วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

Battery-Free จาก MakeCode ทำให้เด็ก ๆ โค้ดดิ้งความยั่งยืน

ิbattery-free-makecode
ภาพจาก Northwestern Now

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Northwestern University ได้ออกแบบแพลตฟอร์มโค้ดดิงคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถสร้างและเขียนโค้ดอุปกรณ์เก็บพลังงานที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แบบยั่งยืน (sustainable) นักวิจัยใช้เครื่องมือ Battery-Free บนแพลตฟอร์มเรียนเพื่อโค้ด MakeCode ของ Microsoft โดยใช้ส่วนขยาย (extension )ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมพลังงานจากการสั่นสะเทือน การส่งสัญญาณความถี่วิทยุ (RF) และแหล่งแวดล้อมอื่นๆ

ส่วนขยายช่วยให้เกิดความทนทานต่อข้อผิดพลาด โดยรับประกันว่าสถานะของโปรแกรมจะคงอยู่เมื่อการจ่ายพลังงานขาดช่วง ครูที่โรงเรียนประถมศึกษา Pu'ohala ในฮาวายกำลังปรับใช้ MakeCode Battery-Free ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เน้นความยั่งยืน

Josiah Hester จาก Northwestern กล่าวว่า "ด้วย MakeCode Battery-Free เราต้องการช่วยให้ผู้สอนสามารถสอนโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ให้เข้าใจการคำนวณอย่างยั่งยืน (computing sustainable) และได้ฝึกการเขียนโปรแกรม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern Now


วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

แอพวัดความเสี่ยงของการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ

Albert-Cheng-University-Houston
Albert Cheng จาก University of Houston ภาพจาก IEEE Spectrum

Albert Cheng จาก University of Houston กำลังทดสอบแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนเพื่อช่วยผู้คนหลีกเลี่ยงการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่แออัด 

แอปนี้ทำงานบนระบบคลาวด์โดยใช้ข้อมูลเวลายอดนิยม (popular time) จาก Google Maps ซึ่งแสดงให้เห็นสถานที่ที่มักจะมีผู้คนพลุกพล่านในช่วงเวลาหนึ่ง ร่วมกับข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อ COVID-19 รายงานตัวเลขการฉีดวัคซีน และแบบสำรวจของผู้คนที่ยินดีใส่หน้ากากอนามัย โดยทั้งหมดจัดเรียงตามรหัสไปรษณีย์

"พารามิเตอร์ทั้งหมดเหล่านี้ถูกป้อนลงในอัลกอริธึมที่ชั่งน้ำหนักข้อมูลเพื่อกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ร้านค้าต่าง ๆ ใกล้ผู้ใช้ ยิ่งคนฉีดวัคซีนมาก ยิ่งเสี่ยงน้อยลง" Cheng กล่าว นอกจากนี้เขายังบอกว่า เขาได้พัฒนาแอปนี้ ซึ่งในตอนนี้กำลังทดสอบอยู่ในเมืองฮุสตันและซีแอตเทิล เพื่อให้ข้อมูลแจ้งเตือนที่เป็นปัจจุบันแก่แต่ละคนในเวลานั้นเลย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum



 

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565

ก้าวสู่ Metaverse บริษัท Meta จับมือกับพันธมิตรในการโฆษณา 3 มิติ

meta-inc
ภาพจาก Reuters

ด้วยความร่วมมือครั้งใหม่กับ VNTANA บริษัทด้านเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ  บริษัท Meta Platforms Inc. จะทำให้ขั้นตอนสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการแสดงโฆษณาสามมิติบน Facebook และ Instagram ทำได้ง่ายขึ้น แบรนด์ต่างๆ สามารถอัปโหลดโมเดล 3 มิติของผลิตภัณฑ์ของตนไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลเพื่อแปลงเป็นโฆษณา โดยไม่จำเป็นต้องฟอร์แมตไฟล์ 3 มิติใหม่เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบโฆษณาของ Meta

Ashley Crowder จาก VNTANA กล่าวว่า metaverse "เป็นโลกแห่งความเป็นไปได้ที่เริ่มต้นด้วยการมีโมเดล 3 มิติที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์ของคุณ" โฆษณา 3 มิติจะอนุญาตให้ผู้ใช้โต้ตอบกับรูปภาพจากทุกมุม Chris Barbour จาก Meta กล่าวว่า "ในทางหนึ่ง นี่เป็นภาพรวมของสิ่งที่คุณอาจคาดหวังบนอุปกรณ์ในอนาคต เช่น แว่นตา AR (augmented reality)"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

คนส่วนใหญ่ยอมรับเทคโนโลยีฝังชิปในสมองถ้าพวกเขาสามารถปิดมันได้

inside-brain
Photo by Bret Kavanaugh on Unsplash

ในการสำรวจของ Pew Research Center ในผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 10,260 คน พบว่า 78% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่เห็นด้วยกับการผ่าตัดฝังชิปในสมองเพื่อปรับปรุงความสามารถในการรับรู้ อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีนี้สามารถเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น หากยอมให้มีการเปิดและปิดการทำงานของชิปได้ 

 Alec Tyson แห่ง Pew กล่าวว่า "คำพูดเหล่านี้พูดถึงการควบคุม ถ้าฉันสามารถควบคุมเทคโนโลยีนี้ได้ ฉันก็เปิดรับมันมากขึ้น" นอกจากนี้ 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยที่จะมีมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับการทดสอบชิปสมองในมนุษย์ นอกจากนี้ 87% สนับสนุนมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับ

ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าเครื่องหมายหรือลักษณะที่มองเห็นได้เพื่อระบุให้รู้ว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ขับด้วยตนเอง (70%) และการมีช่องทางเฉพาะสำหรับยานพาหนะดังกล่าว (67%) จะทำให้พวกเขายอมรับเทคโนโลยีมากขึ้น 

มากกว่าครึ่ง (57%) ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่เห็นด้วยกับการใช้ซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าที่ใช้โดยแพลตฟอร์มสื่อสังคมเพื่อระบุตัวบุคคลในภาพถ่าย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fortune

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ที่มีการแสดงความเจ็บปวดแบบเหมือนจริงช่วยลดความผิดพลาดจากการวินิจฉัย

patient-face-robot
ภาพจาก  Imperial College London (U.K.)

นักวิทยาศาสตร์จาก Imperial College London แห่งสหราชอาณาจักรได้พัฒนาเทคนิคในการสร้างการแสดงความเจ็บปวดบนใบหน้าที่สมจริงยิ่งขึ้นสำหรับหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยระบุและแก้ไขสัญญาณที่ทำให้เกิดการวิเคราะห์ที่ผิดพลาดในหมู่นักศึกษาแพทย์

นักศึกษาตรวจร่างกายที่หน้าท้องของผู้ป่วยที่เป็นหุ่นยนต์ โดยแรงที่ใช้กับหน้าท้องของหุ่นยนต์จะทำให้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณของหุ่นยนต์ที่เรียกว่า "MorphFace" เพื่อแสดงการเจ็บปวดที่สัมพันธ์กัน 

มีข้อสังเกตด้วยว่าการรับรู้ขอบเขตความเจ็บปวดของผู้ป่วยหุ่นยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางเพศและเชื้อชาติระหว่างผู้เข้าร่วมและผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อแรงที่ใช้ระหว่างการตรวจ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Imperial College London (U.K.)