วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือนักเรียนที่มีความพิการได้อย่างไร

robot
Photo by Andrea De Santis on Unsplash

เครื่องมือใหม่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อระบุ สอน และช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น หุ่นยนต์เพื่อสังคมสามารถช่วยสอนทักษะทางสังคมและการศึกษาแก่นักเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีปัญหาในการได้ยิน กลุ่มอาการดาวน์ และออทิสติก

Brian Scassellati จาก Yale University ตั้งข้อสังเกตว่าผู้เรียนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อหุ่นยนต์ “ในลักษณะที่พวกเขาไม่เคยตอบสนองต่อหุ่นกระบอก หรือการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง”  ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกมันดูเหมือนมนุษย์ แต่เขาก็ยังไม่ได้ตัดสินว่ามันจะดีกว่าเสมอ

การศึกษาโดย Scassellati และเพื่อนร่วมงานได้ใช้ต้นแบบของหุ่นยนต์ Jibo ซึ่งจำลองพฤติกรรม social-gaze และให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำในเกมแบบโต้ตอบเพื่อปรับความยากให้เหมาะกับประสิทธิภาพของเด็ก ในขณะเดียวกัน วิดีโอเกมที่พัฒนาโดยนักวิจัยของ Vanderbilt University ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียนออทิสติกเข้าใจทฤษฎีของจิตใจ จินตนาการถึงสิ่งที่คนอื่นกำลังคิดหรือรู้สึก โดยใช้คลิปภาพยนตร์และสัญญาณอื่น ๆ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New York Times

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

เส้นทางของแฮกเกอร์แสนจะง่ายดายเมื่อมีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ว่างถึง 600,000 ตำแหน่งในสหรัฐ

hacker
Photo by Mika Baumeister on Unsplash

แพลตฟอร์มค้นหางานด้านความมั่นคงไซเบอร์ CyberSeek ประมาณการตำแหน่งงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ที่ว่างของสหรัฐประมาณ 600,000 ตำแหน่ง รวมถึงงานภาคเอกชน 560,000 ตำแหน่ง การระบาดใหญ่ประกอบกับการขาดผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ ในขณะที่การโจมตีแบบฟิชชิง (phishing) และแรนซัมแวร์ (ransomware) เพิ่มขึ้นเนื่องจากพนักงานจำนวนมากใช้เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ที่บ้าน

Stuart Madnick จาก Massachusetts Institute of Technology Sloan School of Management กล่าวถึงการขาดบุคลากรด้านความมั่นคงไซเบอร์ที่ผ่านการรับรอง ในขณะที่ Bryan Palma จากบริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ Trellix กล่าวว่าประเทศต่าง ๆ เช่นรัสเซียและจีนเป็นเจ้าภาพในการจัดหาผู้มีความสามารถได้ดีกว่าถ้าเทียบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านความมั่นคงไซเบอร์

Max Shuftan จากองค์กรฝึกอบรมความมั่นคงไซเบอร์ของ SANS Institute กล่าวว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดเล็กโดยเฉพาะเช่นหน่วยงานราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ค่าจ้างเท่ากับบริษัทเอกชนได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg


วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

ภาษามือมุ่งเข้าสู่เทคโนโลยี

sign-language-glossary
ภาพจาก University of Edinburgh (U.K.)

นักวิจัยจาก University of Edinburgh แห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมในการพัฒนาอภิธานศัพท์ภาษามือซึ่งมีคำมากกว่า 500 รายการ ซึ่งครอบคลุมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงไซเบอร์ วิทยาการข้อมูล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

เป้าหมายคือช่วยให้คนหูหนวกในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถานที่ทำงานสื่อสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหูหนวกแปดคนทั่วสหราชอาณาจักรทำงานร่วมกับนักภาษาศาสตร์สัญญลักษณ์เพื่อพัฒนาและทดสอบคำใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศัพท์ภาษามือ  British Sign Language ฉบับใหม่ 

 Phil Ford จากหน่วยงานรัฐบาล Skills Development Scotland กล่าวว่า "สิ่งนี้จะช่วยให้คนหูหนวกได้งานด้านเทคโนโลยีในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความครอบคลุม ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการอุดช่องว่างด้านทักษะในภาคส่วนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของสกอตแลนด์"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Edinburgh (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนมมนุษย์ได้แล้ว

DNA-Sequence
ภาพจาก Interesting Engineering

ทีมของนักวิจัยนานาชาติ 99 คน ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนม (genome) มนูษย์เรียบร้อยแล้ว ต้องขอบคุณการพัฒนาการของเทคโนโลยีและความเข้าใจศาสตร์ด้านจีโนมที่ก้าวหน้ากว่าที่มีอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Erich Jarvis จาก  Howard Hughes Medical University กล่าวว่าอัลกอรึทึมที่มีขายอยู่ในตลาดก็สามารถประกอบลำดับของ DNA ของคนได้ถูกต้องถึง 98% แล้ว แต่ "2% ที่เหลือยังมีข้อผิดพลาดอยู่"  ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ Giulio Formenti เพื่อนร่วมงานของเขาได้พัฒนาอัลกอรืทึม "เพื่อทำความสะอาด 2% ที่เหลือ" 

Adam Phillippy นักชีวสารสนเทศกล่าวว่า "การจัดลำดับจีโนมของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์เปรียบได้กับการใส่แว่นใหม่ที่ทำให้เห็นทุกอย่างได้ชัดเจนขึ้น เราก้าวเข้าไปไกลอีกหนึ่งขั้นที่จะเข้าใจแล้วว่าทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

โค้ดเก็บเกี่ยวข้อมูลในแอปมือถือส่งข้อมูลผู้ใช้กลับ Google ของรัสเซีย

Yandex
ภาพจาก Ars Technica

ส่วนหนึ่งของแคมเปญการตรวจสอบแอปขององค์กรไม่หวังผลกำไร Me2B Alliance ทำให้นักวิจัยคือ Zach Edwards พบว่า Yandex หรือที่รู้จักในชื่อ "Google ของรัสเซีย" ได้ฝังโค้ดในแอปสำหรับอุปกรณ์มือถือที่ใช้ระบบ iOS ของ Apple และระบบ Android ของ Google ที่อนุญาตให้มีการส่งข้อมูลไปที่เซอร์ฟเวอร์ในรัสเซีย มีการค้นพบซอฟต์แวร์นี้ในแอป 52,000 แอปที่ใช้โดยผู้ใช้หลายร้อยล้านคน

Edwards กล่าวว่า "ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development kit) หรือ SDK ชื่อ AppMetrica ที่บอกว่าให้บริการที่จำเป็น จริง ๆ แล้วติดต่อกลับไปที่มอสโกโดยส่งรายละเอียดเมตาดาต้าที่ล่วงล้ำลึกซึ่งสามารถใช้เพื่อติดตามผู้คนทั่วทั้งเว็บไซต์และแอปได้" เกม แอพส่งข้อความ เครื่องมือแชร์ตำแหน่ง และ VPN ล้วนแล้วแต่เป็นแอปที่ใช้ AppMetrica 

อย่างไรก็ตาม Yandex บอกว่า SDK ของตน "ทำงานในลักษณะเดียวกับ SDK อื่นที่ใช้กันในระดับสากล" เช่น Google Firebase และรวบรวมข้อมูลเฉพาะ "หลังจากที่แอปได้รับความยินยอมจากผู้ใช้" ผ่านแอป Android และ iOS

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica