วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ระบบ AR ปรับปรุงการเห็น เสียง สัมผัส

input-to-AR
ภาพจาก IEEE Spectrum

นักวิจัยจาก University of California, Santa Barbara ได้พัฒนาระบบความเป็นจริงเสริม (augmented reality) หรือ AR ที่สามารถแปลการสั่นสะเทือนที่เกิดจากนิ้วมือที่สัมผัสพื้นผิวเป็นเสียงที่ตั้งโปรแกรมไว้ ระบบที่เรียกว่า Tactile Echoes สามารถใช้เพื่อการเล่นเกม ความบันเทิง และการวิจัย เซ็นเซอร์ที่วางอยู่บนเล็บมือของผู้ใช้สามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นภายในนิ้วเมื่อสัมผัสพื้นผิว ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่สัมผัสหรือแรงกดที่ใช้ Anzu Kawazoe หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า "เราได้รับแรงบันดาลใจจากความคิดที่จะสามารถเพิ่มวัตถุหรือพื้นผิวธรรมดา ๆ ให้กลายเป็นสิ่งเกือบอัศจรรย์ เช่นโต๊ะไม้ธรรมดาให้มีสัมผัสที่มีชีวิตชีวาและมีเอฟเฟกต์ที่ตอบสนองต่อวิธีที่เราสัมผัสอย่างสนุกสนาน" อุปกรณ์นี้สามารถรวมเข้ากับโปรเจ็กเตอร์อัจฉริยะหรือ Virtual Reality หรือชุดหูฟัง AR เพื่อให้ผู้ใช้สัมผัสวัตถุเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมจริงและรับผลตอบสนองทางกราฟิก เสียง และสัมผัสได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เทคนิคด้านภาพอาจช่วยส่งเสริมด้านชีววิทยาและการวิจัยด้านประสาทวิทยา

scientist
ภาพจาก The Harvard Gazette

นักวิจัยจาก Harvard University และ Massachusetts Institute of Technology ได้พัฒนากระบวนการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถปรับปรุงการวิจัยทางชีววิทยาและประสาทวิทยา ระบบใหม่ที่เรียกว่า De-scattering with Excitation Patterning (DEEP) ใช้การประมวลผลภาพเพื่อสร้างภาพความละเอียดสูงได้เร็วกว่ากล้องจุลทรรศน์มัลติโฟตอนแบบสแกนจุดหรือกล้องจุลทรรศน์แบบเทมโพรัลโฟกัส  (temporal focus) ได้ 100 ถึง 1,000 เท่า DEEP ใช้แสงเลเซอร์ใกล้อินฟราเรดเพื่อเจาะลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อชีวภาพ ซึ่งจะกระจายแสงและกระตุ้นโมเลกุลเรืองแสงที่จะถ่ายภาพ ซึ่งจะส่งสัญญาณให้จับด้วยกล้องจุลทรรศน์ Dushan N. Wadduwage จาก Harvard กล่าวว่า "นี่เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักประสาทวิทยาและนักชีววิทยาด้านอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางสถิติที่ดีขึ้น รวมถึงได้เห็นว่าว่าเกิดอะไรขึ้นรอบ ๆ พื้นที่ที่กำลังถ่ายภาพ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Harvard Gazette

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Google ปล่อยโปรแกรมด้านความมั่นคงของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส: Scorecards

score-card
ภาพจาก ZDNet

Google และ Open Source Security Foundation ได้พัฒนา OpenSSF Security Scorecards ซึ่งเป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติที่สร้าง "คะแนนความเสี่ยง" สำหรับโปรแกรมโอเพนซอร์ส สิ่งนี้มีความสำคัญเนื่องจาก 95% ของโปรแกรมเชิงพาณิชย์ทั้งหมดประกอบด้วยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ตามการรายงาน Synopsys Cybersecurity Research Center และหลายองค์กรขาดระบบและกระบวนการในการประเมินการขึ้นแก่กันของโอเพนซอร์สใหม่สำหรับประเด็นด้านความปลอดภัย Scorecards v2 มีการตรวจสอบความปลอดภัยใหม่ รวมถึงการตรวจสอบ Branch-Protection ซึ่งช่วยให้แน่ใจว่าการตรวจสอบโค้ดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการฝังโค้ดที่เป็นประตูลับ โครงการ Scorecards ได้ทำการประเมินความปลอดภัยสำหรับโครงการโอเพ่นซอร์สมากกว่า 50,000 โครงการแล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ญี่ปุ่นทำลายสถิติความเร็วอินเทอร์เน็ต

fiber-optic-cable
ภาพจาก Interesting Engineering

วิศวกรชาวญี่ปุ่นได้ทำลายสถิติความเร็วอินเทอร์เน็ตของโลกด้วยอัตราการส่งข้อมูล 319 TB ต่อวินาทีโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานใยแก้วนำแสงที่มีอยู่ ด้วยระยะทางมากกว่า 3,001 กิโลเมตร (1,864.7 ไมล์) ความสำเร็จนี้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากสถิติก่อนหน้านี้ที่ 178 Tb/s นักวิจัยใช้แกน 4 แกนหรือหลอดแก้วที่อยู่ภายในเส้นใยส่งข้อมูล เพื่อส่งสัญญาณที่แบ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นหลายช่วงพร้อมกันผ่านการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น (wavelength-division multiplexing) ในขณะที่แถบที่สามที่ไม่ค่อยได้ใช้ จะขยายระยะทางของการส่งสัญญาณผ่านการขยายสัญญาณแสง (optical amplification) ไฟเบอร์ออปติกแบบ 4 คอร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับไฟเบอร์แบบแกนเดียวแบบเดิม ดังนั้นการรวมวิธีใหม่นี้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่จึงน่าจะง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการยกเครื่องเทคโนโลยีอื่น ๆ มาก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เครื่องมือออกแบบบนเว็บเพื่อให้การทำงานปลอดภัยมากขึ้น

robot-arm
ภาพจาก Fraunhofer-Gesellschaft (Germany)

เครื่องมือฟรีบนเว็บฟรีที่พัฒนาโดย Fraunhofer Institute for Factory Operation and Automation IFF ของเยอรมนี มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ ออกแบบ cobot หรือหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน บริษัทสามารถใช้ Cobot Designer ซึ่งทำงานได้บนทุกเบราว์เซอร์ ก่อนที่จะซื้อหุ่นยนต์เพื่อพิจารณาว่าความเร็วของหุ่นยนต์จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และปลอดภัยหรือไม่ ผู้ใช้ป้อนพารามิเตอร์ของหุ่นยนต์ อันตราย และเครื่องมือที่จะใช้ และCobot Designer จะคำนวณผลกระทบของการติดต่อกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ และความเร็วสูงสุดที่หุ่นยนต์จะใช้ Roland Behrens แห่ง Fraunhofer กล่าวว่า "เป้าหมายคือการใช้การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อย่างที่ Cobot Designer ทำ เพื่อทำการคำนวณมาตรวัดทั้งหมดในอนาคต"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fraunhofer-Gesellschaft (Germany)