วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ตัวแบบคอมพิวเตอร์ทางอารายธรรมเสนอทางเลือกเพื่อจบภาวะโลกร้อน

solar-power-checking
เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเช็คแผงโซลาร์ที่ติดตั้งในฟารม์เลี้ยงปลาในจีน ภาพจาก NPR

นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศบางคนเชื่อว่า การจำลองสภาพเศรษฐกิจโลกด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างแนวทางในการป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกร้อนได้  มีแบบจำลองการประเมินแบบบูรณาการหลัก 6 แบบ โดย 4 แบบอยู่ในยุโรป 1 แบบอยู่ในญี่ปุ่น และ 1 แบบอยู่ในสหรัฐฯ Detlef van Vuuren จากหน่วยงานประเมินสิ่งแวดล้อมของเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า พวกมันกำลังถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในเวลาประมาณ 40 ปี ตัวแบบแต่ละตัวจะรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน เช่น รถยนต์ โรงไฟฟ้า และเตาเผาในบ้าน ตลอดจนข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ราคา และต้นทุนของเทคโนโลยีใหม่ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดขีดจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตัวแบบจะกำหนดกลยุทธ์ที่คุ้มค่าใช้จ่ายที่สุดสำหรับทำให้บรรลุถึงข้อจำกัดเหล่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่ามีความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NPR

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เด็กหญิงทั้งสิบในทีมหุ่นยนต์ของอัฟกานิสถานได้รับการช่วยเหลือแล้ว

Afghanistans-girls-robotic-team
ภาพจาก NBC News

สมาชิก 10 คนของทีมหุ่นยนต์เด็กผู้หญิงของอัฟกานิสถาน ได้รับการอพยพอย่างปลอดภัยจากบ้านเกิดของพวกเธอจากการยึดครองของตาลีบาน องค์กรแม่ของทีมคือ Digital Citizen Fund (DCF) ระบุว่าเด็กหญิงทั้งหมดที่มีอายุระหว่าง 16-18 ปี เดินทางถึงกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ จากเมืองคาบูล เรียบร้อยแล้ว Elizabeth Schaeffer Brown แห่ง DCF กล่าวว่า "จริง ๆ แล้ว  สาว ๆ 'ช่วยเหลือตัวเอง' ถ้าพวกเธอไม่ทำงานหนักและกล้าหาญที่จะเรียนต่อ ซึ่งทำให้พวกเธอได้เชื่อมต่อกับโลกใบนี้ พวกเธอก็อาจจะยังถูกขังอยู่ในระบบ" สมาชิกในทีมหลายคนยังคงอยู่ในอัฟกานิสถาน และ DCF ได้ร่วมมือกับกาตาร์เพื่อจัดเตรียมการอพยพสำหรับพวกเธอและผู้ช่วยของพวกเธอ Brown กล่าวว่า "เราขอขอบคุณ [ความพยายามในการช่วยเหลือ] และหวังว่ามันจะเปลี่ยนไปเป็นพันธะกรณีในระยะยาวสำหรับการศึกษาของเด็กผู้หญิง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NBC News


วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยจาก Stanford ใช้ AI เพื่อปลดล็อกความลึกลับของสภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้ว

extreme-weather
ภาพจาก Stanford University

เครื่องมือการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่พัฒนาโดยนักวิจัยของ Stanford University มีเป้าหมายเพื่อทำนายเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วได้แม่นยำยิ่งขึ้น นักวิจัยได้ฝึกอบรมอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อตรวจจับแบบรูปการหมุนเวียนของบรรยากาศขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับปริมาณน้ำฝนจำนวนมหาศาล ซึ่งกำหนดไว้เหนือเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 โดยเน้นที่ตอนบนของมิสซิสซิปปี้ และแหล่งต้นน้ำของรัฐมิสซูรีตะวันออก อัลกอริธึมพบปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดฝนที่รุนแรงขึ้นในภูมิภาค และระบุวันที่ฝนตกมากได้อย่างแม่นยำมากกว่า 90% เหนือสิ่งอื่นใดนักวิจัยระบุว่าความเข้มข้นของฝนที่สูงขึ้นในวันเหล่านั้นเชื่อมโยงกับกระแสความชื้นในบรรยากาศที่พัดมาจากอ่าวเม็กซิโก ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักในแถบมิดเวสต์ Frances Davenport แห่งสแตนฟอร์ดกล่าวว่า "ในขณะที่เรามุ่งเน้นไปที่มิดเวสต์ในขั้นต้น แต่แนวทางของเราสามารถนำไปใช้กับภูมิภาคอื่น ๆ และใช้เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในสภาพการที่รุนแรงในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาคมเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Stanford University

เพิ่มเติมเสริมข่าว: เอาข่าวนี้มาเล่าให้ฟังเพราะอยากให้มีการทำวิจัยแบบนี้ในประเทศเราบ้างครับ


วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นักศึกษาพิสูจน์ว่าอัลกอริธึมของทวิตเตอร์ลำเอียงต่อใบหน้าที่ขาวกว่า เพรียวบางกว่า และอ่อนเยาว์กว่า

sample-faces
ภาพจาก The Guardian

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ Swiss Federal Institute of Technology Lausanne (EFPL) คือ Bogdan Kulynych ได้รับ $3,500 ในฐานะผู้ชนะของ "รางวัลล่าบั๊กในอัลกอริธึม" ครั้งแรกของทวิตเตอร์ (Twitter) Kulynych ระบุว่าอัลกอริธึมการครอบตัดรูปภาพของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ชอบใบหน้าที่ขาวกว่า อ่อนเยาว์กว่า และเพรียวบางกว่า เพื่อพิสูจน์ว่ามีความลพเอียงนี้ Kulynych ได้สร้างใบหน้าขึ้นซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยในแง่ของโทนสีผิว ความกว้าง และเพศหรืออายุ และนำไปผ่านอัลกอริธึมการครอบตัดรูปภาพ Kulynych พบว่าซอฟต์แวร์เน้นไปที่ใบหน้าที่อ่อนกว่า เพรียวบาง และขาวกว่า มากกว่าใบหน้าที่แสดงวัยที่สูงกว่า กว้างกว่า หรือใบหน้าที่สีเข้มกว่า Rumman Chowdhury จาก Twitter กล่าวว่า "เราสร้างตัวกรองเหล่านี้เพราะเราคิดว่านั่นคือสิ่งที่ 'ความสวย' เป็น และนั่นก็จบลงด้วยการฝึกโมเดลของเรา และผลักดันแนวคิดที่ไม่สมจริงเหล่านี้ว่าอะไรที่ดึงดูดใจ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Guardian

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

สวีเดนกลายมาเป็นซิลิคอนวัลเลย์ของยุโรปได้อย่างไร

Sebastian-Siemiatkowski
Sebastian Siemiatkowski ภาพจาก Reuters

Sebastian Siemiatkowski แห่ง Klarna มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทฟินเทคของสวีเดน กล่าวถึงความสำเร็จของเขาที่มีต่อรัฐสวัสดิการของสวีเดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลในปี 1998-2001 ที่จะมอบคอมพิวเตอร์ให้กับทุกครัวเรือน ในช่วงเวลานั้น โครงการดังกล่าวได้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านจำนวน 850,000 เครื่อง แจกจ่ายให้กับเกือบ 25% ของครัวเรือน 4 ล้านครัวเรือนในสวีเดนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่ออายุ 16 ปี Siemiatkowski เริ่มเขียนโค้ดบนคอมพิวเตอร์ที่ครอบครัวของเขาได้รับมา และมากกว่าสองทศวรรษต่อมา บริษัทรับชำระเงินมูลค่า 46 พันล้านดอลลาร์ของเขากำลังเตรียมที่ออกสู่สาธารณะ ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีและผู้ร่วมทุนบางคนกล่าวว่านโยบายคอมพิวเตอร์ การลงทุนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในช่วงแรกของประเทศ และเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ซึ่งรวมถึงกองทุนดูแลเด็กฟรีและการประกันรายได้ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรม องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพบว่าสวีเดนมีอัตราสตาร์ตอัพ (startup) สูงเป็นอันดับสาม ซึ่งจัดอันดับโดยใช้สตาร์ตอัพต่อพนักงาน 1,000 คน Sarah Guemouri แห่ง Atomico ตั้งข้อสังเกตว่าสตอกโฮล์มอยู่ในอันดับที่สองรองจาก ซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) สำหรับยูนิคอร์น (สตาร์ตอัพที่มีมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters