วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่ง

ไม่ได้เขียนศรัณย์วันศุกร์มาซะนาน วันนี้มาฟังเพลงกันก็แล้วกันครับ เอาอีกแล้วครับที่มีเพลงหนึ่งวิ่งไปวิ่งมาอยู่ในหัวตลอดเวลา สำหรับเพลงที่จะชวนกันฟังในวันนี้ก็คือ One Moment in Time ครับ ซึ่งเป็นเพลงประจำกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่โซล เกาหลีใต้ ซึ่งก็ผ่านมา 23 ปีแล้ว และคนร้องซึ่งคือ  Whitney Houston ก็เสียชีวิตไปแล้ว แต่เพลงนี้ฟังยังไงก็ไม่เบื่อนะครับ ไปฟังเพลงกันก่อนครับ เอาเวอร์ชัน Whitney Houston ก่อนครับ



และแถมอีกเวอร์ชันที่ผมก็ชอบของ Dana Winner ครับ



 

เพราะจริง ๆ นะครับ 

คราวนี้มาดูเนื้อเพลงกันครับ

Each day I live

I want to be

A day to give

The best of me

I'm only one

But not alone

My finest day

Is yet unknown

I broke my heart

Fought every gain

To taste the sweet

I face the pain

I rise and fall

Yet through it all

This much remains

I want one moment in time

When I'm more than I thought I could be

When all of my dreams are a heartbeat away

And the answers are all up to me

Give me one moment in time

When I'm racing with destiny

Then in that one moment of time

I will feel

I will feel eternity

I've lived to be

The very best

I want it all

No time for less

I've laid the plans

Now lay the chance

Here in my hands

Give me one moment in time

When I'm more than I thought I could be

When all of my dreams are a heartbeat away

And the answers are all up to me

Give me one moment in time

When I'm racing with destiny

Then in that one moment of time

I will feel

I will feel eternity

You're a winner for a lifetime

If you seize that one moment in time

Make it shine

Give me one moment in time

When I'm more than I thought I could be

When all of my dreams are a heartbeat away

And the answers are all up to me

Give me one moment in time

When I'm racing with destiny

Then in that one moment of time

I will be

I will be

I will be free

I will be

I will be free


ชีวิตทุกวันของฉัน

ฉันอยากจะอยู่

ในวันที่ฉันจะให้

สิ่งที่ดีที่สุดของฉัน

ฉันตัวคนเดียว

แต่ก็ไม่ได้เปล่าเปลี่ยว

วันที่ดีที่สุดของฉัน

ยังไม่รู้จะมาเมื่อไหร่

ฉันหักห้ามใจตัวเอง

ต่อสู้กับทุกอย่างเพื่อให้ได้มา

เพื่อที่จะได้ลิ้มรสความหวาน

ฉันต้องเผชิญกับความเจ็บปวด

ฉันพุ่งขึ้นแล้วก็ร่วงหล่นลงมา

แม้ว่าฉันจะผ่านมันมาทั้งหมดแล้ว

มันก็มีสิ่งที่เหลืออยู่อีกมากมาย

ฉันขอเพียงช่วงเวลาหนึ่ง

ช่วงเวลาที่ฉันเป็นได้มากกว่าที่ฉันเคยคิดไว้

เมื่อความฝันทั้งปวงของฉันอยู่ห่างออกไปแค่จังหวะหัวใจเต้น

และคำตอบทั้งหมดขึ้นอยู่กับฉันเพียงผู้เดียว

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่งให้ฉันเถอะ

ช่วงเวลาที่ฉันได้แข่งขันกับโชคชะตา

และในช่วงเวลานั้น

ฉันจะรู้สึก

ฉันจะรู้สึกถึงความเป็นนิรันดร์

ฉันใช้ชีวิต

เพื่อให้เป็นที่สุด

ฉันต้องการมันทั้งหมด

ไม่มีเวลาให้กับสิ่งที่ไม่สำคัญ

ฉันวางแผนมาตลอด

ตอนนี้ก็คว้าโอกาส

ซึ่งอยู่ในมือของฉัน

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่งให้ฉันเถอะ

ช่วงเวลาที่ฉันเป็นได้มากกว่าที่ฉันเคยคิดไว้

เมื่อความฝันทั้งปวงของฉันอยู่ห่างออกไปแค่จังหวะหัวใจเต้น

และคำตอบทั้งหมดขึ้นอยู่กับฉันเพียงผู้เดียว

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่งให้ฉันเถอะ

ช่วงเวลาที่ฉันได้แข่งขันกับโชคชะตา

และในช่วงเวลานั้น

ฉันจะรู้สึก

ฉันจะรู้สึกถึงความเป็นนิรันดร์

คุณจะเป็นผู้ชนะตลอดชีวิตของคุณ

ถ้าคุณคว้าช่วงเวลาหนึ่งนั้นเอาไว้ได้

ทำให้มันเปล่งประกายออกมา

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่งให้ฉันเถอะ

ช่วงเวลาที่ฉันเป็นได้มากกว่าที่ฉันเคยคิดไว้

เมื่อความฝันทั้งปวงของฉันอยู่ห่างออกไปแค่จังหวะหัวใจเต้น

และคำตอบทั้งหมดขึ้นอยู่กับฉันเพียงผู้เดียว

ขอเพียงช่วงเวลาหนึ่งให้ฉันเถอะ

ช่วงเวลาที่ฉันได้แข่งขันกับโชคชะตา

และในช่วงเวลานั้น

ฉันจะเป็น
ฉันจะเป็น
ฉันจะเป็นอิสระ
ฉันจะเป็น
ฉันจะเป็นอิสระ 


ถือว่าเป็นการต้อนรับโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นปีนี้ (ถ้าจัดได้) ด้วยแล้วกันนะครับ ขอให้ปลอดภัยจากโควิดครับ

เครื่องมือวิเคราะห์อย่างง่าย ๆ ในการทำนายความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์

PM-image
Illustration: Jonas Wallén Wisely Digital

นักวิจัยจาก Lund University ของสวีเดนได้พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถทำนายความเสี่ยงของแต่ละบุคคลที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)  หรือ AD นักวิจัยได้รวมข้อมูลจากการตรวจเลือดอย่างง่าย ซึ่งวัดความแปรผันของโปรตีน  phosphylated tau และยีนที่เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ด้วยข้อมูลจากการทำ cognitive test สามการทดสอบ อัลกอริทึมคาดการณ์ด้วยความมั่นใจมากกว่า 90% ว่าผู้ป่วยรายใดจะมีพัฒนาจนเป็น AD ภายในสี่ปี Oskar Hansson ของ Lund กล่าวว่าอัลกอริทึมนี้สามารถคาดการณ์ได้แม่นยำกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะสมองเสื่อมที่ตรวจผู้ป่วยรายเดียวกัน แต่ไม่สามารถเข้าถึงการทดสอบน้ำไขสันหลังหรือการสแกน positron-emission tomography Hansson กล่าวว่า "อัลกอริทึมนี้จะช่วยให้เราสามารถระบุคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งก็คือโอกาสที่ยาใหม่ ๆ จะได้ผลดีกว่าในการชะลอการเกิดโรค"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lund University (Sweden)

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์นิ้วโป้งควบคุมได้จากนิ้วเท้าของคุณ

thumb-robot
ภาพจาก New Scientist

หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างเหมือนหัวแม่มือที่ควบคุมโดยนิ้วเท้าของผู้ใช้ อาจนำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจที่มีคุณค่ามาก ตามที่นักวิทยาศาสตร์จาก University College London (UCL) ของสหราชอาณาจักรกล่าว Danielle Clode จาก UCL และเพื่อนร่วมงาน ได้ให้อาสาสมัคร 36 คนสวมหุ่นยนต์รูปนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งควบคุมโดยเซ็นเซอร์ที่สวมที่นิ้วหัวแม่โป้งที่เท้า และส่งคำสั่งผ่านฮาร์ดแวร์ไร้สายที่ข้อมือและข้อเท้า  การกระดิกนิ้วเท้าแต่ละข้างช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนนิ้วหัวแม่มือไปในทิศทางต่าง ๆ หรือสั่งให้กำมือได้ Paulina Kieliba จาก UCL กล่าวว่าการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ก่อนและหลังการทดลองแสดงให้เห็นว่า มีความคล้ายกันของสมองของอาสาสมัครต่อการรับรู้นิ้วแต่ละนิ้วบนมือที่สวมหุ่นยนต์มากกว่าก่อนการทดลอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

เพิ่มเติมเสริมข่าว: ดูวีดีโอได้จากข่าวเต็มครับ ผมว่าดู ๆ แล้วมันน่าจะเหมือนนิ้วนางหรือนิ้วก้อยมากกว่านิ้วโป้งนะครับ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

คุณสามารถเลี้ยงแมวแบบเสมือนจริงและยังสามารถสัมผัสกับขนจำลองได้ด้วย

simulated-cat-fur
ภาพจาก Gizmodo

คอนโทรลเลอร์แบบความจริงเสมือน (virtual reality)  หรือ VR ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก National Taiwan และ National Chengchi universities ของไต้หวัน ช่วยให้ผู้ใช้สัมผัสได้ถึงขนจำลองขณะลูบคลำสัตว์เสมือนจริง ตัวควบคุมต้นแบบที่เรียกว่า HairTouch ใช้ร่วมกับชุดอุปกรณ์สวมหัว VR สามารถติดตามและแสดงการเคลื่อนไหวของมือในสภาพแวดล้อมจำลองด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ขนเทียมเป็นกระจุก ตัวควบคุมไม่เพียงแค่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของขนปลอมเมื่อผู้ใช้สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนยาวใน VR เท่านั้น แต่ยังจำลองความรู้สึกของขนประเภทต่าง ๆ และพื้นผิวอื่น ๆ ด้วยการจัดการกับขนขณะที่มันยืดและหด ตัวควบคุมยังสามารถใช้เพื่อจำลองความรู้สึกของพื้นผิวอื่น ๆ รวมถึงเนื้อผ้าด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Gizmodo

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วิธีการใหม่ในการระบุยีนที่เชื่อมโยงกับออทิสติกและไอคิวของผู้ป่วย

dna-right-twist
ภาพจาก Baylor College of Medicine

การศึกษาที่นำโดยนักวิจัยของ Baylor College of Medicine เสนอวิธีการคำนวณแบบใหม่สำหรับการระบุยีนที่น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการออทิสติกสเปกตรัม (autism spectrum disorders) หรือ ASD และทำนายความรุนแรงของความบกพร่องทางสติปัญญาในผู้ป่วย ASD ทีมงานได้ป้อนข้อมูลวิวัฒนาการจำนวนมากเพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของการกลายพันธุ์ในการวิวัฒนาการของโปรตีน และผลกระทบของความหลากหลายของมนุษย์ต่อการทำงานของโปรตีน นักวิจัยมุ่งเน้นไปที่สายพันธุ์ de novo missense โดยเฉพาะเพื่อระบุการกลายพันธุ์ที่แยกความแตกต่างของผู้ป่วย ASD และพี่น้องที่ไม่ได้รับผลกระทบ Young Won Kim จาก Baylor กล่าวว่าผลการวิจัยชี้ให้เห็นยีนใหม่ ๆ ที่ควรศึกษาและ “เส้นทางข้างหน้าในการให้คำแนะนำผู้ปกครองของเด็กที่มีการกลายพันธุ์ถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก และวิธีการให้การสนับสนุนจากภายนอกดีที่สุดในการแทรกแซงของการพัฒนาการในช่วงต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างอย่างมากเช่นกัน”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Baylor College of Medicine