาครับ
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
การเขียนบทคัดย่อ
บทที่สองจุดประสงค์จริง ๆ ก็คือให้คุณได้เขียนอธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่คุณจะนำมาใช้เป็นหลักในการทำวิจัย และวิเคราะห์และสรุปการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ ส่วนที่เป็นปัญหาที่เจอมากที่สุดก็คือทฤษฎีจะเขียนอะไร บางคนก็เข้าใจว่าอะไรที่ตัวเองใช้ก็คือทฤษฎี ดังนั้นในสมัยก่อนที่เจอบ่อยก็คือจะเริ่มต้นด้วยว่าฐานข้อมูลคืออะไร อธิบายการออกแบบ การเขียน ER ไปจนถึง primary key, candidate key เป็นต้น ซึ่งพอถามว่าจะเขียนมาทำไม ก็ได้รับคำตอบว่านี่คือทฤษฎีที่ต้องใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล พอเจอคำตอบอย่างนี้ผมก็เลยถามกลับว่าถ้าอย่างนั้นทำไมถึงไม่เขียนมาด้วยล่ะว่าการเขียนโปรแกรมคืออะไร การคอมไพล์โปรแกรมทำยังไง หรือการวิเคราะห์หรือออกแบบระบบคืออะไร เพราะก็ต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเหมือนกันไม่ใช่หรือ พอเจอคำถามนี้เข้าไปก็เงียบกันไปหมด รุ่นหลัง ๆ นี้ก็เลยไม่เขียนกันแล้วว่าฐานข้อมูลคืออะไร แต่ไปเขียนว่าแอนดรอยด์คืออะไร จะเขียนโปรแกรมบนแอนดรอย์ต้องทำยังไงแทน เฮ้อ.... แต่ที่เจอแล้วมึนที่สุดก็คือเขียนอธิบายมาว่าเว็บเบราซ์เซอร์คืออะไร เหตุผลที่เขียนมาก็คือเพราะตัวเองทำเว็บแอพพลิเคชัน เว็บเบราซ์เซอร์ก็เลยเป็นทฤษฎีที่ใช้ส่วนหนึ่ง เวรกรรมจริง ๆ
ผมมานั่งวิเคราะห์ปัญหาดูว่าทำไมเราถึงเขียนอะไรกันอย่างนี้ ก็เลยคิดว่าปัญหาอาจมาจากคำว่าอย่าเขียนอะไรโดยคิดว่าคนอ่านรู้อยู่แล้ว แต่จริง ๆ มันมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ในนั้นนะครับคือเราต้องคิดว่าคนอ่านอย่างน้อยก็น่าจะอยู่ในฟิลด์ของเรา (คอมพิวเตอร์) ดังนั้นเขาควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องพวกฐานข้อมูล หรือการพัฒนาโปรแกรมอยู่แล้ว หรือถ้าเขาเป็นนักคอมพิวเตอร์แต่ไม่รู้วิธีการเขียนโปรแกรมแอนดรอยด์ เขาก็ควรไปหาอ่านจากหนังสือทางด้านนี้โดยตรง งานวิจัยของเราคงไม่ได้มีจุดประสงค์จะมาสอนใครให้เขียนโปรแกรมแอนดรอยด์เป็นใช่ไหมครับ ดังนั้นอันแรกครับพวกความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าแพล็ตฟอร์มไหนนี่ตัดทิ้งไปได้เลยครับ เวลาเขียนบทที่สองให้คิดไว้ครับว่าคนอ่านเขาคงไม่ได้เข้ามาอ่านงานของเราเพื่ออ่านทฤษฎีพื้นฐานที่หาอ่านได้ทั่ว ๆ ไป หรือมีการเรียนการสอนกันอยู่แล้วนะครับ
แล้วจะเขียนอะไรดีล่ะในส่วนทฤษฎีนี้ คำตอบที่ผมมักจะให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางคือ มีทฤษฎีหรือความรู้อะไรที่คนที่อ่านงานของคุณในบทที่สาม (การดำเนินการวิจัย/การวิเคราะห์และออกแบบระบบ) จำเป็นต้องรู้บ้างไหม ถ้ามีก็ให้เขียนไว้เพื่อที่เขาจะได้กลับมาอ่านเป็นแนวทางได้ แต่ก็เอาเฉพาะที่จำเป็น ส่วนที่เป็นรายละเอียดมาก ๆ ก็ให้เป็นเอกสารอ้างอิงไป ตัวอย่างเช่นสมมติว่าคุณต้องทำโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับ GPS และต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ GPS ลงฐานข้อมูล ก็ไม่แปลกอะไรที่คุณจะมีทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ GPS ต้องใช้ จะเห็นนะครับว่าอย่างเรื่อง GPS นี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นพื้นฐานใช้กันทั่วไป และการที่คุณให้ข้อมูลตรงนี้ไว้ มันก็จะช่วยให้คนอ่านในบทที่สามของคุณเข้าใจว่าทำไมคุณต้องมีฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลนี้ในตารางในฐานข้อมูลของคุณ หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่ง ถ้างานเราต้องใช้การติดต่อกับ Social Network อย่าง Twitter หรือ Facebook ก็ถือว่าโอเคนะถ้าจะมีส่วนที่แสดงให้เห็นว่าการติดต่อกับ Social Network เหล่านี้ทำได้โดยผ่าน API และมันมีข้อมูลหรือบริการอะไรที่เราใช้ได้บ้าง เพราะตรงนี้มันก็อาจอธิบายถึงการออกแบบในบทที่สามของเราเมื่อต้องทำงานกับส่วนนี้ ส่วนถ้างานของเราเน้นที่การพัฒนาโปรแกรม ไม่ได้ใช้อะไรจริง ๆ นอกจากทักษะด้านออกแบบและการพัฒนาโปรแกรม ผมว่าจะไม่มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเลยก็ไม่แปลกนะ เพราะบทนี้ยังมีอีกส่วนหนึ่งก็คืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะให้คุณได้แสดงทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ในส่วนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องถ้าใครที่ทำงานที่เน้นไปที่ด้านการวิจัย สิ่งที่ต้องทำก็คือให้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานที่เราทำ แต่ไม่ใช่ไปลอกงานเขามาใส่งานเรานะครับ แต่ทีต้องทำก็คือศึกษาและวิเคราะห์จุดดีจุดด้อยของงานวิจัยที่มีอยู่ เพื่อที่จะได้ตอบคำถามว่าทำไมเราถึงต้องทำงานชิ้นนี้ จากนั้นก็เขียนสรุปงานของเขาและส่วนของการวิเคราะห์ด้วยคำพูดของเราเอง ส่วนคนที่ทำำแอพพลิเคชันก็ต้องเขียนเพื่อตอบให้ได้ว่าทำไมต้องทำแอพลิเคชันนี้ ถ้ามันยังไม่มีิอยู่เลยก็ต้องหาที่มาของข้อกำหนดความต้องการให้ได้ เช่นถ้าจะพัฒนาระบบงานเพื่อช่วยทำอะไรก็ต้องชี้ให้เห็นว่าระบบเดิมที่เขาทำด้วยคนโดยไม่มีโปรแกรมนี่มันมีการทำงานอย่างไร ระบบเดิมมีปัญหาตรงไหน หรือถ้าจะทำแอพพลิเคชันที่มีคนทำอยู่แล้ว ก็ศึกษาข้อดีข้อด้อยของแอพลิเคชันเหล่านั้น แล้วก็นำมาเขียนอาจจะเป็นลักษณะของการรีวิวก็ได้ ซึ่งสิ่งที่เราศึกษาและวิเคราะห์มาก็จะนำไปสู่ข้อกำหนดความต้องการของระบบที่เราจะพัฒนาขึ้นนั่นเอง
คิดว่าจากที่เขียนมาทั้งหมด ก็คงจะพอทำให้เห็นแนวทางการเขียนบทที่สองของงานปริญญานิพนธ์ได้มากขึ้นนะครับ ซึ่งถึงแม้ผมจะเน้นและยกตัวอย่างด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่คิดว่าก็อาจนำไปปรับใช้กับงานวิจัยด้านอื่นได้เช่นกัน
สุดท้ายก็ขอนำบล็อกที่เคยเขียนเกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยมาใส่ลิงก์ไว้ให้ตรงนี้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาครับ
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
การเขียนบทคัดย่อ
วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
วันนี้ขอเขียนเรื่องหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาในการเขียนบทความวิชาการภาษาไทย เรื่องนั้นก็คือคำที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจะเขียนอย่างไร ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าจริง ๆ ถ้าเป็นพวกวารสารหรือที่ประชุมวิชาการเราก็ไปดูว่าเขามีกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร ถ้าเป็นพวกวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ก็คงต้องศึกษาคู่มือการเขียนปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่หลักการที่ส่วนใหญ่จะยึดไว้เหมือนกันก็คือให้พยายามใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด คำภาษาอังกฤษที่เป็นคำทับศัพท์ที่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วก็ให้ใช้ทับศัพท์ไปตามนั้นเช่นชื่อประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาเป็นต้น
ในส่วนของศัพท์เฉพาะทาง เริ่มต้นก็ให้ดูศัพท์บัญญัติทางวิชาการของสาขาวิชานั้นที่บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภา ซึ่งแน่นอนครับคำศัพท์หลาย ๆ คำที่ถูกบัญญัติไว้นั้นบางคำก็ดูแปลก ๆ และบางครั้งพอเอามาใช้เขียนในเนื้อหาแล้วทำให้ดูสับสนมากกว่าจะช่วยให้อ่านรู้เรื่อง ปัญหานี้เดี๋ยวผมจะกลับมาพูดอีกทีครับว่าผมใช้วิธีการยังไง นอกจากนี้ทางราชบัณฑิตยสถานอาจรู้ตัวแล้วว่าคำศัพท์บางคำเอาไปใช้ตรง ๆ แล้วอาจไม่สื่อความหมายก็เลยยอมให้ใช้วิธีทับศัพท์ได้ด้วยโดยเขียนคำทับศัพท์มาให้เสร็จสรรพ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ง่ายสำหรับเราหยิบมาใช้ได้เลย
คราวนี้คำศัพท์ที่ไม่มีการบัญญัติและไม่มีคำทับศัพท์ล่ะจะทำยังไง ถ้าเป็นแบบนี้ถ้าให้ดีจริง ๆ ก็คือเราอาจต้องให้ความหมายเอง หรือทับศัพท์ด้วยตัวเราเอง แต่แบบไม่ค่อยดีก็คือเขียนเป็นภาษาอังกฤษไปเลย ซึ่งวิธีหลังสุดนี้ก็ง่ายดีแต่บางทีมันก็อาจทำให้งานเขียนของเราดูไม่ค่อยสอดคล้องกันสักเท่าไร ลองคิดดูนะครับเราใช้คำไทยมาตลอดแต่มีบางคำโผล่มาเป็นภาษาอื่นผมว่ามันดูแปลก ๆ นะ ส่วนการแปลหรือให้ความหมายเองบางคนถามว่าจะทำได้หรือ โดยส่วนตัวผมคิดว่าทำได้ ก็มันไม่มีการบัญญัติไว้ ถ้าเราใช้แล้วมันสื่อความหมายได้ดีทำไมจะใช้ไม่ได้ และดีไม่ดีอาจเป็นคำที่ต่อไปกลายเป็นศัพท์บัญญัติก็ได้ แต่ถ้าคิดว่าควรจะทับศัพท์ดีกว่าก็คงจะทับศัพท์ตามใจชอบไม่ได้ การทับศัพท์จะต้องยึดหลักที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสภา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้จากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการ หรือหนังสืออิเลกทรอนิกส์ที่ผมชอบมากก็คือศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ แต่ก็ต้องบอกว่าหลักการทับศัพท์นี่ก็มีรายละเอียดเยอะมากครับบางครั้งอ่านแล้วก็ยังงง ๆ อยู่
อีกเรื่องหนึ่งที่มักสร้างความสับสนก็คือเรื่องของการวงเล็บภาษาอังกฤษประกอบกับคำศัพท์ภาษาไทยที่เราเลือกใช้ หลักการง่าย ๆ หลักการแรกก็คือคำศัพท์ไหนที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันดีจนมันกลายเป็นภาษาไทยไปแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ย โปรแกรม และคอมพิวเตอร์ เหล่านี้ไม่ต้องใส่วงเล็บประกอบครับ ผมว่ามันเชยนะถ้าเราต้องเขียนแบบนี้ เทคโนโลยี (technology) ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคำทับศัพท์คำนี้มันมาจากภาษาอังกฤษคำไหน
การใช้วงเล็บควรจะใช้กับคำศัพท์ที่ยังไม่แพร่หลาย หรือคำที่ใช้อาจสื่อถึงภาษาอังกฤษได้หลายตัว การวงเล็บนั้นหลักการก็คือควรวงเล็บเฉพาะครั้งแรกที่เราใช้คำนั้นเช่น ซิงโครนัส (synchronous) เราก็วงเล็บเฉพาะครั้งแรก หลังจากนั้นเราก็ใช้ซิงโครนัสได้เลยโดยไม่ต้องใส่วงเล็บอีก ลองคิดดูครับว่ามันจะน่ารำคาญแค่ไหนที่ในหน้าเดียวกันเราเขียนคำว่าซิงโครนัส (synchronous) แล้วถัดไปอีกสามบรรทัดก็เขียนซิงโครนัส (synchronous) อีก แต่สำหรับเรื่องนี้ผมก็มีหลักการของตัวเองเพิ่มเติมนิดหน่อยครับไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่า ผมเห็นว่างานวิชาการบางครั้งคนอ่านงานเราเขาอาจไม่ได้อ่านตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้ายเหมือนอ่านนิยาย เขาอาจจะเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่เขาสนใจ ดังนั้นถ้าเราใส่คำศัพท์ที่มีวงเล็บไว้ที่บทที่หนึ่งแล้วแต่เขาไม่ได้อ่านข้ามมาอ่านบทที่สามเลย เขาอาจไม่รู้ว่าคำนี้มันคืออะไร ดังนั้นถ้าเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่คนอ่านควรรู้ ผมก็คิดว่าถ้าเราจะวงเล็บไว้ในครั้งแรกที่เราใช้ในแต่ละบทก็น่าจะดี หรือไม่เราก็อาจมีอภิธานศัพท์ (glossary) ไว้ในภาคผนวกก็อาจช่วยได้ ซึ่งอภิธานศัพท์นี้นอกจากที่จะช่วยคนอ่านแล้วยังช่วยเราคนเขียนด้วย คือเราจะได้ใช้คำคำเดียวกันสำหรับคำศัพท์คำเดียวกันได้อย่างสอดคล้องตลอดทั้งเล่ม
กลับมาอีกหนึ่งเรื่องที่ผมค้างไว้ก็คือจะทำยังไงถ้าใช้ศัพท์บัญญัติแล้วมันไม่สื่อความหมายในงานเขียนของเรา ผมขอยกตัวอย่างคำหนึ่งคือคำว่า implementation คำนี้ศัพท์บัญญัติทางคอมพิวเตอร์ของราชบัณฑิตใช้คำว่าการทำให้เกิดผล ดังนั้นสมมติว่าเราต้องการจะแปลวลี design and implementation เราก็คงต้องแปลว่าการออกแบบและการทำให้เกิดผล ซึ่งมันอาจฟังดูแปลก ๆ เพราะเราไม่คุ้น และคำว่าการทำให้เกิดผลมันไม่ได้สื่อตรง ๆ ว่าหมายถึงอะไร ถ้าวลีดังกล่าวเป็นชื่อหัวข้อผมว่าการแปลอย่างนี้อาจจะใช้ได้ เพราะเราสามารถขยายความคำว่าการทำให้เกิดผลว่ามันหมายถึงอะไรในส่วนของเนื้อความ แต่สมมติว่ามันไม่ใช่หัวข้อแต่เป็นเนื้อความส่วนอื่น ก็อาจถามตัวเองว่ามันมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องแปลหรือเขียนคำว่า implementation ตรง ๆ สมมติว่าถ้าเราลองเลี่ยงไปใช้คำอื่นเช่นการพัฒนาโปรแกรมมันยังให้ความหมายที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่ แต่ถ้าต้องใช้ implementation จริง ๆ ส่วนตัวผมอาจใช้คำว่าการอิมพลีเมนต์ครับ อันนี้เลี่ยงบาลีเอา คือมองว่าคำว่า implement ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ และ implementation เป็นคำนาม เราก็เติมการเข้าไป ผมว่ามันทำได้นะครับถ้าจะทำให้บทความของเราอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะคนในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็รู้จักคำว่าอิมพลีเมนต์กันทุกคน แต่จะถูกหลักของราชบัณฑิตยหรือเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจ
สุดท้ายผมมีหนังสือแนะนำสองเล่มที่น่าจะช่วยการเขียนของเราครับเล่มแรกคืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง และอีกเล่มคือคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในไทย โดย เจตต์ วิษุวัต ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมคำทับศัพท์ที่ใช้บ่อย ๆ ในประเทศไทยไว้ให้พวกเราได้ใช้กัน วันนี้ยาวหน่อยนะครับ แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์...
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เขียนอย่างไร 1
ผมเห็นว่าตอนนี้เราเขียนคำภาษาไทยผิดกันเยอะครับ ก็เลยวางแผนว่าจะทวิตคำที่มักจะเขียนผิดลงทวิตเตอร์ไปสักวันละสองสามคำ แต่เนื่องจากทวิตเตอร์นั้นตรงไทม์ไลน์อาจจะไหลเร็ว ก็เลยรวมรวบคำที่ทวิตไปมาไว้ในบล็อกอีกทีหนึ่ง ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ และต่อไปนี้ก็คือคำที่ทวิตไปในวันนี้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)