วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

ปืนอัจฉริยะมาถึงอเมริกาแล้ว

smart-gun
ภาพจาก Reuters

ปืนอัจฉริยะเริ่มวางจำหน่ายสำหรับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยผู้ผลิตปืนอัจฉริยะ LodeStar Works ได้เปิดตัวปืนพกอัจฉริยะขนาด 9 มม. 

ปืนอัจฉริยะสามารถป้องกันการยิงโดยไม่ได้ตั้งใจ ลดการฆ่าตัวตาย และทำให้ปืนที่สูญหายหรือถูกขโมยไปไร้ค่า เนื่องจากพวกเขาใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้และจะปิดการใช้งานปืนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตพยายามยิงปืน 

ต้นแบบในยุคแรกใช้การปลดล็อกด้วยลายนิ้วมือ หรือ RFID โดยจะอนุญาตให้ยิงได้ก็ต่อเมื่อชิปในปืนโต้ตอบกับชิปที่ผู้ใช้สวมใส่ 

รุ่นล่าสุดของ LodeStar ประกอบด้วยเครื่องอ่านลายนิ้วมือ ชิป NFC ที่เปิดใช้งานผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์ มือถือ และแป้นป้อนหมายเลขประจำตัวส่วนบุคคล (personal identification number pad)

อาวุธปืนอัจฉริยะจาก SmartGunz ใช้ RFID ในการควบคุมความปลอดภัย ในขณะที่ Biofire ในโคโลราโดกำลังพัฒนาปืนอัจฉริยะที่มีเครื่องอ่านลายนิ้วมือ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters


วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

Biden วางแผนที่จะรักษานักศึกษาต่างชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

president-biden
ประธานาธิบดี Biden ภาพจาก Reuters

ประธานาธิบดี Biden เปิดเผยแผนการรักษานักศึกษาต่างชาติด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า STEM โดยอนุญาตให้พวกเขาฝึกงานอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาสามปี ภายใต้วีซ่าแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  

โปรแกรมนี้จะขยายไปยังนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติง (cloud computing) และดาต้าวิชวลไลเซชัน (data visualization) โดยโปรแกรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแข่งขันกับจีน

เจ้าหน้าที่บริหารกล่าวว่ากล่าวว่าจีนนำหน้าสหรัฐอเมริกาในการผลิตผู้มีความสามารถพิเศษ ในระดับปริญญาตรีและปริญญาเอกด้าน STEM เพื่อที่จะแซงขึ้นเป็นผู้นำนวตกรรมด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีของโลก

Biden ได้กล่าวว่าเขาถือว่าการแข่งขันจากจีนเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงแห่งชาติที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ และความคิดริเริ่มที่ได้กล่าวมานี้จะทำให้คนต่างชาติที่มีความสามารถ มีสิทธิ์ได้รับวีซ่าพิเศษที่สงวนไว้สำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษเท่านั้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters


  

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

คอมพิวเตอร์ควอนตัมยังมีขนาดเล็กเกินไปเป็นล้าน ๆ เท่า ถ้าจะใช้แฮกบิตคอยน์

ิbitcoin
ภาพจาก NewScientist

Mark Webber จาก University of Sussex สหราชอาณาจักร และทีมงานได้ช่วยกันสำรวจว่าต้องใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เท่าใดจึงจะเจาะเครือข่ายบิตคอยน์ได้ โดยพิจารณาในแง่ของจำนวนบิตควอนตัม (quantum bit) หรือ qbit ที่ให้ผลเท่ากับจำนวนบิตปกติ 

โดย Webber และทีมคำนวณว่าในการเจาะบิตคอยน์ให้ได้ช่วงเวลา 10 นาที จะต้องใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนบิตควอนตัม 1.9 ล้าน ๆ quit ถ้าต้องการเจาะให้ได้ในหนึ่งชั่วโมงต้องใช้ 317 ล้าน qbit และถ้าจะเจาะให้ได้ภายในหนึ่งวันก็ยังต้องใช้ถึง 13 ล้าน qbit 

ซึ่งควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบันของ IBM ที่เพิ่งทำสถิติใหม่มีบิตควอนตัมบิตแค่ 127 qbit เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่าเราต้องการเครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่าในปัจจุบันเป็นล้านเท่า เพื่อที่จะมีผลกับเงินคริปโต ซึ่ง Webber มองว่าอาจต้องใช้เวลาอีก 10 ปี 

แม้ว่าบิตคอยน์ดูเหมือนจะมีความมั่นคงไปอีกสักพัก แต่เราควรกังวลเกี่ยวกับข้อมูลอื่น ๆ ที่เข้ารหัสไว้ เช่นอีเมลที่เข้ารหัสไว้วันนี้ อาจถูกเก็บไว้และนำมาถอดรหัสในช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมพร้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียกว่า "เก็บเกี่ยวตอนนี้ แล้วถอดรหัสภายหลัง (harvest now, decrypt later)" ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงหลายคนคิดว่ามันกำลังเกิดขึ้นแล้ว

ซึ่ง Webber บอกว่าสิ่งนี้ "เป็นสิ่งที่ต้องกังวลเป็นอย่างมาก และเราต้องรีบเปลี่ยนเทคนิคการเข้ารหัสของเรา เพราะในอนาคตมันจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NewScientist



 

       

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565

การกลับสู่ดวงจันทร์ในรอบหลายทศวรรษ

Lunar-Rover
ภาพจาก UPI

NASA กับการกลับมาสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1972 อาจเกิดขึ้นได้ในปีนี้ ด้วยการเปิดตัวหุ่นยนต์ลงจอดและโรเวอร์จากผู้รับเหมาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การนาซ่าสองราย ได้แก่ Astrobotic และ Intuitive Machines 

Astrobotic ติดโรเวอร์ขนาดเท่ากล่องใส่รองเท้าที่ชื่อว่าไอริสเข้ากับยานลงจอด Peregrine ซึ่งสามารถส่งไปยังดวงจันทร์ได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โรเวอร์ไอริสสร้างขึ้นโดยนักศึกษาจาก Carnegie Mellon University 

เครื่องบินลงจอดบนดวงจันทร์ Nova-C ของ Intuitive จะบรรทุกโรเวอร์ขนาดเล็กของ Spacebit Technologies ในลอนดอน 

ภารกิจ IM-1 ของ Intuitive และ Peregrine Mission 1 ของ Astrobotic มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานที่ลงจอดและทรัพยากรสำหรับภารกิจ Artemis ที่ NASA ได้วางแผนไว้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UPI



วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

นักวิจัยพัฒนาจอ OLED แบบยืดหยุ่นได้โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก

flexible-oled
ภาพจาก University of Minnesota College of Science & Engineering

นักวิจัยจาก University of Minnesota Twin Cities (U of M) พัฒนาจอ OLED แบบยืดหยุ่นได้โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งอาจนำไปสู่การผลิตจอแสดงผล OLED ราคาประหยัดที่ผลิตขึ้นเองที่บ้าน 

จอแสดงผลต้นแบบมีขนาดประมาณ 1.5 นิ้วในแต่ละด้านและมี 64 พิกเซล โดยแต่ละพิกเซลมีการทำงานและเปล่งแสง 

Ruitao Su อดีตนักวิจัยของ U of M กล่าวว่าจอแสดงผลที่ยืดหยุ่นได้ "แสดงการแผ่รังสีที่ค่อนข้างคงที่ในช่วงการดัดงอ  (bending cycle) 2,000 รอบ ซึ่งบ่งชี้ว่า OLED ที่พิมพ์แบบ 3 มิติเต็มรูปแบบสามารถนำมาใช้สำหรับการใช้งานที่สำคัญในซอฟต์อิเล็กทรอนิกส์ (soft electronics) และอุปกรณ์สวมใส่ได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Minnesota College of Science & Engineering