วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การเขียนคำภาษาต่างประเทศในบทความวิชาการ
วันนี้ขอเขียนเรื่องหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาในการเขียนบทความวิชาการภาษาไทย เรื่องนั้นก็คือคำที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจะเขียนอย่างไร ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าจริง ๆ ถ้าเป็นพวกวารสารหรือที่ประชุมวิชาการเราก็ไปดูว่าเขามีกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร ถ้าเป็นพวกวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ก็คงต้องศึกษาคู่มือการเขียนปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่หลักการที่ส่วนใหญ่จะยึดไว้เหมือนกันก็คือให้พยายามใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด คำภาษาอังกฤษที่เป็นคำทับศัพท์ที่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วก็ให้ใช้ทับศัพท์ไปตามนั้นเช่นชื่อประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาเป็นต้น
ในส่วนของศัพท์เฉพาะทาง เริ่มต้นก็ให้ดูศัพท์บัญญัติทางวิชาการของสาขาวิชานั้นที่บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภา ซึ่งแน่นอนครับคำศัพท์หลาย ๆ คำที่ถูกบัญญัติไว้นั้นบางคำก็ดูแปลก ๆ และบางครั้งพอเอามาใช้เขียนในเนื้อหาแล้วทำให้ดูสับสนมากกว่าจะช่วยให้อ่านรู้เรื่อง ปัญหานี้เดี๋ยวผมจะกลับมาพูดอีกทีครับว่าผมใช้วิธีการยังไง นอกจากนี้ทางราชบัณฑิตยสถานอาจรู้ตัวแล้วว่าคำศัพท์บางคำเอาไปใช้ตรง ๆ แล้วอาจไม่สื่อความหมายก็เลยยอมให้ใช้วิธีทับศัพท์ได้ด้วยโดยเขียนคำทับศัพท์มาให้เสร็จสรรพ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ง่ายสำหรับเราหยิบมาใช้ได้เลย
คราวนี้คำศัพท์ที่ไม่มีการบัญญัติและไม่มีคำทับศัพท์ล่ะจะทำยังไง ถ้าเป็นแบบนี้ถ้าให้ดีจริง ๆ ก็คือเราอาจต้องให้ความหมายเอง หรือทับศัพท์ด้วยตัวเราเอง แต่แบบไม่ค่อยดีก็คือเขียนเป็นภาษาอังกฤษไปเลย ซึ่งวิธีหลังสุดนี้ก็ง่ายดีแต่บางทีมันก็อาจทำให้งานเขียนของเราดูไม่ค่อยสอดคล้องกันสักเท่าไร ลองคิดดูนะครับเราใช้คำไทยมาตลอดแต่มีบางคำโผล่มาเป็นภาษาอื่นผมว่ามันดูแปลก ๆ นะ ส่วนการแปลหรือให้ความหมายเองบางคนถามว่าจะทำได้หรือ โดยส่วนตัวผมคิดว่าทำได้ ก็มันไม่มีการบัญญัติไว้ ถ้าเราใช้แล้วมันสื่อความหมายได้ดีทำไมจะใช้ไม่ได้ และดีไม่ดีอาจเป็นคำที่ต่อไปกลายเป็นศัพท์บัญญัติก็ได้ แต่ถ้าคิดว่าควรจะทับศัพท์ดีกว่าก็คงจะทับศัพท์ตามใจชอบไม่ได้ การทับศัพท์จะต้องยึดหลักที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสภา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้จากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการ หรือหนังสืออิเลกทรอนิกส์ที่ผมชอบมากก็คือศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ แต่ก็ต้องบอกว่าหลักการทับศัพท์นี่ก็มีรายละเอียดเยอะมากครับบางครั้งอ่านแล้วก็ยังงง ๆ อยู่
อีกเรื่องหนึ่งที่มักสร้างความสับสนก็คือเรื่องของการวงเล็บภาษาอังกฤษประกอบกับคำศัพท์ภาษาไทยที่เราเลือกใช้ หลักการง่าย ๆ หลักการแรกก็คือคำศัพท์ไหนที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันดีจนมันกลายเป็นภาษาไทยไปแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ย โปรแกรม และคอมพิวเตอร์ เหล่านี้ไม่ต้องใส่วงเล็บประกอบครับ ผมว่ามันเชยนะถ้าเราต้องเขียนแบบนี้ เทคโนโลยี (technology) ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคำทับศัพท์คำนี้มันมาจากภาษาอังกฤษคำไหน
การใช้วงเล็บควรจะใช้กับคำศัพท์ที่ยังไม่แพร่หลาย หรือคำที่ใช้อาจสื่อถึงภาษาอังกฤษได้หลายตัว การวงเล็บนั้นหลักการก็คือควรวงเล็บเฉพาะครั้งแรกที่เราใช้คำนั้นเช่น ซิงโครนัส (synchronous) เราก็วงเล็บเฉพาะครั้งแรก หลังจากนั้นเราก็ใช้ซิงโครนัสได้เลยโดยไม่ต้องใส่วงเล็บอีก ลองคิดดูครับว่ามันจะน่ารำคาญแค่ไหนที่ในหน้าเดียวกันเราเขียนคำว่าซิงโครนัส (synchronous) แล้วถัดไปอีกสามบรรทัดก็เขียนซิงโครนัส (synchronous) อีก แต่สำหรับเรื่องนี้ผมก็มีหลักการของตัวเองเพิ่มเติมนิดหน่อยครับไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่า ผมเห็นว่างานวิชาการบางครั้งคนอ่านงานเราเขาอาจไม่ได้อ่านตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้ายเหมือนอ่านนิยาย เขาอาจจะเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่เขาสนใจ ดังนั้นถ้าเราใส่คำศัพท์ที่มีวงเล็บไว้ที่บทที่หนึ่งแล้วแต่เขาไม่ได้อ่านข้ามมาอ่านบทที่สามเลย เขาอาจไม่รู้ว่าคำนี้มันคืออะไร ดังนั้นถ้าเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่คนอ่านควรรู้ ผมก็คิดว่าถ้าเราจะวงเล็บไว้ในครั้งแรกที่เราใช้ในแต่ละบทก็น่าจะดี หรือไม่เราก็อาจมีอภิธานศัพท์ (glossary) ไว้ในภาคผนวกก็อาจช่วยได้ ซึ่งอภิธานศัพท์นี้นอกจากที่จะช่วยคนอ่านแล้วยังช่วยเราคนเขียนด้วย คือเราจะได้ใช้คำคำเดียวกันสำหรับคำศัพท์คำเดียวกันได้อย่างสอดคล้องตลอดทั้งเล่ม
กลับมาอีกหนึ่งเรื่องที่ผมค้างไว้ก็คือจะทำยังไงถ้าใช้ศัพท์บัญญัติแล้วมันไม่สื่อความหมายในงานเขียนของเรา ผมขอยกตัวอย่างคำหนึ่งคือคำว่า implementation คำนี้ศัพท์บัญญัติทางคอมพิวเตอร์ของราชบัณฑิตใช้คำว่าการทำให้เกิดผล ดังนั้นสมมติว่าเราต้องการจะแปลวลี design and implementation เราก็คงต้องแปลว่าการออกแบบและการทำให้เกิดผล ซึ่งมันอาจฟังดูแปลก ๆ เพราะเราไม่คุ้น และคำว่าการทำให้เกิดผลมันไม่ได้สื่อตรง ๆ ว่าหมายถึงอะไร ถ้าวลีดังกล่าวเป็นชื่อหัวข้อผมว่าการแปลอย่างนี้อาจจะใช้ได้ เพราะเราสามารถขยายความคำว่าการทำให้เกิดผลว่ามันหมายถึงอะไรในส่วนของเนื้อความ แต่สมมติว่ามันไม่ใช่หัวข้อแต่เป็นเนื้อความส่วนอื่น ก็อาจถามตัวเองว่ามันมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องแปลหรือเขียนคำว่า implementation ตรง ๆ สมมติว่าถ้าเราลองเลี่ยงไปใช้คำอื่นเช่นการพัฒนาโปรแกรมมันยังให้ความหมายที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่ แต่ถ้าต้องใช้ implementation จริง ๆ ส่วนตัวผมอาจใช้คำว่าการอิมพลีเมนต์ครับ อันนี้เลี่ยงบาลีเอา คือมองว่าคำว่า implement ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ และ implementation เป็นคำนาม เราก็เติมการเข้าไป ผมว่ามันทำได้นะครับถ้าจะทำให้บทความของเราอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะคนในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็รู้จักคำว่าอิมพลีเมนต์กันทุกคน แต่จะถูกหลักของราชบัณฑิตยหรือเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจ
สุดท้ายผมมีหนังสือแนะนำสองเล่มที่น่าจะช่วยการเขียนของเราครับเล่มแรกคืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง และอีกเล่มคือคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในไทย โดย เจตต์ วิษุวัต ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมคำทับศัพท์ที่ใช้บ่อย ๆ ในประเทศไทยไว้ให้พวกเราได้ใช้กัน วันนี้ยาวหน่อยนะครับ แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์...
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
จะทำยังไงเมื่อ Facebook คิดว่าเราตายไปแล้ว
บล็อกนี้เขียนขึ้นด้วยความประหลาดใจสองข้อครับ ข้อแรกคือผมเพิ่งจะรู้ว่า Facebook มีฟังก์ชันให้เราแจ้งว่าเพื่อนของเราตายไปแล้ว ข้อสองคือ Facebook จะเชื่อทันทีโดยไม่ตรวจสอบและเปลี่ยนสถานะบัญชีของคนที่ถูกแจ้งว่าตายแล้วเป็นสถานะอยู่ในความทรงจำ ซึ่งเจ้าของบัญชีที่อยู่ในสถานะนี้เมื่อล็อกอินเข้ามาแล้วจะเจอข้อความว่า
Account Inaccessible This account is in a special memorial state. If you have any questions or concerns, please visit the Help Center for further information.
ถ้าแปลเป็นไทยก็จะได้ความประมาณว่า บัญชีนี้อยู่ในสถานะอยู่ในความทรงจำ ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ให้ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือ นั่นหมายความว่าเจ้าของบัญชีจะทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากต้องติดต่อศูนย์ช่วยเหลือนี่เท่านั้น ซึ่งถ้าใครตอนนี้อยู่ในสถานะนี้ (และแน่นอนยังไม่ได้ตายจริง) นี่คือลิงก์ของศูนย์ช่วยเหลือเรื่องนี้ครับ แจ้งเรื่องสถานะอยู่ในความทรงจำ
ประเด็นที่ผมอยากจะเพิ่มเติมก็คือหนึ่งผมว่าคุณสมบัตินี้มีประโยชน์นะครับ ลองนึกว่าจะดีแค่ไหนถ้าเพื่อนเราตายไปแล้วแต่เวลาเราคิดถึงเขาเราก็ยังเข้าไปดูสิ่งที่เขาเคยโพสต์ได้ แต่ Facebook น่าจะทำอะไรได้ดีกว่าพอมีคนแจ้งปุ๊บก็เชื่อปั๊บและเปลี่ยนสถานะให้เขาตายทันที อย่างนี้ก็แกล้งกันได้ง่ายสิครับ และแน่นอนมีคนถูกแกล้งมาแล้ว สิ่งที่ Facebook ทำตอนนี้คือแค่มีคำเตือนอย่างนี้ครับ
IMPORTANT: Under penalty of perjury, this form is solely for the reporting of a deceased person to memorialize.
แปลเป็นไทยแบบสรุป ๆ ก็คือคุณอาจโดนข้อหาแจ้งความเท็จได้ ประเด็นคือต้องไปฟ้องร้องเอา แล้วกฎหมายนี้มันจะครอบคลุมทุกประเทศไหม อย่างประเทศไทยนี่มันเข้าข่ายพรบ.คอมพิวเตอร์ข้อไหนไหมแค่คิดก็ปวดหัวแล้ว ซึ่งจริง ๆ ผมว่ามันมีวิธีป้องกันง่าย ๆ ที่ Facebook น่าจะคิดและทำได้ เช่นพอมีคนแจ้งก็ส่งอีเมลไปให้เจ้าของบัญชีก่อนเพื่อการยืนยัน โดยข้อความในจดหมายที่ผมคิดเล่น ๆ อาจเป็นประมาณนี้ (เอาแบบสนุก ๆ นะครับ)
เรียนคุณ ....
เราได้รับแจ้งว่าคุณได้เสียชีวิตไปแล้ว ถ้าเป็นจริงเราเสียใจด้วย และคุณไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เราเข้าใจดีว่าการติดต่อสื่อสารจากอีกโลกหนึ่งมายังอีกโลกหนึ่งอาจมีความไม่สะดวก เราจะดำเนินการทุกอย่างให้คุณเอง ขอให้พักผ่อนอย่างสงบ
แต่ถ้าคุณยังไม่ตาย เราขอแสดงความยินดีด้วย และเรายินดีที่จะได้บริการคุณต่อไป เราขอให้คุณคลิกที่ลิงก์ข้างล่างนี้ภายใน 30 วัน เพื่อยืนยันว่าคุณยังไม่ตาย และเราขอแนะนำเพิ่มเติมอีกว่าให้คุณเลิกคบกับคุณ ... ซึ่งเป็นคนแจ้งว่าคุณตายไปแล้ว แต่กรุณาอย่าแก้แค้นเขาด้วยการแจ้งว่าเขาตายไปแล้วเช่นกัน นั่นจะเป็นการเพิ่มงานให้กับเรา
ด้วยความนับถืออย่างสูง
มาร์ค และทีมงาน Facebook
หรือเวลาคนที่ถูกแจ้งตายล็อกอินเข้ามาก็มีข้อความแจ้งเตือน และให้เขายืนยันตัวตนด้วยการส่งลิงก์ไปให้คลิกจากอีเมล นี่คือวิธีง่าย ๆ ที่น่าจะทำได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ เออแต่นึกอีกทีไอ้เรื่องง่ายกว่านี้เขายังปล่อยปละละเลยมาตั้งนานเช่นเรื่องไม่ให้แก้คอมเมนต์เวลาพิมพ์ผิด ถ้าอยากแก้ก็ต้องลบคอมเมนต์แล้วพิมพ์ใหม่ นี่เพิ่งจะนึกได้ว่าควรจะให้แก้ได้ แต่เขาก็ทยอยเปิดคุณสมบัตินี้ให้ผู้ใช้นะครับ ไม่ได้ให้ใช้พร้อมกัน เหมือนตอนทยอยเปิดไทม์ไลน์นั่นแหละครับ ไม่แน่ใจว่าพวกเราจะได้ใช้เมื่อไหร่ (ตอนนี้อาจมีบางคนได้ใช้แล้วก็ได้)
ผมไม่ค่อยอยากคิดว่านี่เป็นบั๊กของโปรแกรมหรอกนะครับ เพราะขี้เกียจได้ยินประโยคที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า
It's not a bug. It's a feature (มันไม่ใช่บั๊กนะเฟ้ย มันเป็นคุณสมบัติของโปรแกรมต่างหาก)
สุดท้ายก็หวังว่าคงจะไม่มีใครเอาเรื่องนี้ไปแกล้งกันนะครับ...
Account Inaccessible This account is in a special memorial state. If you have any questions or concerns, please visit the Help Center for further information.
ถ้าแปลเป็นไทยก็จะได้ความประมาณว่า บัญชีนี้อยู่ในสถานะอยู่ในความทรงจำ ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ให้ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือ นั่นหมายความว่าเจ้าของบัญชีจะทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากต้องติดต่อศูนย์ช่วยเหลือนี่เท่านั้น ซึ่งถ้าใครตอนนี้อยู่ในสถานะนี้ (และแน่นอนยังไม่ได้ตายจริง) นี่คือลิงก์ของศูนย์ช่วยเหลือเรื่องนี้ครับ แจ้งเรื่องสถานะอยู่ในความทรงจำ
ประเด็นที่ผมอยากจะเพิ่มเติมก็คือหนึ่งผมว่าคุณสมบัตินี้มีประโยชน์นะครับ ลองนึกว่าจะดีแค่ไหนถ้าเพื่อนเราตายไปแล้วแต่เวลาเราคิดถึงเขาเราก็ยังเข้าไปดูสิ่งที่เขาเคยโพสต์ได้ แต่ Facebook น่าจะทำอะไรได้ดีกว่าพอมีคนแจ้งปุ๊บก็เชื่อปั๊บและเปลี่ยนสถานะให้เขาตายทันที อย่างนี้ก็แกล้งกันได้ง่ายสิครับ และแน่นอนมีคนถูกแกล้งมาแล้ว สิ่งที่ Facebook ทำตอนนี้คือแค่มีคำเตือนอย่างนี้ครับ
IMPORTANT: Under penalty of perjury, this form is solely for the reporting of a deceased person to memorialize.
แปลเป็นไทยแบบสรุป ๆ ก็คือคุณอาจโดนข้อหาแจ้งความเท็จได้ ประเด็นคือต้องไปฟ้องร้องเอา แล้วกฎหมายนี้มันจะครอบคลุมทุกประเทศไหม อย่างประเทศไทยนี่มันเข้าข่ายพรบ.คอมพิวเตอร์ข้อไหนไหมแค่คิดก็ปวดหัวแล้ว ซึ่งจริง ๆ ผมว่ามันมีวิธีป้องกันง่าย ๆ ที่ Facebook น่าจะคิดและทำได้ เช่นพอมีคนแจ้งก็ส่งอีเมลไปให้เจ้าของบัญชีก่อนเพื่อการยืนยัน โดยข้อความในจดหมายที่ผมคิดเล่น ๆ อาจเป็นประมาณนี้ (เอาแบบสนุก ๆ นะครับ)
เรียนคุณ ....
เราได้รับแจ้งว่าคุณได้เสียชีวิตไปแล้ว ถ้าเป็นจริงเราเสียใจด้วย และคุณไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เราเข้าใจดีว่าการติดต่อสื่อสารจากอีกโลกหนึ่งมายังอีกโลกหนึ่งอาจมีความไม่สะดวก เราจะดำเนินการทุกอย่างให้คุณเอง ขอให้พักผ่อนอย่างสงบ
แต่ถ้าคุณยังไม่ตาย เราขอแสดงความยินดีด้วย และเรายินดีที่จะได้บริการคุณต่อไป เราขอให้คุณคลิกที่ลิงก์ข้างล่างนี้ภายใน 30 วัน เพื่อยืนยันว่าคุณยังไม่ตาย และเราขอแนะนำเพิ่มเติมอีกว่าให้คุณเลิกคบกับคุณ ... ซึ่งเป็นคนแจ้งว่าคุณตายไปแล้ว แต่กรุณาอย่าแก้แค้นเขาด้วยการแจ้งว่าเขาตายไปแล้วเช่นกัน นั่นจะเป็นการเพิ่มงานให้กับเรา
ด้วยความนับถืออย่างสูง
มาร์ค และทีมงาน Facebook
หรือเวลาคนที่ถูกแจ้งตายล็อกอินเข้ามาก็มีข้อความแจ้งเตือน และให้เขายืนยันตัวตนด้วยการส่งลิงก์ไปให้คลิกจากอีเมล นี่คือวิธีง่าย ๆ ที่น่าจะทำได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ เออแต่นึกอีกทีไอ้เรื่องง่ายกว่านี้เขายังปล่อยปละละเลยมาตั้งนานเช่นเรื่องไม่ให้แก้คอมเมนต์เวลาพิมพ์ผิด ถ้าอยากแก้ก็ต้องลบคอมเมนต์แล้วพิมพ์ใหม่ นี่เพิ่งจะนึกได้ว่าควรจะให้แก้ได้ แต่เขาก็ทยอยเปิดคุณสมบัตินี้ให้ผู้ใช้นะครับ ไม่ได้ให้ใช้พร้อมกัน เหมือนตอนทยอยเปิดไทม์ไลน์นั่นแหละครับ ไม่แน่ใจว่าพวกเราจะได้ใช้เมื่อไหร่ (ตอนนี้อาจมีบางคนได้ใช้แล้วก็ได้)
ผมไม่ค่อยอยากคิดว่านี่เป็นบั๊กของโปรแกรมหรอกนะครับ เพราะขี้เกียจได้ยินประโยคที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า
It's not a bug. It's a feature (มันไม่ใช่บั๊กนะเฟ้ย มันเป็นคุณสมบัติของโปรแกรมต่างหาก)
สุดท้ายก็หวังว่าคงจะไม่มีใครเอาเรื่องนี้ไปแกล้งกันนะครับ...
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เขียนอย่างไร 1
ผมเห็นว่าตอนนี้เราเขียนคำภาษาไทยผิดกันเยอะครับ ก็เลยวางแผนว่าจะทวิตคำที่มักจะเขียนผิดลงทวิตเตอร์ไปสักวันละสองสามคำ แต่เนื่องจากทวิตเตอร์นั้นตรงไทม์ไลน์อาจจะไหลเร็ว ก็เลยรวมรวบคำที่ทวิตไปมาไว้ในบล็อกอีกทีหนึ่ง ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ และต่อไปนี้ก็คือคำที่ทวิตไปในวันนี้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)