วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

หุ่นยนต์เหมือนคนขนาดเล็กที่สุดในโลก

smallest-humanoid
ภาพจาก Forbes; โดย Leslie Katz

ทีมหุ่นยนต์จาก Dioesan Boys' School ฮ่องกง ได้รับรางวัลกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด สำหรับการสร้างหุ่นยนต์เหมือนคน (humanoid) ขนาดเล็กที่สุด 

ตัวหุ่นยนต์ประกอบด้วยแผ่นอะคริลิคและชิ้นส่วนที่พิมพ์สามมิติ ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 7.4 โวลต์ และสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือหรือระบบควบคุมภายในตัว 

หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนไหวด้วยสองเท้าและขยับแขนเพื่อรับรองคุณสมบัติ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งโปรแกรมให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เต้นรำและเล่นฟุตบอลได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Forbes; โดย Leslie Katz

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

นักวิจัยออกแบบหน่วยประมวลผลจาก DNA

DNA-lab-on-chip
ภาพจาก Tom's Hardware; โดย Christopher Harper

นักวิจัยจาก  Rochester Institute of Technology (RIT)  และ University of Minnesota ได้พัฒนาตัวประมวลผล DNA แบบไมโครฟลูอิดิกส์ (microfluidic) ซึ่งมีความสามารถในการคำนวณ อ่าน และเขียนข้อมูลที่จัดเก็บภายใน DNA 

"แล็บบนชิป (lab-on-chip)" DNA ตัวต้นแบบนี้รองรับการคำนวณเครือข่ายประสาทเทียม (artificial neural network) กับข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน DNA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารละลายไมโครฟลูอิดิกส์ของโมเลกุล DNA ที่ถูกดัดแปลง นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์และแบบไม่เชิงเส้นได้อีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware; โดย Christopher Harper

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

บังกลาเทศติดอันดับศูนย์กลางที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับโปรแกรมเมอร์

shadow-a-man-coding
ภาพจาก Dhaka Tribune

บังกลาเทศเป็นศูนย์กลางด้านการเขียนโปรแกรมที่เติบโตเร็วที่สุดตามข้อมูลที่เผยแพร่ล่าสุดโดย GitHub เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 มีนักพัฒนาจากบังกลาเทศ 945,696 คนที่มีบัญชี GitHub เมื่อเทียบกับ 568,145 คนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 ซึ่งหมายถึงอัตราการเติบโตแบบปีต่อปี 66.5% ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในโลก

สหรัฐอเมริกานำโด่งในด้านจำนวนนักพัฒนาโดยรวมที่มี 20.2 ล้านคน ตามมาด้วยอินเดีย (13.3 ล้านคน) จีน (6.9 ล้านคน) และบราซิล (5.4 ล้านคน)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Dhaka Tribune

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การเรียนรู้เชิงลึกอ่านใจผู้บริโภคได้เพียงแค่กระพริบตา

digital-eye
ภาพจาก Interesting Engineering; โดย Abdul-Rahman Oladimeji Bello

นักวิจัยจาก University of Maryland, New York University, และ Tel Aviv University ในอิสราเอล ได้พัฒนาอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning algorithm) ที่สามารถคาดการณ์การเลือกของผู้ใช้โดยอาศัยข้อมูลการเคลื่อนไหวของดวงตา

ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า อัลกอริทึม RETINA สามารถทำนายได้แม่นยำกว่าวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) อย่าง BERT, LSTM, AutoML, logistic regression, และวิธีการเรียนรู้ของเครื่องตัวอื่น ๆ

Michel Wedel จาก University of Maryland กล่าวว่า "แม้ผู้คนยังไม่ได้ตัดสินใจ แต่จากการติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตา เราสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขามีแนวโน้มเลือกสินค้าใด ด้วยข้อมูลนี้ นักการตลาดสามารถเสริมสร้างการตัดสินใจดังกล่าว หรืออาจลองแนะนำสินค้าอื่นทดแทนได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering; โดย Abdul-Rahman Oladimeji Bello

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Apple ออกภาษาเขียนโปรแกรมแบบเปิดเผยรหัสตัวใหม่

 

programmer-writing-program
ภาพจาก TechRadar; โดย Luke Hughes

Pkl ภาษาการกำหนดค่าแบบฝังตัวโอเพ่นซอร์สจาก Apple เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2024 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการ "กำหนดค่าขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อน ตั้งแต่งานเฉพาะกิจไปจนถึงงานประจำ" 

ในตอนเปิดตัว Pkl รองรับไฟล์รายการตั้งค่ารูปแบบ JSON, XML และ YAML เพื่อสร้างไฟล์กำหนดค่าแบบคงที่ (static configuration file) 

นอกจากนี้ Pkl ยังรองรับภาษา Java, Kotlin, Swift และ Go โดย Apple กล่าวว่า "ในอนาคต เราหวังว่าจะเพิ่มการรองรับภาษาและแพลตฟอร์มยอดนิยมอื่น ๆ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของเราในการสร้างโซลูชันการกำหนดค่าหลายภาษาจากภาษากำหนดค่าภาษาเดียว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechRadar; โดย Luke Hughes