วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิธีเรียนรู้ของเครื่องสามารถปรับปรุงการทำนายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

river
ภาพจาก University of Minnesota News and Events

กระบวนการใหม่หรือเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบใช้ความรู้นำ ( knowledge-guided machine learning) สามารถทำนายการไหลและอุณหภูมิในเครือข่ายแม่น้ำได้อย่างแม่นยำแม้จะมีข้อมูลน้อย จากการวิจัยของนักวิจัยจาก  University of Minnesota, University of Pittsburgh (Pitt), และ  U.S. Geological Survey งานนี้เกี่ยวข้องกับอัลกอริธึมที่ถูกสอนกฎทางกายภาพเพื่อให้สร้างการคาดการณ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น และระบุความสัมพันธ์ที่สำคัญทางกายภาพระหว่างข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ วิธีการนี้ได้รับการออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงกับดักทั่วไปในการทำนายด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง โดยให้ข้อมูลตัวแบบผ่านความสัมพันธ์ระหว่างเวลา การเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ระหว่างลำธารและสมการงบประมาณด้านพลังงาน (energy budget equation) Xiaowei Jia จาก Pitt กล่าวว่า "การทำนายอุณหภูมิของน้ำและกระแสน้ำที่แม่นยำ สามารถช่วยการตัดสินใจสำหรับผู้จัดการทรัพยากร เช่น ช่วยให้พวกเขากำหนดเวลาและปริมาณน้ำที่จะปล่อยจากแหล่งกักเก็บไปยังแม่น้ำ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Minnesota News and Events

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยสร้างส่วนติดต่อสมองที่สามารถส่งเสียงร้องที่อยู่ในหัวของนกได้

birds
Photo by Saif Rahman on Unsplash

ระบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยของ University of California San Diego สามารถทำนายว่านกกำลังจะส่งเสียงอะไร ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในเส้นทางสู่ระบบการฝึกอบรมเพื่อแปลคำพูดของมนุษย์แบบเรียลไทม์ นักวิจัยได้ฝังอิเล็กโทรดในสมองของนกซีบร้าฟินช์ (zebra finch) 12 ตัว และบันทึกกิจกรรมของระบบประสาทในขณะที่นกร้อง พวกเขาฝึกระบบอีกระบบหนึ่งเพื่อลดรูปเพลงแบบเรียลไทม์ของนกให้เป็นรูปแบบที่สามารถจดจำได้  นักวิจัยกล่าวว่า "เสียงนกมีความคล้ายคลึงกันหลายประการกับคำพูดของมนุษย์ และการศึกษาดังกล่าวได้ให้ข้อมูลเชิงลึกทั่วไปเกี่ยวกับกลไกและวงจรต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้ การดำเนินการ และการบำรุงรักษาทักษะการเปล่งเสียง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Next Web

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปราสาททราย

เพื่อให้เข้าสถานการณ์ ภูเก็ตปราสาททราย ของนายกประเทศสารขัณฑ์ เราไปฟังเพลงและดูเนื้อเพลงประสาททรายของสุรสีห์ อิทธิกุล อดีตศิลปิน นักดนตรี และโปรดิวเซอร์ที่โด่งดังคนหนึ่งของไทยกันดีกว่าครับ ไปฟังเพลงเพราะ ๆ แต่อาจจะเศร้านิด ๆ และก็ได้แต่หวังว่าโครงการภูเก็ตประสาททรายของใครบางคนจะไม่แหลกสลายลงไปกับตาเหมือนในเนื้อเพลงนะครับ ไปฟังเพลงกันครับ



และนี่คือเนื้อเพลงครับ

กว่าจะรวมจิตใจ
เก็บทรายสวยสวยมากอง
ก่อปราสาทสักหลัง
ก่อกำแพงประตู
ก่อสะพานสร้างเป็นทาง
ทำให้เป็นดังฝัน
ก่อนที่ฉันจะได้เห็นทุกอย่าง
อย่างที่ฝันที่ฉันทุ่มเท
น้ำทะเลก็สาดเข้ามา
ไม่เหลืออะไรเลย
แหลกสลายลงไปกับตา
เหลือเพียงทรายที่ว่างเปล่า
กับน้ำทะเลเท่านั้น
ไม่เหลืออะไรเลย
จากที่เคยมีความใฝ่ฝัน
ไร้กำลังจะสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม
ทีละเล็กละน้อย
ที่คอยสะสมความดี
มีให้เธอเท่านั้น
ก่อเป็นความเข้าใจ
แต่งเติมความหมายด้วยกัน
คอยถึงวันที่หวัง
ก่อนที่ฉันจะได้พบความสุข
อย่างที่ฉันฝันไว้ทุกวัน
เธอก็พลันมาจากฉันไป
ไม่เหลืออะไรเลย
แหลกสลายลงไปกับตา
เหลือเพียงใจที่ว่างเปล่า
กับฉันคนเดียวเท่านั้น
ไม่เหลืออะไรเลย
จากที่เคยมีความใฝ่ฝัน

ขอให้ปลอดภัยเอาชีวิตรอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ครับ... 

นักวิจัยจากอิสราเอลพัฒนาจมูกอิเลกทรอนิกส์

e-nose
ภาพจาก The Jerusalem Post

จมูกเทียมที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Ben-Gurion University of the Negev (BGU) ของอิสราเอล สามารถแยกแยะระหว่างแบคทีเรีย ไวรัส และก๊าซพิษประเภทต่างๆ ตาม "กลิ่นพิมพ์ (smell print)" ของพวกมัน การพิมพ์กลิ่นนี้เกิดจากการดูดซับก๊าซโดยใช้อนุภาคนาโนคาร์บอนและปฏิกิริยาไฟฟ้าที่เกิดจากอนุภาคซึ่งเป็นผลมาจากการดูดซับ นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขา "สามารถ 'ฝึก' จมูกอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อตรวจจับโมเลกุลของก๊าซต่างๆ ทีละตัวหรือผสมกันด้วยความแม่นยำสูง" Raz Yelink แห่ง BGU กล่าวว่าเทคโนโลยีต้นทุนต่ำนี้สามารถนำมาใช้เพื่อเตือนเมืองต่าง ๆ เกี่ยวกับการมีก๊าซอันตรายและมลพิษทางอากาศ ตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรียภายในหนึ่งชั่วโมงโดยการทดสอบ "สวอบคอ (throat swab)" และเตือนถึงการมีอยู่ของแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหาร

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post


วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ทำนายการติดไวรัส

virus
ภาพจาก University of Zurich (Switzerland)

โครงข่ายประสาทเทียมที่มีการเรียนรู้เชิงลึกสามารถระบุเซลล์ที่ติดอะดีโนไวรัส (adenoviruses) หรือไวรัสเริมได้อย่างน่าเชื่อถือจากภาพเรืองแสงของเซลล์ที่มีชีวิต อัลกอริธึมที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก University of Zurich (UZH) ของสวิตเซอร์แลนด์ (UZH) ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในการจัดเรียงของนิวเคลียสของเซลล์ที่ส่งสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ นักวิจัยได้ฝึกแบบจำลองนี้เพื่อระบุแบบรูป (pattern) ตามแบบฉบับของเซลล์ที่ติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ โดยใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ อัลกอริธึมยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการระบุการติดเชื้อเฉียบพลันและรุนแรงด้วยความแม่นยำ 95% ล่วงหน้าสูงสุด 24 ชั่วโมง โดยแยกความแตกต่างระหว่างสองเฟสที่แยกจากกันของการติดเชื้อแบบไลติก (lytic infection)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Zurich (Switzerland)