วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

ภาษามือมุ่งเข้าสู่เทคโนโลยี

sign-language-glossary
ภาพจาก University of Edinburgh (U.K.)

นักวิจัยจาก University of Edinburgh แห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมในการพัฒนาอภิธานศัพท์ภาษามือซึ่งมีคำมากกว่า 500 รายการ ซึ่งครอบคลุมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงไซเบอร์ วิทยาการข้อมูล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

เป้าหมายคือช่วยให้คนหูหนวกในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถานที่ทำงานสื่อสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหูหนวกแปดคนทั่วสหราชอาณาจักรทำงานร่วมกับนักภาษาศาสตร์สัญญลักษณ์เพื่อพัฒนาและทดสอบคำใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศัพท์ภาษามือ  British Sign Language ฉบับใหม่ 

 Phil Ford จากหน่วยงานรัฐบาล Skills Development Scotland กล่าวว่า "สิ่งนี้จะช่วยให้คนหูหนวกได้งานด้านเทคโนโลยีในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความครอบคลุม ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการอุดช่องว่างด้านทักษะในภาคส่วนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของสกอตแลนด์"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Edinburgh (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนมมนุษย์ได้แล้ว

DNA-Sequence
ภาพจาก Interesting Engineering

ทีมของนักวิจัยนานาชาติ 99 คน ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนม (genome) มนูษย์เรียบร้อยแล้ว ต้องขอบคุณการพัฒนาการของเทคโนโลยีและความเข้าใจศาสตร์ด้านจีโนมที่ก้าวหน้ากว่าที่มีอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Erich Jarvis จาก  Howard Hughes Medical University กล่าวว่าอัลกอรึทึมที่มีขายอยู่ในตลาดก็สามารถประกอบลำดับของ DNA ของคนได้ถูกต้องถึง 98% แล้ว แต่ "2% ที่เหลือยังมีข้อผิดพลาดอยู่"  ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ Giulio Formenti เพื่อนร่วมงานของเขาได้พัฒนาอัลกอรืทึม "เพื่อทำความสะอาด 2% ที่เหลือ" 

Adam Phillippy นักชีวสารสนเทศกล่าวว่า "การจัดลำดับจีโนมของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์เปรียบได้กับการใส่แว่นใหม่ที่ทำให้เห็นทุกอย่างได้ชัดเจนขึ้น เราก้าวเข้าไปไกลอีกหนึ่งขั้นที่จะเข้าใจแล้วว่าทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

โค้ดเก็บเกี่ยวข้อมูลในแอปมือถือส่งข้อมูลผู้ใช้กลับ Google ของรัสเซีย

Yandex
ภาพจาก Ars Technica

ส่วนหนึ่งของแคมเปญการตรวจสอบแอปขององค์กรไม่หวังผลกำไร Me2B Alliance ทำให้นักวิจัยคือ Zach Edwards พบว่า Yandex หรือที่รู้จักในชื่อ "Google ของรัสเซีย" ได้ฝังโค้ดในแอปสำหรับอุปกรณ์มือถือที่ใช้ระบบ iOS ของ Apple และระบบ Android ของ Google ที่อนุญาตให้มีการส่งข้อมูลไปที่เซอร์ฟเวอร์ในรัสเซีย มีการค้นพบซอฟต์แวร์นี้ในแอป 52,000 แอปที่ใช้โดยผู้ใช้หลายร้อยล้านคน

Edwards กล่าวว่า "ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development kit) หรือ SDK ชื่อ AppMetrica ที่บอกว่าให้บริการที่จำเป็น จริง ๆ แล้วติดต่อกลับไปที่มอสโกโดยส่งรายละเอียดเมตาดาต้าที่ล่วงล้ำลึกซึ่งสามารถใช้เพื่อติดตามผู้คนทั่วทั้งเว็บไซต์และแอปได้" เกม แอพส่งข้อความ เครื่องมือแชร์ตำแหน่ง และ VPN ล้วนแล้วแต่เป็นแอปที่ใช้ AppMetrica 

อย่างไรก็ตาม Yandex บอกว่า SDK ของตน "ทำงานในลักษณะเดียวกับ SDK อื่นที่ใช้กันในระดับสากล" เช่น Google Firebase และรวบรวมข้อมูลเฉพาะ "หลังจากที่แอปได้รับความยินยอมจากผู้ใช้" ผ่านแอป Android และ iOS

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

Battery-Free จาก MakeCode ทำให้เด็ก ๆ โค้ดดิ้งความยั่งยืน

ิbattery-free-makecode
ภาพจาก Northwestern Now

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Northwestern University ได้ออกแบบแพลตฟอร์มโค้ดดิงคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถสร้างและเขียนโค้ดอุปกรณ์เก็บพลังงานที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แบบยั่งยืน (sustainable) นักวิจัยใช้เครื่องมือ Battery-Free บนแพลตฟอร์มเรียนเพื่อโค้ด MakeCode ของ Microsoft โดยใช้ส่วนขยาย (extension )ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมพลังงานจากการสั่นสะเทือน การส่งสัญญาณความถี่วิทยุ (RF) และแหล่งแวดล้อมอื่นๆ

ส่วนขยายช่วยให้เกิดความทนทานต่อข้อผิดพลาด โดยรับประกันว่าสถานะของโปรแกรมจะคงอยู่เมื่อการจ่ายพลังงานขาดช่วง ครูที่โรงเรียนประถมศึกษา Pu'ohala ในฮาวายกำลังปรับใช้ MakeCode Battery-Free ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เน้นความยั่งยืน

Josiah Hester จาก Northwestern กล่าวว่า "ด้วย MakeCode Battery-Free เราต้องการช่วยให้ผู้สอนสามารถสอนโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ให้เข้าใจการคำนวณอย่างยั่งยืน (computing sustainable) และได้ฝึกการเขียนโปรแกรม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern Now


วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

แอพวัดความเสี่ยงของการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ

Albert-Cheng-University-Houston
Albert Cheng จาก University of Houston ภาพจาก IEEE Spectrum

Albert Cheng จาก University of Houston กำลังทดสอบแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนเพื่อช่วยผู้คนหลีกเลี่ยงการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่แออัด 

แอปนี้ทำงานบนระบบคลาวด์โดยใช้ข้อมูลเวลายอดนิยม (popular time) จาก Google Maps ซึ่งแสดงให้เห็นสถานที่ที่มักจะมีผู้คนพลุกพล่านในช่วงเวลาหนึ่ง ร่วมกับข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อ COVID-19 รายงานตัวเลขการฉีดวัคซีน และแบบสำรวจของผู้คนที่ยินดีใส่หน้ากากอนามัย โดยทั้งหมดจัดเรียงตามรหัสไปรษณีย์

"พารามิเตอร์ทั้งหมดเหล่านี้ถูกป้อนลงในอัลกอริธึมที่ชั่งน้ำหนักข้อมูลเพื่อกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ร้านค้าต่าง ๆ ใกล้ผู้ใช้ ยิ่งคนฉีดวัคซีนมาก ยิ่งเสี่ยงน้อยลง" Cheng กล่าว นอกจากนี้เขายังบอกว่า เขาได้พัฒนาแอปนี้ ซึ่งในตอนนี้กำลังทดสอบอยู่ในเมืองฮุสตันและซีแอตเทิล เพื่อให้ข้อมูลแจ้งเตือนที่เป็นปัจจุบันแก่แต่ละคนในเวลานั้นเลย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum