วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สร้างระบบค้นข้อมูลที่จะจำกัดข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับ COVID-19

covid19-news-on-phone
ภาพจาก University of Waterloo News (Canada)

ระบบที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ University of Waterloo ของแคนาดา ประสบความสำเร็จในการเพิ่มความแม่นยำและความน่าเชื่อถือขึ้น 80% ในการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และหัวข้อด้านสุขภาพอื่น ๆ  Ronak Pradeep จาก Waterloo กล่าวว่า "ระบบค้นหาส่วนใหญ่ได้รับการฝึกบนข้อมูลที่ได้รับการดูแลมาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพวกมันจึงไม่รู้วิธีแยกความแตกต่างระหว่างบทความที่ส่งเสริมการดื่มสารฟอกขาวเพื่อป้องกัน COVID-19 ซึ่งตรงข้ามกับข้อมูลด้านสุขภาพที่แท้จริง เป้าหมายของเราคือการช่วยให้ผู้คนเห็นบทความที่ถูกต้อง และรับข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น COVID"  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Waterloo News (Canada)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

จำนวนจินตภาพช่วยป้องกัน AI จากภัยคุกคามที่ร้ายแรง

wavy-data-plot
ภาพจาก Duke University Pratt School of Engineering

วิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ Duke University ได้แสดงให้เห็นว่าตัวเลขที่มีทั้งส่วนจำนวนจริง และจำนวนจินตภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความมั่นคงให้กับอัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI จากภัยคุกคาม ในขณะที่ยังคงรักษาประสิทธิภาพไว้ได้  การรวมชั้นค่าจำนวนเชิงซ้อนเพียงสองชั้น จากการฝึกในหลักร้อยครั้งก็สามาถให้การป้องกันที่เพียงพอได้ ตัวอย่างเช่น การใช้จำนวนเชิงซ้อนที่มีจำนวนจินตภาพสามารถปลูกฝังความยืดหยุ่นเพิ่มเติม เพื่อใช้ปรับพารามิเตอร์ภายในของโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกฝนบนชุดข้อมูลภาพได้ Eric Yeats แห่ง Duke กล่าวว่า "โครงข่ายประสาทเทียมที่มีค่าจำนวนเชิงซ้อนมีศักยภาพในการสำรวจภูมิประเทศที่ 'ลดหลั่นกันเป็นขั้นบันได' หรือ 'ที่ราบสูง' ได้มากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงระดับความสูง ทำให้โครงข่ายประสาทเทียมสัมผัสได้ถึงความซับซ้อนที่มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าจะสามารถระบุวัตถุได้ด้วยความแม่นยำมากขึ้นด้วย"  วิธีนี้ช่วยให้เครือข่ายประสาทเทียมที่ใช้ปรับความลาดเอียงโดยใช้จำนวนเชิงซ้อน สามารถแก้ปัญหาได้เร็วพอ ๆ กับระบบที่ไม่มีการรักษาความมั่นคงเป็นพิเศษ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Duke University Pratt School of Engineering

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

AI ใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์โรคหัวใจในขณะที่อธิบายคำวินิจฉัย

health-monitor
Photo by Jair Lázaro on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์จาก University of California, San Francisco และ University of California, Berkeley ได้ออกแบบอัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจและให้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจในขณะที่อธิบายเหตุผลประกอบด้วย นักวิจัยได้ฝึกอบรมโครงข่ายประสาทเทียมเกี่ยวกับข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ที่เข้าถึงได้ทั่วไป นักวิจัยกล่าวว่าอัลกอริธึมทำงานได้อย่างเข้มแข็งในการวินิจฉัยที่แตกต่างกัน 38 รายการใน 5 หมวดการวินิจฉัยกว้าง ๆ เนื่องจากนักวิจัยได้รวม "การอธิบาย" ไว้ในอัลกอริธึม มันจึงเน้นส่วนที่สำคัญของ ECG สำหรับการวินิจฉัยแต่ละครั้ง ซึ่งอาจเพิ่มความมั่นใจของแพทย์ในการใช้งาน นักวิจัยกล่าวว่าผลลัพธ์ของพวกเขา “ให้การสนับสนุนที่แข็งแรงต่ออัลกอริธึม AI เช่น โครงข่ายประสาทเทียม ในการรวมเข้ากับอัลกอริธึม ECG เชิงพาณิชย์ที่มีอยู่ เนื่องจากพวกมันทำงานได้ดีกว่าสำหรับการวินิจฉัยในหลาย ๆ กรณี สามารถปรับปรุงได้ตลอดเวลา และให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมผ่านความสามารถในการอธิบาย”

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  University of California, San Francisco News

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

จีนมุ่งไปที่อัลกอรึทึมในการพยายามที่จะควบคุมเทคโนโลยี

computer-code
ภาพจาก Reuters

The Cyberspace Administration of China ได้ออกร่างกฏเกณฑ์เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทพัฒนาตัวแบบอัลกอริธึมที่กระตุ้นให้ผู้ใช้ใช้จ่ายเงินจำนวนมาก หรือใช้เงินในลักษณะที่อาจขัดขวางความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณะ  กฎฉบับร่างจะช่วยให้ทางการจีนตรวจสอบอัลกอริธึม และขอให้แก้ไขหากเห็นว่าจำเป็น กฎดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดบางแห่งในประเทศจีน รวมถึงกลุ่มอาลีบาบา (Alibaba) Kendra Schaefer จาก Trivium China กล่าวว่า "นโยบายนี้นับเป็นช่วงเวลาที่กฎระเบียบด้านเทคโนโลยีของจีนไม่ได้เป็นเพียงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านข้อมูลในสหภาพยุโรปเท่านั้น แต่ยังไปไกลกว่านั้น" 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564

การทดสอบจริงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการช่วยชีวิตของโดรนเครื่องกระตุ้นหัวใจ

drone
ภาพจาก New Atlas

ทีมนักวิจัยชาวสวีเดนได้ติดตั้งโดรนทางอากาศที่ติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (automated external defibrillator) หรือ AED ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจวายเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Karolinska Institutet (KI) ของสวีเดนเคยทำการจำลองเพื่อพิสูจน์ว่าโดรนสามารถส่งเครื่องกระตุ้นหัวใจได้เร็วกว่ารถพยาบาลถึงสี่เท่า ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า โดรนขนส่งอุปกรณ์ช่วยชีวิตไปยังจุดที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในช่วงสี่เดือนของปีที่แล้ว โดรนถูกนำไปใช้ใน 12 จาก 53 ครั้งที่มีการแจ้งเตือนภาวะหัวใจหยุดเต้นที่น่าสงสัย โดยมีการบันทึกการมาถึงของ AED ที่สำเร็จ 11 ครั้ง โดรนเดินทางโดยเฉลี่ย 3.1 กิโลเมตร (2 ไมล์) และมาถึงก่อนรถพยาบาลเจ็ดครั้ง แม้ว่าจะไม่มีใครใช้มันก่อนที่รถพยาบาลมาถึงก็ตาม Sofia Schierbeck จาก KI กล่าวว่า "การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ที่จะใช้โดรนขนส่งเครื่องกระตุ้นหัวใจได้อย่างปลอดภัยและถึงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในสถานการณ์ฉุกเฉินในชีวิตจริง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Atlas