วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ญี่ปุ่นเปิดตัวแพ็คเกจนโยบาย 100,000 ล้านเยนเพื่อดึงดูดนักวิจัยต่างชาติ

art-gallery
Photo by Takafumi Yamashita on Unsplash

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศชุดมาตรการมูลค่า 1 แสนล้านเยน (ประมาณ 695 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักวิจัยต่างชาติในสาขาต่างๆ เช่น AI และ เซมิคอนดักเตอร์ ด้วยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการวิจัยชั้นยอด

แผนดังกล่าวรวมถึงการสร้างศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมการวิจัยระดับสูง การจัดหาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อใช้ในสถาบันต่าง ๆ และการเพิ่มเงินเดือนนักวิจัย 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนที่จะใช้กำไรที่ได้จากกองทุนลงทุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยผลิตงานวิจัยที่สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Kyodo News (Japan)

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เดนมาร์กจะแทนที่ Microsoft Office ด้วยทางเลือกแบบโอเพนซอร์ส

la[tops-in-an-office
Photo by Markus Kammermann on Unsplash

หน่วยงานรัฐบาลดิจิทัลของเดนมาร์กประกาศว่าจะเริ่มเปลี่ยนผ่านจากการใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Office ไปสู่ LibreOffice ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำนักงานที่พัฒนาโดย The Document Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของเยอรมนีในเดือนหน้า

การเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นในยุโรปเกี่ยวกับอธิปไตยของข้อมูล (data sovereignty) และการควบคุมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบนิเวศซอฟต์แวร์ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Computing (U.K.) โดย Dev Kundaliya

เคอร์เคซมาแล้วต่อไปจะเป็นเกฮีไหม มาสรุปสถานการ์ย้ายเข้า-ออกของทีมกัน

ช่วงนี้ลิเวอร์พูลของเราเปิดตัวนักเตะใหม่เรียกว่ารายสัปดาห์เลยนะครับ คราวนี้เป็นเคอร์เคซ ที่มีข่าวมานานคราวนี้ก็เป็นทางการซะทีนะครับ มายินดีต้อนรับเคอร์เคซสู่สโมสรกันครับ ดูวีดีโอเปิดตัวได้เลยครับ 


อ้อแล้วเราก็ยังได้ผู้รักษาประตูดาวรุ่งคืออาร์มิน ปิซี มาอีกคนด้วยนะครับ มาเป็นประตูมือสามให้กับทีมเรา  

คนต่อไปที่เรามีข่าวพัวพันด้วยมากที่สุดตอนนี้ก็คือ เกฮีของคริสตัลพาเลซนะครับ ไม่รู้ว่าสัปดาหน์หน้าจะได้เขียนบทความแล้วกล่าวยินดีต้อนรับกันอีกไหม ปิดฤดูนี้ลิเวอร์พูลของเราเสริมตัวได้รวดเร็วทันใจจริง ๆ แสดงถึงความเอาจริงเอาจังที่จะต่อยอดความสำเร็จต่อไป ก็ภาวนาว่าอย่าให้มีใครเจ็บ และก็ขอให้โชว์ฟอร์มกันได้อย่างที่คาดหวังกันทุกคนนะครับ แทบจะรอฤดูกาลเปิดไม่ไหวแล้วครับตอนนี้ 

สรุปสถานการณ์ของทีมตอนนี้

ย้ายเข้า 

1. เจเรอมี ฟริมปง (แบ็คขวา)

2.  ฟลอเรียน เวียร์ตซ์ (กองกลาง)

3. มิลอส เคอร์เคซ (แบ็คซ้าย) 

4. จอร์จี มามาร์ดาชวิลี (ประตู คนนี้ซื้อตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้ว แต่ให้ต้นสังกัดเดิมยืมตัวใช้ไปก่อนหนึ่งฤดู)

5.  อาร์มิน ปิซี (ประตู)

ย้ายออก

1. เทรนต์ อาร์โนลด์ (แบ็คขวา) 

2. ควีวิน เคลเลเฮอร์ (ประตู) คนนี้เสียดายมาก แต่เป็นความกก้าวหน้าของเขา ก็ขออวยพรให้โชคดี เจอทีมไหนก็ขอให้เหนียว ๆ นะ แต่เว้นเจอทีมลิเวอร์พูลนะ 

3.  นาธาเนียล ฟิลลิปส์ (เซ็นเตอร์แบ็ค) คนนี้ก็เป็นอีกคนที่ต้องขอขอบคุณ ในฤดูกาลที่เซ็นเตอร์แบ็คตัวจริงของเราเจ็บหมด ก็ได้ความทุ่มเทของเขานี่แหละ ทำให้เราจบที่สามได้ไปแชมเปียนส์ลีก  

4. จาเรลล์ ควอนซาห์ (เซ็นเตอร์แบ็ค) ตกลงกับเลเวอร์คูเซ่นได้แล้ว โดยมีสัญญาซื้อกลับด้วย ดีลนี้ดีมาก ๆ 

อ้อ แล้วก็ต้องขอแสดงความยินดีกับฮาวีร์ เอเลียตด้วย ที่เป็นส่วนสำคัญในทีม U21 ของอังกฤษ ช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ยุโรปเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน เล่นดีแบบนี้ถ้าต้องขายก็เสียดายนะครับ แต่ทีมเรากองกลางก็แน่นไปหมด ก็เข้าใจถ้าเขาจะย้ายเพื่ออนาคต แต่ก็อยากให้อยู่ต่อนะครับ ก็ไม่รู้ว่าอาร์เน่จะบริหารจัดการยังไง  

โอเคครับนี่คือสถานการณ์ของทีมเราในตอนนี้ หวังว่าสัปดาห์หน้าจะมีข่าวดีมารายงานเพิ่มเติม แล้วพบกันใหม่ใน #อาทิตย์ติดแอนฟิลด์ ครับ 

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

อคติทางภาษายังคงมีอยู่ในสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์แม้จะมีเครื่องมือ AI

chatGPT
Photo by Jonathan Kemper on Unsplash

นักวิจัยจาก Stanford University พบว่า การใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language models) หรือ LLM ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเอาชนะอุปสรรคทางภาษา อาจส่งผลให้ผู้ตรวจสอบบทความแบบ peer review เกิดอคติในการประเมินทางวิทยาศาสตร์ได้ 

นักวิจัยได้ตรวจสอบบทความกว่า 80,000 ชิ้นที่ได้รับการตรวจสอบแบบ peer review ในการประชุมวิทยาการคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการประชุม 14 คนจากทั่วโลก พบว่าผู้ตรวจสอบบทความใช้วลีที่พบบ่อยใน LLM เพื่ออนุมานว่าผู้เขียนมาจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Stanford University Institute for Human-Centered AI โดย Scott Hadly

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568

Secure Boot อยู่ภายใต้ภัยคุกคาม

locks
ภาพจาก Computing (U.K.) โดย Tom Allen

นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ค้นพบช่องโหว่สองจุดใน Secure Boot ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยช่องโหว่นี้ช่วยให้แฮกเกอร์สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานของ Secure Boot ได้ 

Microsoft ได้แก้ไขช่องโหว่แรกแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อโมดูลที่สร้างโดย DT Research ที่ถูกใช้งานโดยอุปกรณ์ของผู้ผลิตที่เป็น Original Equipment Manufacturer หรือ OEM กว่า 50 ราย ช่องโหว่นี้อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถข้าม Secure Boot ได้อย่างสมบูรณ์

ส่วนช่องโหว่ที่สองนั้น Microsoft ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไข โดยเกี่ยวข้องกับโมดูลเคอร์เนล Linux ที่ชื่อ igel-flash-driver ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเลี่ยงการป้องกัน bootkit ของ Secure Boot ได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Computing (U.K.) โดย Tom Allen