วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เราจะได้เห็นประเภทคอมพิวเตอร์แบบใหม่หมดผู้บุกเบิกด้านปัญญาประดิษฐ์บอก

robot
Photo by Owen Beard on Unsplash

ผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์และผู้รับรางวัล ACM A.M. Turing  ประจำปี 2018 คือ Geoffrey Hinton ได้แสดงให้เห็นถึงภาพของคอมพิวเตอร์นิวโรมอร์ฟิก (neuromorphic)  "แบบมนุษย์ (mortal)"  ที่รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน 

 Hinton กล่าวในการประชุม Neural Information Processing Systems ว่าการคำนวณแบบมนุษย์หมายถึง ความรู้ที่ระบบได้เรียนรู้และฮาร์ดแวร์เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก"

Hinton กล่าวว่าคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถเติบโตได้ โดยไม่ต้องมีการผลิตชิปราคาแพง และเขาจินตนาการว่าคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะถูก "ใช้สำหรับใส่บางอย่างเช่น GPT-3 ลงในเครื่องปิ้งขนมปังในราคา 1 ดอลลาร์ ดังนั้นคุณจึงใช้พลังงานไม่กี่วัตต์ในการพูดคุยกับเครื่องปิ้งขนมปังของคุณ"

เขาเสนอตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบส่งต่อไปข้างหน้า ( forward-forward neural network model) โดยกำจัดการย้อนกลับ (backpropagation) ของโครงข่ายประสาทเทียมทั่วไป ซึ่งอาจจะเหมาะกับฮาร์ดแวร์-ของคอมพิวเตอร์แบบมนุษย์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet



วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เว็บไซต์มีโปรแกรมตัวติดตามเพิ่มมากขึ้น

monitor-show-website
Photo by Lee Campbell on Unsplash

นักวิเคราะห์ที่ NordVPN บริษัท VPN ในปานามาพบว่าเว็บไซต์โดยเฉลี่ยมีโปรแกรมตัวติดตาม 48 ตัวติดตามกิจกรรมของผู้เยี่ยมชมและบันทึกข้อมูลส่วนตัวของพวกเขา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการโจรกรรมตัวตน (identity theft) 

นักวิเคราะห์คำนวณจำนวนโปรแกรมตัวติดตามในเว็บไซต์ยอดนิยม 100 อันดับใน 25 ประเทศ ซึ่งที่นิยมมากที่สุดคือเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ซึ่งแต่ละแห่งมีโปรแกรมตัวติดตามโดยเฉลี่ย 160 ตัว เว็บไซต์ด้านสุขภาพมีโปรแกรมตัวติดตามโดยเฉลี่ย 46 รายการในแต่ละเว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์สื่อดิจิทัลมีโปรแกรมตัวติดตามเฉลี่ย 28 รายการ และเว็บไซต์เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่และหน่วยงานของรัฐมีโปรแกรมตัวติดตาม 1 และ 4 ตัวต่อเว็บไซต์ตามลำดับ

โปรแกรมตัวติดตามส่วนใหญ่เป็นของบริษัทที่รู้จักกันดี เช่น Google, Facebook และ Adobe ซึ่งมักใช้ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด Daniel Markuson จาก NordVPN กล่าวว่าโปรแกรมตัวติดตามเว็บไซต์มีจำนวนน้อยกว่าในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่เข้มงวด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechRadar

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เครื่องมือเขียนโปรแกรมเปลี่ยนลายมือให้เป็นโค้ด

woman-using-touch-screen
Photo by Microsoft Edge on Unsplash

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้สร้างอินเทอร์เฟซ Notate เพื่อแปลงลายมือและภาพร่างเป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ 

อินเทอร์เฟซที่ใช้ปากกาช่วยให้ผู้ใช้ที่ใช้โน้ตบุ๊กดิจิทัลอย่างเช่น Jupyter สามารถเปิดโปรแกรมวาดภาพและเขียนไดอะแกรมด้วยลายมือลงภายในบรรทัดของโค้ดแบบเดิมได้

Notate ถูกขับเคลื่อนโดยโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก ทำให้สัญลักษณ์ในไดอะแกรมที่เขียนด้วยลายมือสามารถอ้างอิงไปถึงโค้ดที่เป็นข้อความ และในทางกลับกันก็ทำได้

Ian Arawjo จาก Cornell กล่าวว่า "ผู้คนพร้อมแล้วสำหรับความสามารถนี้ แต่ผู้พัฒนาอินเทอร์เฟซสำหรับการเขียนโค้ดจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งนี้และรองรับรูปภาพและอินเทอร์เฟซกราฟิกภายในโค้ด"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle



วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ผู้บุกรุกเจาะผ่านระบบยืนยันตัวตนสองปัจจัยของ Coinbase, Metamask โดยใช้ TeamViewer

trading-bitcoin
Photo by Anne Nygård on Unsplash

PIXM บริษัทต่อต้านฟิชชิ่ง (phishing) พบว่าสแกมเมอร์ (scammer) กำลังทำแคมเปญฟิชชิ่งเพื่อขโมยเงินดิจิตอลโดยการเข้าถึงบริการการแลกเปลี่ยนอย่าง Coinbase, MetaMask, Crypto.com และ KuCoin ด้วยการหลีกเลี่ยงการป้องกันการยืนยันตัวตนสองปัจจัย (two-factor authentication) หรือ 2FA

ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากบริการ Microsoft Azure Web Apps เพื่อโฮสต์เครือข่ายของเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ใช้ล่อลวงเหยื่อให้เข้ามา เมื่อเหยื่อเยี่ยมชมหนึ่งในไซต์ฟิชชิ่ง หน้าต่างแชทสนับสนุนลูกค้าที่ควบคุมโดยสแกมเมอร์จะนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการฉ้อโกง

การโจมตีใช้แบบฟอร์มปลอมให้ป้อนข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนถึงข้อความแจ้งขอรหัส 2FA สำหรับการเข้าถึงบัญชี แฮ็กเกอร์จะชักชวนให้เหยื่อดาวน์โหลดและติดตั้งแอปการเข้าถึงระยะไกล "TeamViewer" เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบสิทธิ์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BleepingComputer

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เชิญพบกับตึกสำนักงานอัจฉริยะที่สุดในโลก

smart-building
ภาพจาก TechRadar

อาคารสำนักงานอัจฉริยะ JTC Summit สูง 31 ชั้นในสิงคโปร์มีเครือข่ายเซ็นเซอร์ประมาณ 60,000 ตัวเพื่อรวบรวมข้อมูลจากระบบต่าง ๆ ในอาคาร 

ใช้ Open Digital Platform ที่สร้างขึ้นโดย GovTech ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาของรัฐบาลสิงคโปร์ เพื่อผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงพลังงานอัจฉริยะ การจัดการอาคาร และบริการจัดส่งโดยหุ่นยนต์เข้าเป็นแพลตฟอร์มเดียว

เจ้าของตึกสามารถดูข้อมูลแบบเสมือนผ่านคู่แฝดดิจิทัลของอาคารเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ปลดล็อกประตูทางเข้าจากระยะไกล และระบุความผิดปกติของบันไดเลื่อน และอุปกรณ์อื่น ๆ แบบเรียลไทม์ 

นอกจากนี้ อาคารยังติดตั้งหุ่นยนต์ที่สามารถจัดส่งพัสดุ ระบุสิ่งที่ต้องการการบำรุงรักษา และดำเนินการลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยในโถงอาคาร

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechRadar