วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565

เปลี่ยนหน้ากากอนามัยให้เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพอัจฉริยะ

FaceBit
ภาพจาก Northwestern University Newscenter

นักวิจัยจาก Northwestern University ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ที่พวกเขาบอกว่าสามารถเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทั่ว ๆ ไปให้กลายเป็นอุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพอัจฉริยะ เซ็นเซอร์ FaceBit มีน้ำหนักเบา ขนาดเท่ากับเหรียญควอเตอร์ และยึดติดกับหน้ากาก N95, หน้ากากผ่าตัด หรือหน้ากากผ้าด้วยแม่เหล็กขนาดเล็ก 

FaceBit สามารถวัดอัตราการหายใจแบบเรียลไทม์ อัตราการเต้นของหัวใจ ระยะเวลาที่สวมหน้ากากตลอดจนความพอดีของหน้ากาก ข้อมูลจะถูกถ่ายโอนแบบไร้สายไปยังแอปสมาร์ตโฟน ซึ่งสามารถเตือนผู้ใช้ถึงปัญหาต่างๆ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น หรือหน้ากากรั่ว 

เซ็นเซอร์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และสามารถใช้ได้หนึ่งหรือสองสัปดาห์ระหว่างการชาร์จแต่ละครั้ง เนื่องจากมันสามารถรวบรวมพลังงานจากลมหายใจและการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ และจากดวงอาทิตย์ด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern University Newscenter

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565

แฮกเกอร์ทำได้ดีขึ้นในการเอาชนะความมั่นคงแบบ 2FA

computer-security
Photo by FLY:D on Unsplash

ทีมนักวิจัยจาก Stony Brook University และบริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ Palo Alto Networks ได้ค้นพบชุดเครื่องมือฟิชชิ่งที่แตกต่างกันอย่างน้อย 1,200 ชุด ถูกใช้เพื่อป้องกันการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย (two-factor authentication) หรือ 2FA 

นักวิจัยพบว่าโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อวางเหยื่อล่อ และขโมยข้อมูลการล็อกอิน 2FA จากผู้ใช้เว็บไซต์หลัก ชุดเครื่องมือเหล่านี้ขโมยคุกกี้ (cookie) การตรวจสอบสิทธิ์ 2FA ไม่ว่าจะโดยผ่านทางมัลแวร์ที่ติดคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ หรือโดยการขโมยระหว่างทางพร้อมกับรหัสผ่านของเหยื่อโดยใช้การโจมตีแบบคนกลาง (man-in-the-middle attack)  แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้ตราบเท่าที่คุกกี้ยังคงอยู่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Gizmodo

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565

นักพัฒนาขาดแคลน นี่คือทักษะและภาษาเขียนโปรแกรมที่เป็นที่ต้องการ


tech-workers
ภาพจาก ZDNet

ผู้จัดการการจ้างงานคาดหวังว่าการหานักพัฒนาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นความท้าทายในการสรรหาบุคลากรที่ใหญ่ที่สุดในปี 2022 ตามข้อมูลจากผู้สรรหานักพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี 14,000 รายที่สำรวจโดยแพลตฟอร์มการเขียนโปรแกรม CodinGame และผู้อำนวยความสะดวก (facillitator) ในการสัมภาษณ์ทางเทคนิค CoderPad

การสำรวจพบว่า 35% ของนายจ้างที่ทำแบบสำรวจหวังที่จะรับสมัครนักพัฒนามากกว่า 50 รายในปีนี้ ในขณะที่ 15% ตั้งเป้าที่จะจ้างพนักงานมากกว่า 200 ราย การจับคู่ผู้สมัครกับความต้องการเฉพาะด้านธุรกิจเป็นเรื่องยาก โดยการพัฒนาเว็บ, DevOps และปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง เป็นทักษะที่ต้องการเป็นอย่างมากในบรรดาทักษะทั้งหมด  

ผลการสำรวจระบุว่าการตอบสนองความต้องการในการหาวิศวกรแบบฟูลสแตก (full-stack) และแบ็คเอนด์ (backend) อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก โพลยังชี้ว่านายจ้างหันมาใช้ฟรีแลนซ์และผู้รับเหมา (contractor) มากขึ้น โดย 42% ของผู้จัดหางานที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าต้องมีการพึ่งพาพวกเขา (ฟรีแลนซ์และผู้รับเหมา) มากขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่

โดยถ้าเป็นในแง่ภาษาเขียนโปรแกรม ภาษา JavaScript, Java และ Python ยังจัดเป็นสามอันดับแรก แต่ก็เริ่มพบว่าภาษาเฉพาะทางอย่าง Clojure และ Scala ก็เริ่มมีความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ภาษา Go และ Swift ก็มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดย Go ใช้ใน DevOps และ Swift ใช้กับการพัฒนาแอปบน IOS ของ Apple 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565

ต้นแบบ AI ช่วยลดความซับซ้อนของการผ่าตัด

dr-amin-madani
Amin Madani ภาพจาก  CBC (Canada)

นักวิจัยจาก University Health Network (UHN) ของแคนาดา และ Case Western Reserve University ในคลีฟแลนด์ได้พัฒนาระบบต้นแบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อเป็นแนวทางให้กับศัลยแพทย์ในแบบเรียลไทม์ในระหว่างการผ่าตัดถุงน้ำดี 

เทคโนโลยีฉายภาพไปยังจอภาพโดยแสดงสีซึ่งระบุพื้นที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยเพื่อผ่าตัด การฉายภาพในแบบแผนที่ความร้อนเปลี่ยนสีตามความมั่นใจของตัวแบบในการระบุตำแหน่งของพื้นที่ปลอดภัย นักวิจัยได้สอนอัลกอริทึมของพวกเขาด้วยวิดีโอการผ่าตัดที่รวมคำอธิบายประกอบจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์วิดีโอแบบเฟรมต่อเฟรมช่วยให้อัลกอริธึมสามารถจดจำรูปแบบและมีสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ 

Amin Madani แห่ง UHN กล่าวว่า "มันเหมือนกับว่าผมมีคณะผู้เชี่ยวชาญยืนอยู่ มองดูข้ามไหล่ของผม ให้คำแนะผม นำทางผม และช่วยให้ผมไม่ประสบปัญหาระหว่างการผ่าตัด"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CBC (Canada)

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565

รถแข่งไร้คนขับเข้าสู่ประวัติศาสตร์ที่งาน CES

self-driving-racecar
ภาพจาก Yahoo! News

รถแข่งไร้คนขับแล่นไปรอบๆ สนามรูปไข่ที่งาน Consumer Electronics Show ที่ลาสเวกัส ปีนี้ โดยทีมนักศึกษาจากทั่วโลกแข่งขันกันในการแข่งขันด้านความเร็ว Indy Autonomous Challenge 

"Minerva" รถแข่ง Formula 1 ที่คว้าชัยจากทีม PoliMOVE สัญชาติอิตาลี-อเมริกัน วิ่งด้วยความเร็วเกือบ 115 ไมล์ต่อชั่วโมง (185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 

Markus Lienkamp ร่วมกับ Technische Universität München แห่งเยอรมนี กล่าวว่า ทีมงานได้ตั้งโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ขับรถแข่งแต่ละคันโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเซ็นเซอร์ เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมของยานพาหนะอื่น ๆ และหลบหลีก 

Lienkamp กล่าวว่าแต่ละการแข่งขัน “ดำเนินไปในไม่กี่วินาที” เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ขับยานพาหนะแต่ละคัน “ต้องตัดสินใจเช่นเดียวกับคนขับที่เป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีความเร็วเท่าไร” เขากล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Yahoo! News