วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565

จำลองการแพร่ของโควิด-19 ในห้องเรียน

classsroom
Photo by Ivan Aleksic on Unsplash

นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการ Argonne National Laboratory ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DOE) ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Summit ที่ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ของ DOE เพื่อจำลองการแพร่กระจายของอนุภาคไวรัสละอองลอยในห้องเรียนห้องหนึ่งของโรงเรียนระดับประถมศึกษา

ทีมงานใช้การจำลองกระแสน้ำวนขนาดใหญ่เพื่อสร้างตัวแบบการเคลื่อนที่ของก๊าซและของเหลวที่ไม่เสถียรด้วยการกระจายอนุภาคละอองลอยซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0.1 ถึง 5 ไมครอนในห้องเรียนขนาด 14×12×3 ตารางเมตร 

นักวิจัยพบว่าเส้นทางการระบายอากาศในห้องเรียนแบบดั้งเดิมที่มีช่องลมออกของเครื่องทำความร้อน พัดลมระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ อยู่ตรงข้ามกับประตูห้องเรียน จะสร้างโซนตาย (dead zone) ที่อนุภาคที่ปล่อยออกมาระหว่างการหายใจปกติและการพูดมักจะยังคงอยู่ นักวิจัยระบุว่าการวางตำแหน่งช่องทางเข้าของของเครื่องทำความร้อน พัดลมระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ และประตูบนผนังฝั่งเดียวกันช่วยลดโซนตายเหล่านี้ได้อย่างมาก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Oak Ridge National Laboratory

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565

ไต้หวันใช้เทคโนโลยีธรรมดาในการต่อสู้โควิด-19 ได้อย่างไร

Taiwanese
ภาพจาก BBC News

ไต้หวันสามารถควบคุมโรคโควิด-19 ได้ผ่านระบบการติดตามที่ใช้เทคโนโลยีระดับธรรมดาซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มนักออกแบบ นักเขียนโค้ด และนักเคลื่อนไหวที่ชื่อว่า g0v เมื่อ COVID เกิดขึ้นครั้งแรกในไต้หวัน g0v ได้เริ่มระดมมวลชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การติดตามผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยและการปันส่วนหน้ากากอนามัย ในที่สุดก็คิดค้นโครงการไฮบริด ระบบใช้ QR code และรหัส 15 หลักที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถส่งผ่าน SMS โดยไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนไปยังสายด่วน 1922 ที่ Central Epidemic Command Center ของไต้หวัน

ธุรกิจต่างๆ โพสต์รหัส QR ที่ลูกค้าต้องสแกนทุกครั้งที่เข้ามา ส่งข้อความไปที่สายด่วน 1922 หรือกรอกแบบฟอร์มด้วยปากกาและกระดาษในกรณีที่เกิดการระบาดในชุมชน QR code ได้ช่วยหน่วยงานด้านสุขภาพในท้องถิ่นตรวจสอบการเคลื่อนไหวของบุคคลเมื่อตรวจพบผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก ในขณะที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือของไต้หวันก็ถูกใช้เพื่อค้นหาและติดต่อกับบุคคลที่อาจติดเชื้อ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565

นักวิชาการชาวบราซิลสร้างแพลตฟอร์มตรวจจับข่าวปลอมอัตโนมัติ

Fake-news
ภาพจาก Photo by Markus Winkler on Unsplash

ทีมนักวิจัยจาก University of São Paulo (USP) ของบราซิล ได้พัฒนาแพลตฟอร์มเว็บที่สามารถตรวจจับข่าวปลอมออนไลน์ได้โดยอัตโนมัติ แพลตฟอร์มนี้วิเคราะห์เชิงสถิติของลักษณะการเขียนเนื้อหาด้วยภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล ซึ่งส่งเข้ากับตัวแยกประเภทตามการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่งสามารถแยกแยะรูปแบบภาษา คำศัพท์ และความหมายของข่าวปลอมและข่าวจริงได้

ตัวแยกประเภทสามารถอนุมานได้โดยอัตโนมัติว่าเนื้อหาที่ส่งมานั้นเป็นเท็จหรือไม่ การทดสอบเบื้องต้นระบุว่าระบบสามารถตรวจจับข่าวปลอมได้อย่างแม่นยำถึง 96% Francisco Louzada Neto แห่ง USP กล่าวว่าโครงการนี้มีจุดมุ่งหมาย "เพื่อให้สังคมมีเครื่องมือเพิ่มเติมในการระบุ ไม่ใช่เป็นเพียงคิดไปตามความเชื่อของตัวเอง ไม่ว่าข่าวนั้นจะเป็นเท็จหรือไม่ก็ตาม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565

คำบรรยายของ YoutTube แสดงภาษาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก

youtube-caption-kids
ภาพจาก  Wired

จากการศึกษาวิดีโอมากกว่า 7,000 รายการในช่องเด็กอันดับสูงสุด 24 ช่องที่มีคำบรรยายใต้ภาพโดยใช้อัลกอริธึมของ YouTube พบว่า 40% แสดงคำจากรายการคำศัพท์ "ต้องห้าม" 1,300 คำ โดยประมาณ 1% แสดงคำที่ "ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง" 

ตัวอย่างเช่นคำว่า "porn (โป๊เปลือย)" ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "corn (ข้าวโพด)"  คำว่า "crap (ขี้)" ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "crab (ปู)"  จากการระบุของนักวิจัยจาก  Rochester Institute of Technology (RIT) และ Indian School of Business

ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะ YouTube หรือคำบรรยายวิดีโอ Ashique KhudaBukhsh แห่ง RIT กล่าวว่าระบบการแปลงเสียงพูดเป็นข้อความมีข้อผิดพลาด "ที่ต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุล" KhudaBukhsh กล่าวว่าเขาสงสัยว่าการแทรกคำหยาบคายของ YouTube เป็นผลมาจากข้อมูลการฝึกอบรมที่มีคำพูดจากผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired


วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565

หัวใจที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติช่วยชีวิตเด็กทารกที่มีอาการที่หายาก

baby-ed-printed-heart
ภาพจาก University Hospital Southampton (U.K.)

ศัลยแพทย์ในสหราชอาณาจักรช่วยชีวิตเด็กทารกที่เป็นโรคหัวใจหายากโดยใช้ตัวแบบหัวใจของเธอที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ทีมงานที่ University Hospital Southampton (UHS) ได้ใช้ตัวแบบหัวใจของ Pippa Fulton ที่ได้ขากการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รวมเอาข้อบกพร่องของหัวใจหลายจุดของเธอ และให้ศัลยแพทย์ซ้อมขั้นตอนการผ่าตัดก่อนทำการผ่าตัดจริง

Nicola Viola ศัลยแพทย์หัวใจของ UHS กล่าวว่า "ในการผ่าตัดใหญ่ใด ๆ มีความเสี่ยงที่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอยู่เสมอ และการสร้างตัวแบบ 3 มิติของหัวใจทำให้เรามีโอกาสเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนได้ดีขึ้น" การผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จนี้ทำให้ทารกสามารถกลับบ้านได้หลังจากใช้ชีวิตหกเดือนแรกในโรงพยาบาล

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University Hospital Southampton (U.K.)