ผมไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก เนื่องจากไม่ว่าง บวกกับไม่ค่อยมีอารมณ์อยากจะเขียน เพราะบรรยากาศในตอนนี้มันไม่อำนวยให้เขียนเรื่องที่อยากจะเขียน แต่เรื่องนี้คงไม่เขียนไม่ได้ครับ เพราะเป็นเรื่องต่อเนื่องที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อสามหรือสี่ปีที่แล้วคือเรื่องนี้ครับ เบื้องหลัง Siri ของ Apple หรือจะคืองานวิจัยของนักวิจัยไทย? สำหรับคนที่ไม่อยากเข้าไปอ่านก็ขอสรุปให้ตรงนี้นิดหนึ่งครับคือ บริษัท Dynamic Advances ได้ยื่นฟ้องบริษัท Apple เรื่องการละเมิดสิทธิบัตรงานวิจัยที่ชื่อว่า Natural Language Interface โดยบริษัทได้ฟ้อง Apple ว่าได้นำงานวิจัยนี้ไปใช้กับ Siri โปรแกรมผู้ช่วยแสนฉลาดที่ผู้ใช้ iOS ทุกคนคงรู้จักดี ซึ่งสิทธิบัตรตัวนี้ถูกจดโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ที่ New York คือ Professor Cheng Hsu และนักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยของเขาในขณะนั้นคือ วีระ บุญจริง ซึ่งปัจจุบันคือ รศ.ดร.วีระ บุญจริง อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พูดง่าย ๆ ว่าสิทธิบัตรนี้เป็นของนักวิจัยชาวไทยโดยตรงเลยครับ
และในวันนี้ดูเหมือนว่าเรื่องราวกำลังจะได้ข้อยุติแล้วครับ โดยข้อมูลจาก timesunion บอกว่า Apple ได้ยอมตกลงที่จะจ่ายเงิน 24.9 ล้านเหรียญ เพื่อที่จะยุติคดีนี้โดยที่ไม่ต้องไปขึ้นศาล ตามข่าวเขาบอกว่าโฆษกของทาง RPI กับ Apple ไม่ได้ให้ความเห็นใด ๆ เพิ่มเติมกับข่าวนี้ ซึ่งถ้าจบแบบนี้ก็หมายความว่าส่วนหนึ่งซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญของ Siri ด้วย เป็นผลงานของนักวิจัยไทยเรานี่เอง ในฐานะเพื่อนคนหนึ่งของรศ.ดร.วีระ บุญจริง และเคยมีส่วนร่วมเล็ก ๆ ในงานนี้ ก็อดที่จะภูมิใจด้วยไม่ได้ครับ นับว่าเป็นข่าวดี ๆ ที่น่าเขียนถึงในช่วงนี้จริง ๆ ครับ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Apple แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Apple แสดงบทความทั้งหมด
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
มารู้จักปุ่มไปรษณีย์และปุ่มบทวิจารณ์กันดีกว่า
สุดสัปดาห์นี้มีเรื่องเบา ๆ ที่ตัวเองได้เจอมาเล่าให้ฟังกันครับ จริง ๆ มันเกิดขึ้นประมาณเกือบเดือนมาแล้วตั้งใจจะเขียนเล่าให้ฟังกันแต่พอดีไม่ค่อยว่าง ประกอบกับมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาเลยเขียนก่อน สำหรับวันนี้เป็นเรื่องนี้เกี่ยวกับการแปลส่วนติดต่อกับผู้ใช้ของโปรแกรมมาเป็นภาษาท้องถิ่นหรือที่พวกเราอาจรู้จักกันในชื่อ localization ครับ
ปัญหาที่เกิดกับ localization นี้ผมว่าพวกเราทุกคนน่าจะเจอกันมามากบ้างน้อยบ้างนะครับคือประเภทเปิดเมนูภาษาไทยขึ้นมาแล้วต้องนั่งคิดกลับว่าภาษาอังกฤษของมันคืออะไรหว่า จนบางคนเลือกใช้เมนูภาษาอังกฤษไปเลย แต่ผมว่าปัญหานี้เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมากนะครับ และผมก็เข้าใจว่าทำไมสมัยก่อนบางครั้งการแปลออกมามันดูเพี้ยน ๆ เพราะตัวเองเคยมีประสบการณ์การทำ localization ให้กับไมโครซอฟท์เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว โดยโปรแกรมที่ผมมีส่วนทำก็คือโปรแกรมที่ชื่อว่า Microsoft Work ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักบ้างไหมครับ... เงียบ สงสัยจะ(ไม่) ช้อต เจ้าโปรแกรมนี้พูดง่าย ๆ คือโปรแกรม Microsoft Office ชุดเล็ก คือมันจะมีโปรแกรมพวก Word Processor และ Spread Sheet อะไรเหล่านี้ แต่แน่นอนครับความสามารถของมันสู้ Microsoft Office ไม่ได้แน่ ซึ่งเข้าใจว่าโปรแกรมนี้มันไม่ประสบความสำเร็จนะครับ เพราะผมว่ามันทับซ้อนกับ Microsoft Office (หวังว่ามันคงไม่ได้เจ๊งเพราะผมไปทำ localization ให้นะ) และจากการทำ localization โปรแกรมนี้มันทำให้ผมเข้าใจเลยว่าทำไมการแปลมันถึงเพี้ยน เพราะจากประสบการณ์ที่ผมทำมาก็คือ ผมจะได้รายการคำศัพท์มาแล้วก็นั่งแปลไป โดยบางครั้งก็ไม่รู้ว่าไอ้คำศัพท์นี้มันจะอยู่ในเมนูไหนหรือโปรแกรมอะไร ซึ่งการทำอย่างนี้มีโอกาสผิดพลาดสูงนะครับ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ความหมายไม่ใช่คำแปล คือมันต้องรู้บริบทรอบข้างของคำศัพท์นั้นด้วยถึงจะใช้คำได้ถูกต้อง แต่คิดว่าปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์คงเข้าใจปัญหานี้มากขึ้นแล้วแหละครับ เพราะเท่าที่ลองใช้เมนูภาษาไทยดูก็รู้สึกว่าดีขึ้นมาก
กลับมาเรื่องที่ผมเจอดีกว่า คือเมื่อเดือนก่อนผมได้ใช้โปรแกรมเช็คอินยอดนิยมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โปรแกรมหนึ่ง คือโปรแกรม Foursquare ปกติผมจะใช้แค่เช็คอินตำแหน่งที่ผมอยู่เท่านั้น แต่วันนั้นผมพาลูกไปเรียนฟุตบอลและก็ถ่ายรูปเขาก็เลยเช็คอินแล้วก็แนบรูปของเขาไปด้วย แต่บังเอิญตอนเช็คอินผมลืมให้มันส่งข้อมูลไปที่ Facebook และ Twitter ด้วยก็เลยต้องมาทำตอนหลัง และเมื่อผมเข้ามาผมก็เจอหน้าจอนี้ครับ
เห็นปุ่มไปรษณีย์ไหมครับ พวกเราคิดว่ามันคือปุ่มอะไรครับ .... ใช่แล้วครับมันคือปุ่ม Post บอกตามตรงว่าตอนแรกที่ผมเห็นปุ่มนี้ผมนั่งอี้งอยู่พักหนึ่ง เพราะนึกไม่ออกว่าปุ่มนี้มันคืออะไร เกือบไม่กล้ากดแล้วครับ เพราะกลัวมันจะเอาข้อความผมไปส่งตู้ไปรษณีย์ :) ถึงแม้ผมจะมีความเข้าใจเรื่อง localization อยู่บ้าง แต่พอเห็นอันนี้เข้าแล้วก็อดขำและประหลาดใจไม่ได้ คือประการแรกผมมองว่าโปรแกรมอย่าง Foursquare นี่ ไม่ใช่โปรแกรมใหญ่นะครับ ดูมันมีหน้าจอหลัก ๆ ไม่กี่หน้าจอเอง ดังนั้นไม่น่าพลาด และคำว่า Post ในภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ มันก็ไม่น่าจะสื่อถึงอะไรได้อย่างอื่นนอกจากการโพสต์ข้อมูล แต่คนแปลกลับเลือกใช้คำว่าไปรษณีย์ ซึ่งในการใช้งานของคนไทยเรามักจะนึกถึงแต่การส่งจดหมายหรือพัสดุ จะว่าใช้ Google Translate แปลแทนจ้างคนแปลก็ไม่น่าใช่ เพราะผมลองใช้ Google Translate ลองแปลคำว่า Post ดูมันก็ใช้คำว่าโพสต์
ยังไม่พอครับคราวนี้กับ Apple บ้าง อันนี้เพิ่งเจอเมื่อสักสัปดาห์ก่อน คือผมสอนลูกสมัคร Apple ID อันนี้เสียดายไม่ได้จับหน้าจอไว้ และพยายามเข้าไปที่หน้าจอนั้นอีกก็เข้าไม่ได้ รู้สึกว่ามันจะขึ้นมาเฉพาะตอนเราสมัคร Apple ID ใหม่ เอาเป็นว่าเราให้ฟังแบบแห้ง ๆ แล้วกันนะครับ คือหลังจากเราป้อนข้อมูลไปมันจะมีปุ่มขึ้นมาปุ่มหนึ่งครับปุ่มนั้นมีคำว่าบทวิจารณ์ ซึ่งพอเรา (ผมกับลูก) เจอปุ่มนี้เข้าก็มองหน้ากันไปมาว่ามันคืออะไร มันจะให้เราวิจารณ์อะไร สุดท้ายก็นึกออกว่ามันหมายถึงปุ่ม Review ซึ่งตรงนี้คำว่า Review ควรจะหมายถึงการตรวจทานมากกว่านะครับ เจอแบบนี้สงสัยคงต้องใช้เมนูภาษาอังกฤษไปตลอดครับ แต่คิดอีกทีก็เป็นการฝึกสมองดีเหมือนกันนะครับ
ผมว่าหลายคนมีความเข้าใจผิดว่าคำศัพท์ในภาษาอังกฤษนี่เราจะแปลได้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่นะครับ ศัพท์ในภาษาอังกฤษนี่มันมีลักษณะเป็นความหมายมากกว่า คำ ๆ หนึ่งอยู่ในบริบทหนึ่งมันจะหมายถึงอย่างหนึ่ง อีกบริบทหนึ่งอาจจะหมายถึงอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นผู้แปลก็ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะแปลในระดับหนึ่งด้วย ผมมีประสบการณ์การอ่านบทความภาษาไทยบทความหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว และยังติดใจมาจนถึงทุกวันนี้ บทความนั้นเป็นบทความทางคณิตศาสตร์ และคนแปลได้ใช้คำหนึ่งครับคำนั้นคือ ผลิตภัณฑ์คาร์ทีเชียน เดาได้ไหมครับว่าเขาแปลมาจากคำว่าอะไร ใครที่จบคณิตศาสตร์มาอาจตอบได้ ครับใช่แล้ว Cartesian Product ซึ่งในทางคณิตศาสตร์คำที่ใช้กันคือผลคูณคาร์ทีเชียน แต่จริง ๆ ก็คงโทษคนแปลไม่ได้นะครับ เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อนคนที่ทำงานด้านแปลเก่ง ๆ ในประเทศเราอาจยังมีน้อย ยิ่งไปกว่านั้นผมลองใช้ Google Translate ดู มันก็แปลว่า ผลิตภัณฑ์ Cartesian ครับ
ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี่ก็ไม่มีเจตนาจะไปตำหนิหรือติเตียนใครนะครับ แค่อยากจะเล่าให้ฟังแล้วก็ให้ระมัดระวังกันเวลาจะแปลหรือเขียนบทความอะไร แต่สุดท้้ายแล้วไม่รู้ว่าเรื่องนี้มันจะย้อนมาเข้าตัวหรือเปล่า เพราะตัวผมเองมักจะจู้จี้กับนักศึกษา (ที่หลงผิดมาทำงานด้วย) ในที่ปรึกษา หรือนักศึกษา (ที่โชคร้าย) ได้ผมเป็นกรรมการสอบ ให้ระมัดระวังเรื่องการเขียน และการใช้คำ พอเขามาอ่านเรื่องนี้เข้าอาจย้อนว่าโห.... อาจารย์จะเอาอะไรกับพวกผม (หนู) นักหนา ดูอย่างโปรแกรมที่คนใช้กันเกือบทั้งโลกอย่าง Foursquare หรือ Apple สิ เขายังทำแบบนี้เลย....
ปัญหาที่เกิดกับ localization นี้ผมว่าพวกเราทุกคนน่าจะเจอกันมามากบ้างน้อยบ้างนะครับคือประเภทเปิดเมนูภาษาไทยขึ้นมาแล้วต้องนั่งคิดกลับว่าภาษาอังกฤษของมันคืออะไรหว่า จนบางคนเลือกใช้เมนูภาษาอังกฤษไปเลย แต่ผมว่าปัญหานี้เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมากนะครับ และผมก็เข้าใจว่าทำไมสมัยก่อนบางครั้งการแปลออกมามันดูเพี้ยน ๆ เพราะตัวเองเคยมีประสบการณ์การทำ localization ให้กับไมโครซอฟท์เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว โดยโปรแกรมที่ผมมีส่วนทำก็คือโปรแกรมที่ชื่อว่า Microsoft Work ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักบ้างไหมครับ... เงียบ สงสัยจะ(ไม่) ช้อต เจ้าโปรแกรมนี้พูดง่าย ๆ คือโปรแกรม Microsoft Office ชุดเล็ก คือมันจะมีโปรแกรมพวก Word Processor และ Spread Sheet อะไรเหล่านี้ แต่แน่นอนครับความสามารถของมันสู้ Microsoft Office ไม่ได้แน่ ซึ่งเข้าใจว่าโปรแกรมนี้มันไม่ประสบความสำเร็จนะครับ เพราะผมว่ามันทับซ้อนกับ Microsoft Office (หวังว่ามันคงไม่ได้เจ๊งเพราะผมไปทำ localization ให้นะ) และจากการทำ localization โปรแกรมนี้มันทำให้ผมเข้าใจเลยว่าทำไมการแปลมันถึงเพี้ยน เพราะจากประสบการณ์ที่ผมทำมาก็คือ ผมจะได้รายการคำศัพท์มาแล้วก็นั่งแปลไป โดยบางครั้งก็ไม่รู้ว่าไอ้คำศัพท์นี้มันจะอยู่ในเมนูไหนหรือโปรแกรมอะไร ซึ่งการทำอย่างนี้มีโอกาสผิดพลาดสูงนะครับ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ความหมายไม่ใช่คำแปล คือมันต้องรู้บริบทรอบข้างของคำศัพท์นั้นด้วยถึงจะใช้คำได้ถูกต้อง แต่คิดว่าปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์คงเข้าใจปัญหานี้มากขึ้นแล้วแหละครับ เพราะเท่าที่ลองใช้เมนูภาษาไทยดูก็รู้สึกว่าดีขึ้นมาก
กลับมาเรื่องที่ผมเจอดีกว่า คือเมื่อเดือนก่อนผมได้ใช้โปรแกรมเช็คอินยอดนิยมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โปรแกรมหนึ่ง คือโปรแกรม Foursquare ปกติผมจะใช้แค่เช็คอินตำแหน่งที่ผมอยู่เท่านั้น แต่วันนั้นผมพาลูกไปเรียนฟุตบอลและก็ถ่ายรูปเขาก็เลยเช็คอินแล้วก็แนบรูปของเขาไปด้วย แต่บังเอิญตอนเช็คอินผมลืมให้มันส่งข้อมูลไปที่ Facebook และ Twitter ด้วยก็เลยต้องมาทำตอนหลัง และเมื่อผมเข้ามาผมก็เจอหน้าจอนี้ครับ
เห็นปุ่มไปรษณีย์ไหมครับ พวกเราคิดว่ามันคือปุ่มอะไรครับ .... ใช่แล้วครับมันคือปุ่ม Post บอกตามตรงว่าตอนแรกที่ผมเห็นปุ่มนี้ผมนั่งอี้งอยู่พักหนึ่ง เพราะนึกไม่ออกว่าปุ่มนี้มันคืออะไร เกือบไม่กล้ากดแล้วครับ เพราะกลัวมันจะเอาข้อความผมไปส่งตู้ไปรษณีย์ :) ถึงแม้ผมจะมีความเข้าใจเรื่อง localization อยู่บ้าง แต่พอเห็นอันนี้เข้าแล้วก็อดขำและประหลาดใจไม่ได้ คือประการแรกผมมองว่าโปรแกรมอย่าง Foursquare นี่ ไม่ใช่โปรแกรมใหญ่นะครับ ดูมันมีหน้าจอหลัก ๆ ไม่กี่หน้าจอเอง ดังนั้นไม่น่าพลาด และคำว่า Post ในภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ มันก็ไม่น่าจะสื่อถึงอะไรได้อย่างอื่นนอกจากการโพสต์ข้อมูล แต่คนแปลกลับเลือกใช้คำว่าไปรษณีย์ ซึ่งในการใช้งานของคนไทยเรามักจะนึกถึงแต่การส่งจดหมายหรือพัสดุ จะว่าใช้ Google Translate แปลแทนจ้างคนแปลก็ไม่น่าใช่ เพราะผมลองใช้ Google Translate ลองแปลคำว่า Post ดูมันก็ใช้คำว่าโพสต์
ยังไม่พอครับคราวนี้กับ Apple บ้าง อันนี้เพิ่งเจอเมื่อสักสัปดาห์ก่อน คือผมสอนลูกสมัคร Apple ID อันนี้เสียดายไม่ได้จับหน้าจอไว้ และพยายามเข้าไปที่หน้าจอนั้นอีกก็เข้าไม่ได้ รู้สึกว่ามันจะขึ้นมาเฉพาะตอนเราสมัคร Apple ID ใหม่ เอาเป็นว่าเราให้ฟังแบบแห้ง ๆ แล้วกันนะครับ คือหลังจากเราป้อนข้อมูลไปมันจะมีปุ่มขึ้นมาปุ่มหนึ่งครับปุ่มนั้นมีคำว่าบทวิจารณ์ ซึ่งพอเรา (ผมกับลูก) เจอปุ่มนี้เข้าก็มองหน้ากันไปมาว่ามันคืออะไร มันจะให้เราวิจารณ์อะไร สุดท้ายก็นึกออกว่ามันหมายถึงปุ่ม Review ซึ่งตรงนี้คำว่า Review ควรจะหมายถึงการตรวจทานมากกว่านะครับ เจอแบบนี้สงสัยคงต้องใช้เมนูภาษาอังกฤษไปตลอดครับ แต่คิดอีกทีก็เป็นการฝึกสมองดีเหมือนกันนะครับ
ผมว่าหลายคนมีความเข้าใจผิดว่าคำศัพท์ในภาษาอังกฤษนี่เราจะแปลได้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่นะครับ ศัพท์ในภาษาอังกฤษนี่มันมีลักษณะเป็นความหมายมากกว่า คำ ๆ หนึ่งอยู่ในบริบทหนึ่งมันจะหมายถึงอย่างหนึ่ง อีกบริบทหนึ่งอาจจะหมายถึงอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นผู้แปลก็ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะแปลในระดับหนึ่งด้วย ผมมีประสบการณ์การอ่านบทความภาษาไทยบทความหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว และยังติดใจมาจนถึงทุกวันนี้ บทความนั้นเป็นบทความทางคณิตศาสตร์ และคนแปลได้ใช้คำหนึ่งครับคำนั้นคือ ผลิตภัณฑ์คาร์ทีเชียน เดาได้ไหมครับว่าเขาแปลมาจากคำว่าอะไร ใครที่จบคณิตศาสตร์มาอาจตอบได้ ครับใช่แล้ว Cartesian Product ซึ่งในทางคณิตศาสตร์คำที่ใช้กันคือผลคูณคาร์ทีเชียน แต่จริง ๆ ก็คงโทษคนแปลไม่ได้นะครับ เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อนคนที่ทำงานด้านแปลเก่ง ๆ ในประเทศเราอาจยังมีน้อย ยิ่งไปกว่านั้นผมลองใช้ Google Translate ดู มันก็แปลว่า ผลิตภัณฑ์ Cartesian ครับ
ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี่ก็ไม่มีเจตนาจะไปตำหนิหรือติเตียนใครนะครับ แค่อยากจะเล่าให้ฟังแล้วก็ให้ระมัดระวังกันเวลาจะแปลหรือเขียนบทความอะไร แต่สุดท้้ายแล้วไม่รู้ว่าเรื่องนี้มันจะย้อนมาเข้าตัวหรือเปล่า เพราะตัวผมเองมักจะจู้จี้กับนักศึกษา (ที่หลงผิดมาทำงานด้วย) ในที่ปรึกษา หรือนักศึกษา (ที่โชคร้าย) ได้ผมเป็นกรรมการสอบ ให้ระมัดระวังเรื่องการเขียน และการใช้คำ พอเขามาอ่านเรื่องนี้เข้าอาจย้อนว่าโห.... อาจารย์จะเอาอะไรกับพวกผม (หนู) นักหนา ดูอย่างโปรแกรมที่คนใช้กันเกือบทั้งโลกอย่าง Foursquare หรือ Apple สิ เขายังทำแบบนี้เลย....
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
เบื้องหลัง Siri ของ Apple หรือจะคืองานวิจัยของนักวิจัยไทย?
ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก คำแก้ตัวเดิม ๆ คือไม่ว่าง แต่วันนี้ยังไงก็ขอเขียนเสียหน่อย เพราะเป็นข่าวเกี่ยวกับนักวิจัยไทยของเราที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทระดับโลกอย่าง Apple เจ้าของ iDevice ทั้งหลายที่พวกเราหลายคนใช้กันอยู่นั่นแหละครับ ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยคนดังกล่าวก็เป็นคนที่ผมรู้จักดีเสียด้วย
ก่อนจะมารู้จักกันว่าเขาเป็นใครเรามาดูข่าวที่เป็นต้นเรื่องของบล็อกวันนี้กันก่อน ถ้าใครอยากอ่านข่าวต้นฉบับก็เชิญอ่านจาก ฺBloomberg ได้เลยครับ แต่ถ้าไม่อยากอ่านผมจะสรุปให้ฟังครับ เนื้อหาก็คือบริษัทใน Texas ชื่อ Dynamic Advances กำลังจะฟ้อง Apple ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม Siri ซึ่งเป็นโปรแกรมเลขาส่วนตัวที่มีความชาญฉลาดในการโต้ตอบและทำตามคำสั่งจากผู้ใช้ที่ใช้ภาษาพูดปกติ คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่งเฉพาะในการบอกให้ Siri ทำงานให้ เจ้า Siri ที่ว่านี่ Apple เริ่มนำมาใช้งานใน iPhone 4s และต่อมาก็นำมาใช้กับ iDevice รุ่นใหม่ ๆ อีกด้วย
แล้วมันเกี่ยวกับงานวิจัยคนไทยยังไง ประเด็นก็คือบริษัท Dynamic Advances ที่ว่านี่ได้รับใบอนุญาตในการใช้สิทธิบัตรที่เกี่ยวกับงานวิจัยที่เรีกว่า natural language interface ซึ่งเป็นการทำให้ระบบสามารถตอบคำถามที่คนพูดเข้ามาตามปกติได้ โดยใช้วิธีการที่ซับซ้อนในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล งานวิจัยนี้ได้ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรไว้กว่าสิบปีแล้ว โดย Professor Cheng Hsu ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่ Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ที่ New York และนักศึกษาปริญญาเอกของเขาในขณะนั้นคือ วีระ บุญจริง (Veera Boonjing) ซึ่งปัจจุบันคือ รศ.ดร.วีระ บุญจริง แห่งสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ไม่ว่าระดับไหนคงทราบดีนะครับว่างานที่ออกมา จะออกมาจากตัวนักศึกษาเป็นหลักโดยอ.ที่ปรึกษาจะให้คำแนะนำในแง่มุมต่าง ๆ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าระบบดังกล่าวนี้รศ.ดร.วีระ น่าจะมีส่วนไม่ต่ำกว่า 80 % และระบบนี้แหละครับที่ทาง Dynamic Advances ฟ้องว่าโปรแกรม Siri ละเมิดสิทธิบัตร โดยสรุปตอนนี้ทาง Apple ยังไม่มีความเห็นใด ๆ นะครับ รวมทั้ง Professor Hsu ด้วย โดย Professor บอกว่าตัวแกก็ไม่รู้ว่าสิทธิบัตรนี้จะมีมูลค่าเท่าไร แต่ก็ได้กล่าวทิ้งท้ายในข่าวไว้ด้วยว่า เสียใจด้วย (นะ Apple) แต่เราทำมันก่อน
นั่นคือเนื้อข่าวและที่มาที่ไปคร่าว ๆ นะครับ มาดูในส่วนอ.วีระกันบ้าง ผมในฐานะที่เป็นรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย และเป็นเพื่อนร่วมงานกับอ.วีระเกือบ 20 ปี แล้ว (ขอเกาะกระแสคนดังหน่อยนะ :) ) ก็ได้คุยกับอ.ในเรื่องนี้ โดยตัวอ.ก็บอกว่าเรื่องการฟ้องนี่จริง ๆ เริ่มมาได้พักหนึ่งแล้วไม่ได้มาเริ่มตอนนี้หรอก แต่แกก็ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงออกมาตอนนี้ตอนที่ Apple ออกผลิตภัณฑ์ใหม่พอดี ตอนนี้ก็รอผลลัพธ์ต่อไปว่าจะเป็นยังไง โดยการฟ้องร้องนี้อ.วีระไม่ได้ทำเองนะครับเป็นเรื่องของทาง RPI และ บริษัท Dynamic Advances
ท้ายนี้ผมก็ขอเล่าถึงเบื้องหลังงานวิจัยของอ.วีระชิ้นนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวผมเองเท่าที่พอจำได้นะครับ ก็คือในตอนที่งานวิจัยของอ.ใกล้จะเสร็จแล้วมีวันหนึ่งผมก็ได้รับเมลจากอ.ว่าขอให้ช่วยคิดคำถามเอาแบบที่เป็นภาษาพูดหน่อยจะเอาไปทดสอบกับระบบที่สร้างขึ้น ซึ่งอ.วีระก็คงขอให้เพื่อน ๆ ของแกหลายคนช่วยกันคิด จะได้มีข้อมูลที่หลากหลายไปทดสอบ ซึ่งผมก็ช่วยคิดไปจำนวนหนึ่งจำไม่ได้ว่ากี่ประโยค และก็ไม่เคยถามด้วยว่าแกเอาของผมไปใช้บ้างหรือเปล่า ส่งเสร็จก็ลบทิ้งไป ถ้ารู้ว่ามันจะดังอย่างนี้จะเก็บไว้ฟ้องร้อง... เอ๊ยไม่ใช่... เป็นที่ระลึกว่าเราก็มีส่วนร่วมในระบบนี้เหมือนกันก็คงจะดี ไม่แน่เหมือนกันนะครับว่าการที่ Apple รีบออกผลิตภัณฑ์อย่าง iPad รุ่นสี่ หรือ iPad Mini นี่อาจทำไปเพื่อระดมทุนมาจ่ายค่าสิทธิบัตรนี่ก็ได้... :)
หมายเหตุ
ใครที่อยากดูตัวสิทธิบัตรว่าหน้าตาอย่างไรดูได้จากลิงก์ต่อไปนี้ครับ http://www.google.com/patents/US7177798
ก่อนจะมารู้จักกันว่าเขาเป็นใครเรามาดูข่าวที่เป็นต้นเรื่องของบล็อกวันนี้กันก่อน ถ้าใครอยากอ่านข่าวต้นฉบับก็เชิญอ่านจาก ฺBloomberg ได้เลยครับ แต่ถ้าไม่อยากอ่านผมจะสรุปให้ฟังครับ เนื้อหาก็คือบริษัทใน Texas ชื่อ Dynamic Advances กำลังจะฟ้อง Apple ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม Siri ซึ่งเป็นโปรแกรมเลขาส่วนตัวที่มีความชาญฉลาดในการโต้ตอบและทำตามคำสั่งจากผู้ใช้ที่ใช้ภาษาพูดปกติ คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่งเฉพาะในการบอกให้ Siri ทำงานให้ เจ้า Siri ที่ว่านี่ Apple เริ่มนำมาใช้งานใน iPhone 4s และต่อมาก็นำมาใช้กับ iDevice รุ่นใหม่ ๆ อีกด้วย
แล้วมันเกี่ยวกับงานวิจัยคนไทยยังไง ประเด็นก็คือบริษัท Dynamic Advances ที่ว่านี่ได้รับใบอนุญาตในการใช้สิทธิบัตรที่เกี่ยวกับงานวิจัยที่เรีกว่า natural language interface ซึ่งเป็นการทำให้ระบบสามารถตอบคำถามที่คนพูดเข้ามาตามปกติได้ โดยใช้วิธีการที่ซับซ้อนในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล งานวิจัยนี้ได้ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรไว้กว่าสิบปีแล้ว โดย Professor Cheng Hsu ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่ Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ที่ New York และนักศึกษาปริญญาเอกของเขาในขณะนั้นคือ วีระ บุญจริง (Veera Boonjing) ซึ่งปัจจุบันคือ รศ.ดร.วีระ บุญจริง แห่งสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ไม่ว่าระดับไหนคงทราบดีนะครับว่างานที่ออกมา จะออกมาจากตัวนักศึกษาเป็นหลักโดยอ.ที่ปรึกษาจะให้คำแนะนำในแง่มุมต่าง ๆ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าระบบดังกล่าวนี้รศ.ดร.วีระ น่าจะมีส่วนไม่ต่ำกว่า 80 % และระบบนี้แหละครับที่ทาง Dynamic Advances ฟ้องว่าโปรแกรม Siri ละเมิดสิทธิบัตร โดยสรุปตอนนี้ทาง Apple ยังไม่มีความเห็นใด ๆ นะครับ รวมทั้ง Professor Hsu ด้วย โดย Professor บอกว่าตัวแกก็ไม่รู้ว่าสิทธิบัตรนี้จะมีมูลค่าเท่าไร แต่ก็ได้กล่าวทิ้งท้ายในข่าวไว้ด้วยว่า เสียใจด้วย (นะ Apple) แต่เราทำมันก่อน
นั่นคือเนื้อข่าวและที่มาที่ไปคร่าว ๆ นะครับ มาดูในส่วนอ.วีระกันบ้าง ผมในฐานะที่เป็นรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย และเป็นเพื่อนร่วมงานกับอ.วีระเกือบ 20 ปี แล้ว (ขอเกาะกระแสคนดังหน่อยนะ :) ) ก็ได้คุยกับอ.ในเรื่องนี้ โดยตัวอ.ก็บอกว่าเรื่องการฟ้องนี่จริง ๆ เริ่มมาได้พักหนึ่งแล้วไม่ได้มาเริ่มตอนนี้หรอก แต่แกก็ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงออกมาตอนนี้ตอนที่ Apple ออกผลิตภัณฑ์ใหม่พอดี ตอนนี้ก็รอผลลัพธ์ต่อไปว่าจะเป็นยังไง โดยการฟ้องร้องนี้อ.วีระไม่ได้ทำเองนะครับเป็นเรื่องของทาง RPI และ บริษัท Dynamic Advances
ท้ายนี้ผมก็ขอเล่าถึงเบื้องหลังงานวิจัยของอ.วีระชิ้นนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวผมเองเท่าที่พอจำได้นะครับ ก็คือในตอนที่งานวิจัยของอ.ใกล้จะเสร็จแล้วมีวันหนึ่งผมก็ได้รับเมลจากอ.ว่าขอให้ช่วยคิดคำถามเอาแบบที่เป็นภาษาพูดหน่อยจะเอาไปทดสอบกับระบบที่สร้างขึ้น ซึ่งอ.วีระก็คงขอให้เพื่อน ๆ ของแกหลายคนช่วยกันคิด จะได้มีข้อมูลที่หลากหลายไปทดสอบ ซึ่งผมก็ช่วยคิดไปจำนวนหนึ่งจำไม่ได้ว่ากี่ประโยค และก็ไม่เคยถามด้วยว่าแกเอาของผมไปใช้บ้างหรือเปล่า ส่งเสร็จก็ลบทิ้งไป ถ้ารู้ว่ามันจะดังอย่างนี้จะเก็บไว้ฟ้องร้อง... เอ๊ยไม่ใช่... เป็นที่ระลึกว่าเราก็มีส่วนร่วมในระบบนี้เหมือนกันก็คงจะดี ไม่แน่เหมือนกันนะครับว่าการที่ Apple รีบออกผลิตภัณฑ์อย่าง iPad รุ่นสี่ หรือ iPad Mini นี่อาจทำไปเพื่อระดมทุนมาจ่ายค่าสิทธิบัตรนี่ก็ได้... :)
หมายเหตุ
ใครที่อยากดูตัวสิทธิบัตรว่าหน้าตาอย่างไรดูได้จากลิงก์ต่อไปนี้ครับ http://www.google.com/patents/US7177798
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
iPhone 5 ไม่ว้าว แต่ iPod touch รุ่น 5 นี่โดนใจจริง ๆ
ผมไม่ได้เขียนบล็อกนี้มาเสียนานครับ จริง ๆ มีเรื่องอยากเขียนเยอะแต่ไม่ว่าง และพอว่างจะเขียนเรื่องมันก็ตกจากความสนใจไปแล้ว แต่วันนี้พอจะว่างและเรื่องที่จะเขียนนี้ก็คิดว่าไม่ตกกระแสแน่เพราะ Apple เพิ่งเปิดตัว iPhone 5 ไปเมื่อวาน และจากกระแสที่ผมอ่าน ๆ มาและความรู้สึกของตัวเองสรุปว่ามันไม่ว้าวแฮะ แต่ที่เขียนอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่ามันจะขายไม่ออกนะครับ ผมว่าถึงเวลามันวางขายจริงก็คงจะมีผู้คนมากมายไปต่อแถวรอซื้อมันเหมือนเดิมนั่นแหละ
คราวนี้ทำไมมันถึงไม่ว้าว ที่ไม่ว้าวเพราะว่าคุณสมบัติของมันที่แทบจะไม่แตกต่างจาก iPhone 4s สักเท่าไร ที่เปลี่ยนไปก็คือ ใช้ซีพียูที่รุ่นใหม่ที่ทาง Apple บอกว่าเร็วขึ้นสองเท่า (มั้ง) มีความยาวมากขึ้นจาก 4.5 นิ้วใน iPhone 4s เป็น 4.87 นิ้ว ที่เป็นอย่างนี้เพราะจอภาพใหญ่ขึ้นจากเดิม 3.5 นิ้วเป็น 4 นิ้ว และจอภาพมีความละเอียดมากขึ้น ใช้ซิมเป็น nano-sim กล้องหน้าดีขึ้นเพิ่มเป็น 1.2 ล้านพิกเซล ส่วนที่เหลือก็แทบเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีอย่าง NFC ซึ่งคู่แข่งอย่างซัมซุงมีมานานแล้ว ถ้าใครอยากเปรียบเทียบคุณสมบัติของ iPhone 5 กับ iPhone 4s ลองดูได้จาก เว็บของ Apple ครับ ส่วนเหตุผลที่ Apple ไม่ใส่เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปดูได้จาก ARIP ครับ
แต่ที่ผมว่าน่าสนใจและโดนมาก ๆ คือเจ้า iPod Touch รุ่น 5 นี่แหละครับ หลังจากที่ Apple ดูเหมือนจะทิ้งเจ้า iPod Touch ไปแล้วหลังจากที่ออกรุ่น 4 มาแล้วก็ไม่ได้ปรับปรุงมาแล้วสักปีหนึ่งเห็นจะได้ แต่มาคราวนี้เหมือนจะให้มาเต็มเลย คุณสมบัติของจอภาพและกล้องหน้ามาเท่ากับ iPhone 5 เลย นอกจากนี้ยังบางกว่า iPhone 5 มีสีให้เลือกห้าสี และราคาที่ถูกกว่า iPhone 5 มาก ที่ด้อยกว่าคือกล้องหลังที่ให้มา 5 ล้านพิกเซล และ CPU ซึ่งเท่ากับ iPhone 4S ผมว่าแทบอาจพูดได้เต็มปากว่า iPod Touch ตัวนี้คือ iPhone 5 ที่โทรไม่ได้ แต่เสียดายที่ไม่มีรุ่นที่ใส่ซิมเพือใช้เข้าอินเทอร์เน็ตได้ คงกลัวว่ามันจะใกล้เคียงกับ iPhone มากเกินไป สำหรับคุณสมบัติของ iPod Touch รุ่น 5 ดูได้จาก เว็บของ Apple ครับ
สุดท้ายขอให้ความเห็นส่วนตัวหน่อยว่าควรจะซื้อเจ้า iPhone 5 ไหม อันแรกถ้าใครอยากได้และไม่เดือดร้อนเรื่องเงินทองก็เชิญครับ ส่วนคนที่มี iPhone 4 และใช้มาคุ้มค่าแล้วอยากอัพเกรดแต่ลังเล ผมว่าอัพเกรดได้ครับเพราะซีพียูของ iPhone 5 นี่ดีกว่า iPhone 4 พอสมควร และยังมีคุณสมบัติอย่าง Siri ซึ่งใช้ไม่ได้ใน iPhone 4 ถึงตอนนี้ Siri จะยังพูดไทยไม่ได้แต่อนาคตผมว่ามันน่าจะใช้ได้ ดังนั้นอัพเกรดรอไว้ก็ไม่น่าเสียหาย ส่วนคนที่มี iPhone 4S และรู้สึกว่าจอมันเล็กไปอยากใช้จอใหญ่และละเอียดขึ้นจะอัพเกรดก็ได้ แต่ผมว่าถ้าเป็นแค่เหตุผลนี้ก็ซื้อ iPod Touch มาใช้คู่กับเจ้า 4S ดีกว่า ประหยัดเงินได้เป็นหมื่น และไม่ต้องถูกกดราคาขายต่อเจ้า 4S ด้วย เพราะผมว่าหลายคนก็ยังซื้อมาได้ไม่ถึงปี แต่ประเด็นคืออาจต้องพกสองเครื่องซึ่งผมว่าไม่น่าเป็นปัญหาเพราะ iPod Touch บางมาก เวลาโทรศัพท์ก็ใช้เจ้า 4S ไป อยากดูหนังฟังเพลงจอใหญ่ก็ดูจาก iPod Touch ถ้าอยากท่องเว็บผ่าน iPod Touch ก็แชร์เน็ตจาก iPhone ส่วนคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอยู่แต่อยากลอง iOS ผมว่า iPod Touch เป็นทางเลือกที่ดีครับ
คราวนี้ทำไมมันถึงไม่ว้าว ที่ไม่ว้าวเพราะว่าคุณสมบัติของมันที่แทบจะไม่แตกต่างจาก iPhone 4s สักเท่าไร ที่เปลี่ยนไปก็คือ ใช้ซีพียูที่รุ่นใหม่ที่ทาง Apple บอกว่าเร็วขึ้นสองเท่า (มั้ง) มีความยาวมากขึ้นจาก 4.5 นิ้วใน iPhone 4s เป็น 4.87 นิ้ว ที่เป็นอย่างนี้เพราะจอภาพใหญ่ขึ้นจากเดิม 3.5 นิ้วเป็น 4 นิ้ว และจอภาพมีความละเอียดมากขึ้น ใช้ซิมเป็น nano-sim กล้องหน้าดีขึ้นเพิ่มเป็น 1.2 ล้านพิกเซล ส่วนที่เหลือก็แทบเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีอย่าง NFC ซึ่งคู่แข่งอย่างซัมซุงมีมานานแล้ว ถ้าใครอยากเปรียบเทียบคุณสมบัติของ iPhone 5 กับ iPhone 4s ลองดูได้จาก เว็บของ Apple ครับ ส่วนเหตุผลที่ Apple ไม่ใส่เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปดูได้จาก ARIP ครับ
แต่ที่ผมว่าน่าสนใจและโดนมาก ๆ คือเจ้า iPod Touch รุ่น 5 นี่แหละครับ หลังจากที่ Apple ดูเหมือนจะทิ้งเจ้า iPod Touch ไปแล้วหลังจากที่ออกรุ่น 4 มาแล้วก็ไม่ได้ปรับปรุงมาแล้วสักปีหนึ่งเห็นจะได้ แต่มาคราวนี้เหมือนจะให้มาเต็มเลย คุณสมบัติของจอภาพและกล้องหน้ามาเท่ากับ iPhone 5 เลย นอกจากนี้ยังบางกว่า iPhone 5 มีสีให้เลือกห้าสี และราคาที่ถูกกว่า iPhone 5 มาก ที่ด้อยกว่าคือกล้องหลังที่ให้มา 5 ล้านพิกเซล และ CPU ซึ่งเท่ากับ iPhone 4S ผมว่าแทบอาจพูดได้เต็มปากว่า iPod Touch ตัวนี้คือ iPhone 5 ที่โทรไม่ได้ แต่เสียดายที่ไม่มีรุ่นที่ใส่ซิมเพือใช้เข้าอินเทอร์เน็ตได้ คงกลัวว่ามันจะใกล้เคียงกับ iPhone มากเกินไป สำหรับคุณสมบัติของ iPod Touch รุ่น 5 ดูได้จาก เว็บของ Apple ครับ
สุดท้ายขอให้ความเห็นส่วนตัวหน่อยว่าควรจะซื้อเจ้า iPhone 5 ไหม อันแรกถ้าใครอยากได้และไม่เดือดร้อนเรื่องเงินทองก็เชิญครับ ส่วนคนที่มี iPhone 4 และใช้มาคุ้มค่าแล้วอยากอัพเกรดแต่ลังเล ผมว่าอัพเกรดได้ครับเพราะซีพียูของ iPhone 5 นี่ดีกว่า iPhone 4 พอสมควร และยังมีคุณสมบัติอย่าง Siri ซึ่งใช้ไม่ได้ใน iPhone 4 ถึงตอนนี้ Siri จะยังพูดไทยไม่ได้แต่อนาคตผมว่ามันน่าจะใช้ได้ ดังนั้นอัพเกรดรอไว้ก็ไม่น่าเสียหาย ส่วนคนที่มี iPhone 4S และรู้สึกว่าจอมันเล็กไปอยากใช้จอใหญ่และละเอียดขึ้นจะอัพเกรดก็ได้ แต่ผมว่าถ้าเป็นแค่เหตุผลนี้ก็ซื้อ iPod Touch มาใช้คู่กับเจ้า 4S ดีกว่า ประหยัดเงินได้เป็นหมื่น และไม่ต้องถูกกดราคาขายต่อเจ้า 4S ด้วย เพราะผมว่าหลายคนก็ยังซื้อมาได้ไม่ถึงปี แต่ประเด็นคืออาจต้องพกสองเครื่องซึ่งผมว่าไม่น่าเป็นปัญหาเพราะ iPod Touch บางมาก เวลาโทรศัพท์ก็ใช้เจ้า 4S ไป อยากดูหนังฟังเพลงจอใหญ่ก็ดูจาก iPod Touch ถ้าอยากท่องเว็บผ่าน iPod Touch ก็แชร์เน็ตจาก iPhone ส่วนคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอยู่แต่อยากลอง iOS ผมว่า iPod Touch เป็นทางเลือกที่ดีครับ
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ข้อดีของการที่ Apple ออก iPhone 4S ไม่ใช่ iPhone 5
วันนี้ขอเกาะกระแส iPhone กับเขาสักวัน ก็คงทราบกันไปแล้วนะครับว่า iPhone ตัวใหม่ของ Apple คือ iPhone 4S ไม่ใช่ iPhone 5 สรุปก็คือมีรูปทรงเดียวกับ iPhone 4 แต่คุณสมบัติการทำงานดีขึ้น ใครที่อยากทราบรายละเอียดก็เชิญที่บล็อกของ @ipattt ได้เลยครับ ซึ่งงานนี้ก็น่าจะสร้างความผิดหวังกับให้ผู้ที่รอคอย iPhone 5 บางส่วนไปไม่น้อยทีเดียว แต่ในวันนี้ผมจะมาลองสรุปมุมมองของผมเองต่อการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ในส่วนที่จะเป็นข้อดีให้กับผู้บริโภคอย่างเราให้ฟังกันครับ
- ผู้ใช้ที่ต้องการซื้อ iPhone 4S จะซื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้ผมมมองว่าจะเหมือนตอนที่ Apple ออก iPhone 3GS ซึ่งซิ้อได้ง่ายมาก เมื่อเทียบกับ iPhone 3G ซึ่งต้องไปเข้าคิวต่อแถวซื้อกัน
- ราคาของ iPhone 4 จะถูกลงอย่างแน่นอน ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการคุณสมบัติที่เพิ่มเติมขึ้นมาและตราบใดที่เจ้า iPhone 4 ยังสามารถอัพเกรดระบบปฏิบัติการต่อไปได้ ผมว่าทางเลือกนี้อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ในส่วนตัวผมคิดว่าถ้า Apple กล้าลดราคา iPhone 4 ลงมาเหลือประมาณหมื่นกลาง ๆ โดยตามข่าวรู้สึกว่าจะมี iPhone 4 ซึ่งมีหน่วยความจำ 8 GB มันน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับมือถือราคาหมื่นกลางที่มีอยู่ตอนนี้เลยทีเดียว
- อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ สามารถใช้ร่วมกันได้
- คนที่เพิ่งซื้อ iPhone 4 ไป (โดยที่ไม่ได้ไปแหกคอกแหกกฏระเบียบที่ผู้จัดงานเขาจัดไว้) ก็ยังสามารถใช้งาน iPhone 4 ต่อไปได้ โดยไม่ต้องรู้สึกว่าซื้อมาปุ๊บก็ตกรุ่นปั๊บ
- คนที่ยังเก็บเงินได้ไม่ถึงก็มีเวลาเก็บเงินเพิ่มสำหรับ iPhone 5
- เราก็มีเรื่องให้มานั่งเดานั่งลุ้นกันต่อไปว่า iPhone 5 จะเป็นอย่างไร
สำหรับผมตอนนี้เท่าที่คิดออกก็มีแค่นี้ ใครที่เห็นข้อดีอื่น ๆ และอยากจะร่วมแสดงความเห็นก็เชิญได้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)