วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

นักวิจัยสร้างเครือข่ายควอนตัม "ที่แฮกไม่ได้" บนสายใยแก้วนำแสงในระยะทางหลายร้อยกิโล

fiber-optic
Photo by Compare Fibre on Unsplash

นักวิจัยของโตชิบาในสหราชอาณาจักรส่งข้อมูลควอนตัมผ่านเส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) ที่มีความยาว 600 กิโลเมตร (372 ไมล์) โดยไม่หยุดชะงัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความเสถียรภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผันผวนของภายในเส้นใย นักวิจัยใช้ระบบรักษาความเสถียรแบบดูอัลแบนด์ โดยส่งสัญญาณสองสัญญาณไปยังเส้นใยโดยใช้ความยาวคลื่นต่างกัน โดยสัญญาณหนึ่งจะกำจัดความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อีกสัญญาณหนึ่งทำการปรับเฟสควอนตัมที่ละเอียดกว่า ทีมงานของโตชิบากล่าวว่าสิ่งนี้ทำให้สามารถกำหนดเส้นทางควอนตัมบิตได้อย่างปลอดภัยบนไฟเบอร์ออปติก ซึ่งมันถูกใช้ในการเข้ารหัสแบบควอนตัม ในโปรโตคอลการกระจายคีย์แบบควอนตัม (Quantum Key Distribution protocol) หรือ QKD Mirko Pittaluga จากโตชิบายุโรปกล่าวว่า "การเพิ่มระยะในการสื่อสารของ QKD ยังคงเป็นไปได้ และวิธีการของเรายังสามารถนำไปใช้กับโปรโตคอลและแอปพลิเคชันการสื่อสารควอนตัมอื่นๆ ได้อีกด้วย"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564

โค้ด www ที่เปลี่ยนโลกถูกเอาขึ้นประมูลเป็น NFT

web-code
Photo by Markus Spiske on Unsplash

ซอร์สโค้ดต้นฉบับของ Tim Berners-Lee นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สำหรับสิ่งที่กลายมาเป็นเวิลด์ไวด์เว็บตอนนี้เป็น NFT ตัวหนึ่งที่ Sotheby's จะประมูลด้วยการเสนอราคาเริ่มต้นที่ 1,000 ดอลลาร์ Ethereum blockchain NFT ที่มีลายเซ็นดิจิทัลมีซอร์สโค้ด ภาพเคลื่อนไหว จดหมายเขียนโดย Berners-Lee และโปสเตอร์ดิจิทัลของโค้ดจากไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งรวมถึงการอิมพลีเมนต์ภาษาและโปรโตคอลสามตัวที่ Berners-Lee เป็นผู้พัฒนาขึ้น ได้แก่ Hypertext Markup Language (HTML), Hypertext Transfer Protocol (HTTP), และ Uniform Resource Identifiers โดย Berners-Lee กล่าวว่า NFT เป็น "สิ่งที่ต้องทำตามธรรมชาติ … เมื่อคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเมื่อคุณเขียนโค้ดและอยู่มาหลายปีแล้ว มันเป็นเรื่องถูกต้องที่จะเซ็นลายเซ็นดิจิทัลของผมบนสิ่งประดิษฐ์ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters


วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงทำให้ต้องการแรงงานต่างชาติ (อเมริกา)

immigrant
ภาพจาก CNBC

นายจ้างในสหรัฐฯ กำลังมองหาแรงงานต่างชาติด้านคอมพิวเตอร์ ท่ามกลางการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศ จากการศึกษาของกลุ่มวิจัยด้านการย้ายถิ่นฐานสองฝ่าย (bipartisan immigration research group)  New American Economy (NAE) ในขณะที่นายจ้างในสหรัฐฯ เปิดรับตำแหน่งงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 1.36 ล้านตำแหน่งในปีที่แล้ว ข้อมูลของกระทรวงแรงงานระบุว่ามีเพียง 177,000 คนที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์เท่านั้นที่ว่างงาน NAE พบประกาศรับสมัครงานมากกว่าเจ็ดรายการสำหรับการประกอบอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือคณิตศาสตร์สำหรับผู้ว่างงานแต่ละคนในสหรัฐฯ  ข้อมูลสำมะโนประชากรระบุแรงงานต่างชาติคิดเป็น 25% ของแรงงานด้านคอมพิวเตอร์ในปี 2019 Andrew Lim แห่ง NAE กล่าวว่า "หลักฐานในรายงานฉบับนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่ายังคงมีความต้องการจากนายจ้างในสหรัฐฯ สำหรับแรงงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนโยบายด้านแรงงานต่างชาติในปัจจุบันในสหรัฐฯไม่ตอบสนองข้อมูลนี้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNBC

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์ทำนายได้ว่าผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจะฟื้นฟูทักษะทางภาษาได้ดีหรือไม่

brain
Photo by Natasha Connell on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์จาก Boston University และ University of Texas at Austin ใช้การจำลองสมองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อคาดการณ์โอกาสของชาวฮิสแพนิก (Hispanic) ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองที่รู้สองภาษาจะฟื้นทักษะทางภาษาได้หรือไม่ ตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมจำลองสมองของคนสองภาษาที่มีความบกพร่องทางภาษา และการตอบสนองของสมองต่อการรักษาในภาษาอังกฤษและสเปน ตัวแบบนี้สามารถเน้นภาษาที่เหมาะสมที่สุดที่จะมุ่งเน้นในการฟื้นฟู และการคาดการณ์ผลหลังการรักษา ตัวแบบสามารถทำนายผลการรักษาได้อย่างแม่นยำในภาษาที่ใช้รักษา ซึ่งหมายความว่าตัวแบบดังกล่าวสามารถบอกแผนการฟื้นฟูให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Brink (Boston University)

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ควบคุมการสร้างอินซูลินจากนาฬิกาอัจฉริยะ

Photograph: Colourbox

ไดโอดเปล่งแสงสีเขียว (green light-emitting diode) หรือ green LED ของนาฬิกาอัจฉริยะที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถใช้สั่งสวิตช์โมเลกุลที่ถูกปลูกถ่ายเพื่อควบคุมการผลิตอินซูลินได้ ต้องขอบคุณนักวิจัยจาก ETH Zurich ในสวิตเซอร์แลนด์ สวิตช์ต้นแบบเชื่อมต่อกับเครือข่ายยีน (gene) ที่ถูกปลูกถ่ายในเซลล์ HEK 293 ซึ่งสามารถตอบสนองต่อแสงสีเขียวในการผลิตอินซูลินหรือสารอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของเครือข่าย ระบบใช้ซอฟต์แวร์นาฬิกาอัจฉริยะมาตรฐาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาโดยเฉพาะ Martin Fussenegger แห่ง ETH Zurich กล่าวว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่การปลูกถ่ายแบบนี้ถูกสั่งการโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีจำหน่ายในท้องตลาด"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ETH Zurich (Switzerland)