วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อุปกรณ์ Apple Airplay ที่สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi อาจถูกแฮ็กได้

airplay-malware
ภาพจาก Ars Technica โดย Lily Hay Newman และ Andy Greenberg

นักวิจัยจาก Oligo บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอิสราเอล ได้ระบุช่องโหว่จำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่เปิดใช้งานโดยโปรโตคอล AirPlay ที่ใช้คลื่นวิทยุของ Apple สำหรับการสื่อสารไร้สายในพื้นที่ใกล้กัน 

ช่องโหว่เหล่านี้ซึ่งมีชื่อว่า AirBorne อยู่ในชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ AirPlay ที่อุปกรณ์ของบริษัทอื่นใช้ อาจทำให้แฮ็กเกอร์สามารถควบคุมลำโพง เครื่องรับ กล่องรับสัญญาณ และสมาร์ททีวีบนเครือข่าย Wi-Fi เดียวกันกับแฮ็กเกอร์ได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica โดย Lily Hay Newman และ Andy Greenberg

เมื่อโค้ชบาสเกตบอลกลายมาเป็นครูสอนเขียนโค้ด: AI กำลังเปลี่ยนอนาคตของการศึกษา


Andrew-Ng
Andrew Ng (คนซ้ายมือสุด) 
ภาพโดย Steve Jurvetson, แหล่งที่มา: Wikimedia Commons (ลิงก์ต้นฉบับ), ใช้ภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY 2.0

#พฤหัสจัดAI วันนี้ ขอสรุปบทความที่เขียนโดย Andrew Ng ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยเขาได้ repost บทความของเขาเองใน LinkedIn ซึ่งผมเป็นหนึ่งในผู้ติดตามของเขา ก็เลยได้เห็น โดยบทความของเขานั้นสามารถเข้าอ่านได้ที่นี่ The Batch, Issue 299 ครับ ซึ่งถ้าใครต้องการอ่านฉบับเต็มก็เข้าไปอ่านได้เลยครับ แต่ถ้าใครอยากอ่านฉบับย่อที่ผมสรุปมาก่อนก็เชิญต่อได้เลยครับ 

เขาเริ่มต้นด้วยการบอกว่าเขาคาดหวังว่าเราควรส่งเสริมให้ทุกคนสามารถสร้างนวัตกรรมด้วย AI โดยควรเริ่มสอนการเขียนโค้ดที่ใช้ AI ตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ระดับ K-12 (ถ้าเทียบกับประเทศเราก็คือตั้งแต่ป.1 ถึง ม.6)  เพื่อปูทางให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ

แต่ความท้าทายคือ “การขาดแคลนครูสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างยิ่งยวด” 

ขอเสริมนิดนะครับ อันนี้คงไม่ใช่แค่ในอเมริกานะครับ ผมว่าเป็นกันแทบทุกประเทศ ยิ่งประเทศเรายิ่งไม่ต้องพูดถึง 

กลับมาต่อกันครับ Andrew Ng เล่าเรื่องราวของ Kyle Creasy โค้ชบาสเกตบอลในโรงเรียนมัธยมที่จบปริญญาตรีด้านพลศึกษาเมื่อปี 2023 และเพิ่งเริ่มเขียน Python ได้เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยการช่วยเหลือจาก AI ตอนนี้เขาไม่เพียงแต่เขียนโค้ดได้ แต่ยังเป็น ครูสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ อีกด้วย เป็นตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างมากในการเป็นตัวแบบของการขยายการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับประถมและมัธยม

เบื้องหลังความสำเร็จของ Kyle คือ Kira Learning (บริษัทในเครือ AI Fund) ที่ออกแบบระบบการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับ K-12 โดยเน้นให้ ครูทำหน้าที่สนับสนุนด้านอารมณ์และสังคมของนักเรียน ขณะที่ระบบ AI จะรับผิดชอบการสอนเนื้อหา เช่น

  • วิดีโอการสอนแบบดิจิทัล

  • แบบทดสอบที่ตรวจอัตโนมัติ

  • แชตบอทที่ตอบคำถามนักเรียน (โดยไม่เฉลยการบ้าน)

ระบบนี้ยังมีความสามารถด้านการปรับเนื้อหาเฉพาะบุคคล  (Hyperpersonalization ) ที่ล้ำหน้ากว่าแนวคิดห้องเรียนกลับทิศ (flipped classroom) ในอดีต เช่น หากนักเรียนเขียนโค้ดว่า:

best_$alty_snack = 'potato chips'

AI จะวิเคราะห์ได้ทันทีว่า $ เป็นตัวอักษรที่ไม่ถูกต้องในชื่อตัวแปร พร้อมเสนอคำถามให้ครูใช้กระตุ้นการคิด เช่น “ตัวอักษรใดที่อนุญาตให้ใช้ในชื่อของตัวแปรได้บ้าง?”

ไม่เพียงแต่ช่วยนักเรียนโดยตรง AI ยังช่วยให้ครูสามารถดูแลนักเรียนรายบุคคลได้ดีขึ้น โดยการใช้งาน Agentic AI ก็จะช่วยลดงานซ้ำซาก เช่น การจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เขายกตัวอย่างเช่น Common Core หรือ AP CS (อันนี้จะมาใช้กับพวกประกันคุณภาพมหัศจรรย์พันระบบที่เรามีในไทยได้ไหมไม่รู้นะครับ)

นอกจากนี้ Kyle ยังได้นำความรู้การเขียนโปรแกรมไปปรับใช้กับงานเดิมของเขา เช่น เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ความแม่นของนักบาสในการยิงสามแต้มด้วย matplotlib และใช้ข้อมูลเหล่านี้ปรับกลยุทธ์ทีมของเขาในสนาม ซึ่ง Andrew Ng บอกว่า เมื่อโค้ชบาสเรียนรู้การเขียนโค้ด เขากลายเป็นโค้ชบาสที่เก่งขึ้น


สิ่งที่ผมสรุปได้จากบทความนี้ก็คือ  AI ไม่ได้มาแทนที่ครู แต่ช่วยให้ครูทุกคนที่แม้จะไม่มีพื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพได้ และการเริ่มต้นสอนการเขียนโค้ดที่ใช้ AI ตั้งแต่ระดับประถมและมัธยม จะช่วยให้อนาคตของนักเรียนดีขึ้น

🧠 บทความต้นฉบับโดย Andrew Ng:
🔗 อ่านบทความเต็มได้ที่นี่

🔗Kiera Learning

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

วิกิพีเดียจะใช้ AI แต่จะไม่แทนที่อาสาสมัครที่เป็นมนุษย์

Wikipedia
ภาพจาก Tech Crunch โดย Sarah Perez

กลยุทธ์ AI ระยะเวลาสามปีของ Wikipedia ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 30 เมษายน เรียกร้องให้ใช้ AI เพื่อเสริม แทนที่จะแทนที่ชุมชนบรรณาธิการและอาสาสมัคร 

Chris Albon จาก Wikimedia Foundation อธิบายว่า "เราจะใช้วิธีการที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางและจะให้ความสำคัญกับตัวแทนที่เป็นมนุษย์ เราจะให้ความสำคัญกับการใช้ AI แบบเปิดเผยโค้ด (open source) หรือเปิดเผยน้ำหนัก (open weight) เราจะให้ความสำคัญกับความโปร่งใส และเราจะใช้วิธีการที่ละเอียดอ่อนต่อการใช้งานหลายภาษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ Wikipedia"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tech Crunch โดย Sarah Perez

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

จีนต้องการพึ่งตนเองในการพัฒนา AI

AI
Photo by Igor Omilaev on Unsplash

ในเซสชันการศึกษาของการประชุม Politburo เมื่อวันที่ 25 เมษายน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนกล่าวว่า การพัฒนา AI ของจีนจะเกี่ยวข้องกับ "การพึ่งพาตนเองและการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเอง" ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวอย่างเป็นทางการ 

สี จิ้นผิง กล่าวว่า "เราต้องตระหนักถึงช่องว่างและเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรม และแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างครอบคลุม" โดยจะมีการสนับสนุนนโยบายในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัย และการบ่มเพาะบุคลากร และด้านอื่น ๆ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters โดย James Pomfret และ Summer Zhen


วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

วิธีใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบประสานงานที่ซับซ้อน

deep-learning
ภาพจาก MIT News

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ได้พัฒนาวิธีการที่ช่วยให้สามารถใช้ไดอะแกรมอย่างง่ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ในโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกได้ 

เทคนิคนี้อิงตามทฤษฎีหมวดหมู่ (category theory) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการประสานงานระบบเชิงโต้ตอบที่ซับซ้อน โดยช่วยให้ไดอะแกรม "ทั้งแสดงถึงฟังก์ชันและเปิดเผยวิธีการดำเนินการบน GPU อย่างเหมาะสมที่สุด" Vincent Abbott จาก MIT กล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News