วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เทคโนโลยีแปลภาษามือเป็นข้อความที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยเพิ่มการเข้าถึงสำหรับคนหูหนวก

man-using-sign-language
ภาพจาก New Atlas

เทคโนโลยี AI ที่ก้าวล้ำกำลังเปลี่ยนการเข้าถึงของชุมชนคนหูหนวกด้วยการแปลงภาษามือเป็นข้อความในแบบเรียลไทม์

ระบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้ใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อวิเคราะห์ท่าทางภาษามือและเขียนเป็นข้อความได้อย่างถูกต้อง

ตัวแบบ AI ได้รับการฝึกอบรมโดยชุดข้อมูลวิดีโอภาษามือจำนวนมหาศาล ทำให้สามารถจดจำและตีความสัญญาณได้หลากหลาย

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการเชื่อมช่องว่างในการสื่อสาร และปรับปรุงการเข้าถึงสำหรับคนหูหนวกในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมในการสนทนาและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่ได้ยินปกติได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Atlas

วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ลำดับของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปี 2023

bluesky-computer-science-ranking
ภาพจาก Forbes

แหล่งข้อมูลความรู้ในสหราชอาณาจักร BlueSky Thinking ได้รวบรวมการจัดอันดับวิชาหลักทั่วโลกที่เผยแพร่โดย Times Higher Education, Quacquarelli Symonds, U.S. News และ Academic Ranking of World Universities ของจีน โดยได้สรุปการจัดอันดับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) ประจำปี 2022/23 ซึ่งแสดงได้ดังรูปด้านบน ซึ่งจะเห็นว่ามหาวิทยาลัยเดียวกันอาจได้ลำดับที่ต่างกันในแต่ละระบบการจัดลำดับ

ระบบการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject มีการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งในโปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ชื่อเสียงทางวิชาการ ชื่อเสียงจากผู้ว่าจ้าง และผลกระทบที่ได้จากงานวิจัย วิธีการจัดอันดับของ QS เป็นอย่างละเอียดและน่าเชื่อถือ ทำให้เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับนักเรียนที่กำลังเลือกหลักสูตร รวมถึงนักวิจัยด้วย

ระบบการจัดอันดับ Academic Ranking of World Universities (ARWU) หรือที่เรียกว่า Shanghai Ranking ที่เน้นผลงานวิจัยและรางวัลของคณาจารย์ และได้รับการยอมรับในวิธีการวิจัยที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามการเน้นการวิจัยของ ARWU อาจไม่สามารถให้ภาพรวมของคุณภาพโปรแกรมวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่

Times Higher Education (THE) World University Rankings ก็เป็นระบบการจัดอันดับที่ได้รับความนิยม โดย THE ให้ความสำคัญกับผลที่ได้จกาวานวิจัย รายได้จากอุตสาหกรรม ความหลากหลายระดับนานาชาติ และคุณภาพการสอน วิธีการวิจัยของ THE ร่วมกับชื่อเสียงในระดับโลก ทำให้ THE เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการประเมินโปรแกรมวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ทั่วโลก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Forbes



วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Microsoft ค้นพบบั๊กของ macOS ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถเลี่ยง SIP ได้

Apple-Logo
ภาพจาก  BleepingComputer

Security Response Center ของ Microsoft ได้ระบุจุดบกพร่องที่สำคัญใน macOS ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดรูทของ System Integrity Protection หรือ SIP ได้

ช่องโหว่นี้เรียกว่า CVE-2023-4567 ช่วยให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถใช้คำสั่งอะไรก็ได้ด้วยสิทธิ์ขั้นสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ macOS

SIP ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการแก้ไขไฟล์ระบบที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ข้อบกพร่องนี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถข้ามการป้องกันเหล่านี้ได้

Microsoft ได้รายงานปัญหาไปยัง Apple โดยทันที และบริษัทได้เผยแพร่การอัปเดตความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว

ผู้ใช้ควรอัปเดตระบบ macOS เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BleepingComputer

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566

EPFL ปกป้องความเป็นส่วนตัวในปฏิบัติการด้านมนุษยชน

ICRC-Help
ภาพจาก EPFL (Switzerland)

นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology, Lausanne (EPFL) ได้ร่วมมือกับสภากาชาดสากล (International Committee of the Red Cross) หรือ ICRC เพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลที่ใช้สนันสนุนงานกระจายความช่วยเหลือด้านสิทธิมในุษยชนขึ้่นเป็นครั้งแรก 

มีการใช้โทเค็น (token) เพื่อกระจายศูนย์ (decentralize) ของหน่วยจัดเก็บข้อมูล และข้อมูลของผู้รับการช่วยเหลือ เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่อ่อนไหว

ระบบด้านมนุษยชนที่เน้นการรักษาความเป็นส่วนตัวนี้พบกับความท้าทายหลายประการที่ถูกระบุโดย ICRC โดยโปรแกรมกระจายความช่วยเหลือจากสถานการณ์วิกฤติ มักจะเกิดในที่ซึ่งไม่มีฮาร์ดแวร์รุ่นล่าสุด หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงจากเงื่อนไขเหล่านี้ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: EPFL (Switzerland)


วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ส่วนเสริมสมาร์ตโฟนราคาถูกช่วยวัดความดันเลือดจากปลายนิ้ว

blood-pressure-phone-clip
ภาพจาก  UC San Diego Today

คลิปหนีบปลายนิ้วที่พลาสติกราคาไม่แพง และแอปสมาร์ฟตโฟนที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย University of California, San Diego ใช้งานกล้องและแฟลชของสมาร์ตโฟนเพื่อวัดความดันโลหิตของผู้ใช้

เป้าหมายคือการทำให้เครื่องวัดความดันโลหิตมีราคาไม่แพงและสามารถเข้าถึงได้ คลิปวางอยู่เหนือกล้องและแฟลชของสมาร์ตโฟน โดยไม่จำเป็นต้องทาบกับข้อมือ 

แอปสมาร์ตโฟนสามารถวัดปริมาณแรงกดที่ปลายนิ้วและปริมาณเลือดที่เข้าและออกจากปลายนิ้ว จากนั้นจะแปลงข้อมูลนี้เป็นค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic) และไดแอสโตลิก (diastolic) โดยใช้อัลกอริทึม

นักวิจัยทดสอบคลิปกับอาสาสมัคร 24 คน จาก UC San Diego Medical Center และเปรียบเทียบผลลัพธ์กับเครื่องวัดปกติ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UC San Diego Today