Photo by Compare Fibre on Unsplash |
นักวิจัยของโตชิบาในสหราชอาณาจักรส่งข้อมูลควอนตัมผ่านเส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) ที่มีความยาว 600 กิโลเมตร (372 ไมล์) โดยไม่หยุดชะงัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความเสถียรภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผันผวนของภายในเส้นใย นักวิจัยใช้ระบบรักษาความเสถียรแบบดูอัลแบนด์ โดยส่งสัญญาณสองสัญญาณไปยังเส้นใยโดยใช้ความยาวคลื่นต่างกัน โดยสัญญาณหนึ่งจะกำจัดความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อีกสัญญาณหนึ่งทำการปรับเฟสควอนตัมที่ละเอียดกว่า ทีมงานของโตชิบากล่าวว่าสิ่งนี้ทำให้สามารถกำหนดเส้นทางควอนตัมบิตได้อย่างปลอดภัยบนไฟเบอร์ออปติก ซึ่งมันถูกใช้ในการเข้ารหัสแบบควอนตัม ในโปรโตคอลการกระจายคีย์แบบควอนตัม (Quantum Key Distribution protocol) หรือ QKD Mirko Pittaluga จากโตชิบายุโรปกล่าวว่า "การเพิ่มระยะในการสื่อสารของ QKD ยังคงเป็นไปได้ และวิธีการของเรายังสามารถนำไปใช้กับโปรโตคอลและแอปพลิเคชันการสื่อสารควอนตัมอื่นๆ ได้อีกด้วย"
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet