วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

PhoneTouch

มีการสร้างต้นแบบของอุปกรณ์แบบ Microsoft's Surface โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสจอภาพครับ โดยประโยชน์ของการใช้มือถือเป็นตัวสัมผัสนี้ก็คือจะเป็นการยืนยันตัวผู้ใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างมือถือกับอุปกรณ์อีกด้วย ระบบต้นแบบนี้เขาเรียกว่า PhoneTouch ครับ

ตกลงมือถือนี่เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์เลยนะครับ ทำได้ทุกอย่างจริง ๆ

ที่มา: Technology Review

สอนให้คอมพิวเตอร์เรียนด้วยตัวเอง

นักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU)ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Never-Ending Language Learning (NELL) โดยนักวิจัยได้ป้อนความรู้พื้นฐานให้กับ NELL จากนั้นก็ให้มันอ่านข้อมูลจากเว็บและเรียนด้วยตัวเอง ปัจจุบันนี้ NELL อ่านหน้าเว็บไปแล้วเป็นล้าน ๆ หน้า เพื่อหาแบบรูปของข้อความ (text pattern) เพื่อนำมาเก็บเป็นข้อมูล โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาจัดกลุ่มเช่น ชื่อเมือง ชื่อบริษัท ทีมกีฬา เป็นต้น ตัวอย่างของการเก็บข้อมูลก็เช่นกรุงเทพเป็นชื่อเมือง ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ และ NELL ก็ยังสามารถเรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างกลุ่มได้ จากข่าวเขายกตัวอย่างว่า NELL สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Peyton Manning กับทีมเอมริกันฟุตบอล Indianapolis Colt ได้ว่า Peyton Manning เป็นผู้เล่นของ Indianapolis Colt โดยมันไม่เคยอ่านข้อมูลนี้มาก่อน

เอาละ่ครับ ตอนนี้คอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว เราเป็นคนก็อย่าให้อายคอมพิวเตอร์นะครับ

ที่มา: The New York Times

ระบบไฟจราจรอัจฉริยะ

วันศุกร์นี้มีเรื่องข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจราจรโดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ ๆ มาเล่าให้ฟังกันครับ คือได้มีการวิจัยระบบไฟจราจรแบบใหม่แทนแบบตั้งเวลา ซึ่งมักจะตั้งเวลาคงที่ไว้ว่าจะปล่อยรถฝั่งไหนนานเท่าใด มาเป็นระบบที่ฉลาดมากขึ้นโดยระบบนี้จะใช้การคำนวณจากปริมาณรถว่าควรจะให้ไฟเขียวกับฝั่งไหน ซึ่งนักวิจัยบอกว่าระบบนี้น่าจะลดความคับคั่งลงได้ร้อยละ 30 และแน่นอนครับการที่จะให้สัญญาณไฟตามแยกต่าง ๆ ทำงานไปโดยลำพังก็อาจจะเกิดความสับสนได้ พูดง่าย ๆ ก็คือปล่อยรถไม่ประสานจังหวะกันแบบที่จรารจรเมือง...ชอบทำ ดังนั้นนักวิจัยจึงได้เสนอระบบควบคุมซึ่งจะประสานการทำงานระหว่างไฟแดงตามแยกต่าง ๆ ด้วย

แหมอ่านจบแล้วอยากให้ระบบนี้สำเร็จและใช้ได้เร็ว ๆ เลยครับ

ที่มา: Network World

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเขียนโปรแกรมแบบมัลติคอร์กำลังจะลงสู่อุปกรณ์แบบโมบาล์ยแล้ว

มีการคาดการณ์ว่าในปีหน้าจะเริ่มมีการผลิตชิปแบบมัลติคอร์สำหรับอุปกรณ์โมบาล์ย ดังนั้นเพื่อที่จะให้ซอฟต์แวร์สามารถใช้ความสามารถของฮาร์แวร์ได้เต็มที่ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องเขียนโปรแกรมกันใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์ให้มากที่สุด แต่ปัญหาก็คือปัญหาเดิม ๆ ซึ่งเคยเกิดกับบนเครื่องพีซีมาแล้วก็คือนักเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ยังคงเคยชินกับการเขียนโปรแกรมแบบเรียงลำดับไม่ใช่การเขียนโปรแกรมแบบขนาน ในบทความบอกว่าระบบปฏิบัติการอย่างแอนดรอยนั้นพร้อมรองรับซีพียูคู่ (dual-CPU) ในระดับระับบปฏิบัติการแล้ว ก็อาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ในการพัฒนาโปรแกรมนั้นยิ่งมีคอร์มากก็จะยิ่งมีความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมมากขึ้น ดังนั้นก็อย่างที่ผมเคยเขียนบล็อกเอาไว้เมื่อสองปีที่แล้วในเรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบเรียงลำดับกำลังจะตาย ว่าถึงเวลาพวกเราควรจะหันมาสนใจการเขียนโปรแกรมแบบขนานกันได้แล้วนะครับ

ที่มา: Computerworld

ใช้เครือข่ายสังคมเพื่อแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับ

นักวิจัยจาก Lincoln University กำลังทำวิจัยที่จะนำเครือข่ายสังคมยอดนิยมอย่าง Twitter และ Facebook มารักษาโรคนอนไม่หลับ โดยในปัจจุบันเขามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า computer-based cognitive behavioral therapy (CBT) อยู่แล้ว เพียงแต่โปรแกรมดังกล่าวไม่ได้ดึงดูดให้คนไข้เข้ามาใช้เป็นประจำเหมือน Twitter และ Facebook ดังนั้นถ้ามีการพัฒนาโปรแกรมในลักษณะที่เป็นเกมให้เล่นผ่านเครือข่ายสังคมดังกล่าวจะทำให้การรักษาโรคได้ผลดีขึ้น

ที่มา: BBC News