วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เสา 6G อาจนำไปสู่การสื่อสารความเร็วสูง

new-6g-attena-coverage
ภาพจาก Live Science โดย Tim Danton

นักวิจัยจาก University of Glasgow ในสหราชอาณาจักรได้พัฒนาเสาอากาศเมตาเซอร์เฟซแบบไดนามิก (dynamic metasurface antenna) หรือ DMA ซึ่งเป็นตัวแรกที่สามารถทำงานร่วมกับสัญญาณ 6G โดยใช้เทคนิคบีมฟอร์มมิ่ง (beamforming) ในการส่งสัญญาณ 6G ไปยังอุปกรณ์เป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระดับนาโนวินาที 

ต้นแบบ DMA ช่วยลดการใช้พลังงานและปริมาณการชนกันของข้อมูล (data collisions) ได้ถึง 88% และ 24% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเสาอากาศที่ส่งสัญญาณได้รอบทิศทาง (omnidirectional antennas)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Live Science โดย Tim Danton

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

รัสเซียถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงระบบ GPS

airplane
ภาพจาก France 24 โดย Sébastian Seibt

สัญญาณ GPS ที่สนามบินทาร์ทู ประเทศเอสโตเนีย ถูกรบกวน สันนิษฐานว่ารัสเซียมีส่วนเดี่ยวข้อง ซึ่งการกวนสัญญาณ GPS หรือการปลอมแปลงสัญญาณทำให้เครื่องบินลงจอดได้ยาก

ส่งผลให้สายการบินฟินแอร์ของฟินแลนด์ต้องหยุดให้บริการเที่ยวบินลงจอดที่สนามบินดังกล่าวเป็นเวลา 1 เดือน รายงานระบุว่า เครื่องบินประมาณ 46,000 ลำ ที่เดินทางเข้าออกอังกฤษตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 ประสบปัญหากับสัญญาณ GPS เหนือทะเลบอลติก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: France 24 โดย Sébastian Seibt

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

โดรนเต้นระบำโดยใช้ ChatGPT

Prof-Angela-Schoellig
Prof Angela Schoellig ภาพจาก Interesting Engineering; Maria Mocerino

นักวิจัยจาก Technical University of Munich (TUM) ประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จในการออกแบบท่าเต้นโดรนกลางอากาศโดยใช้ ChatGPT โดยสั่งให้โดรนหกตัวบินเป็นวงกลมโดยไม่ชนกัน การออกแบบครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการเลือกเพลงประกอบและการป้อนข้อความที่ ChatGPT แปลเป็นท่าเต้น 

Angela Schoellig จาก TUM กล่าวว่าเนื่องจาก ChatGPT "ในตอนแรกไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคุณสมบัติของโดรนและข้อจำกัดทางกายภาพสำหรับเส้นทางการบินของพวกมัน" จึงมีการพัฒนาอัลกอริทึมความปลอดภัยเพื่อวางแผนเส้นทางการบินให้หลีกเลี่ยงการชนกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering; Maria Mocerino

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ออสเตรเลียให้ทุนสนับสนุนคอมพิวเตอร์ควอนตัม 'Utility-Scale' มูลค่า 620 ล้านดอลลาร์

Negative-Sapces
Photo by FlyD on Unsplash

รัฐบาลกลางของออสเตรเลียและรัฐควีนส์แลนด์ประกาศสนับสนุนเงินทุนจำนวน 940 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่สตาร์ทอัพ PsiQuantum เพื่อพัฒนา "คอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบ utility-scale เครื่องแรกของโลก"  

สตาร์ทอัพนี้ใช้แผงวงจรรวมซิลิกอนพื้นฐาน (silicon wafer) คิวบิตแบบโฟโตนิก (photonic qubits) และเทคโนโลยีจากอุปกรณ์สื่อสารด้วยแสง (optical communications kits) ในการสร้างเครื่องจักรที่ประกอบด้วยใยแก้วนำแสงที่เชื่อมต่อกับตัวประมวลผลแบบโฟโตนิก โดยไม่จำเป็นต้องใช้ระบบทำความเย็นที่มีราคาสูง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Register (U.K.); Simon Sharwood

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ภาษา BASIC อายุ 60 ปีแล้ว

basic-labguage
ภาพจาก Ars Technica โดย Benj Edwards

ภาษาโปรแกรม BASIC (Beginner's All-Purpose Symbolic Instruction Code) ครบรอบ 60 ปีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา  

BASIC สร้างขึ้นเพื่อให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าถึงได้สำหรับคนทั่วไปมากขึ้น โดยได้รับความนิยมในหมู่โปรแกรมเมอร์มือใหม่เนื่องจากใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียบง่าย 

BASIC พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สนใจคอมพิวเตอร์ย้อนยุค (retrocomputing) ภาษาที่สืบเชื้อสายมาจาก BASIC  ได้แก่ Visual Basic, Visual Basic for Applications และ Small Basic ของ Microsoft

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica โดย Benj Edwards