วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ระบบที่ช่วยกำจัดขยะในตารางข้อมูลโดยอัตโนมัติ

PClean
ภาพจาก MIT News

ระบบที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) จะล้าง "ความสกปรกในข้อมูล" โดยอัตโนมัติ เช่นการพิมพ์ผิด ข้อมูลที่ซ้ำ ค่าที่หายไป การสะกดผิด และความไม่สอดคล้องกัน ระบบนี้มีชื่อว่า PClean มันจะรวมข้อมูลภูมิหลังที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล และประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ่นได้เข้ากับการให้เหตุผลที่เป็นไปได้ทางสามัญสำนึก (common-sense probabilistic reasoning) เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะเรียกใช้ฐานข้อมูลและประเภทข้อผิดพลาดแบบใด การแก้ไขจะใช้การให้เหตุผลแบบ  Bayesian ซึ่งใช้ความน่าจะเป็นจากความรู้เดิมเกี่ยวกับข้อมูลที่คลุมเครือ เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และสามารถให้ค่าประมาณที่ปรับเทียบแล้วสำหรับความไม่แน่นอนของมัน  นักวิจัยพบว่า PClean ซึ่งมีโค้ดเพียง 50 บรรทัดมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเกณฑ์เปรียบเทียบ (benchmark) ต่าง ๆ ทั้งในด้านความแม่นยำและเวลาในการทำงาน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

IBM แก้ปัญหาควอนตัมคอมพิวติงได้เร็วกว่าวิธีเดิม 120 เท่า


Glass Orb with Patterns
Photo by Michael Dziedzic on Unsplash

นักวิจัยของ IBM ได้แก้ปัญหาควอนตัมคอมพิวติงปัญหาหนึ่งได้เร็วกว่าการแก้ปัญหาครั้งล่าสุดถึง 120 เท่า  ทีม IBM Quantum ได้จำลองพฤติกรรมของโมเลกุลลิเธียมไฮไดรด์ทั้งหมดบนคลาวด์ในเวลาเพียง 9 ชั่วโมงบนแพลตฟอร์ม Qiskit Runtime ของ IBM ในปี 2560 นักวิจัยได้จำลองโมเลกุลดังกล่าวโดยใช้โปรเซสเซอร์ควอนตัม 7 qubit ซึ่งใช้เวลาถึง 45  วัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

คนไข้อาจไม่รับคำแนะนำจากหมอ AI ที่รู้จักชื่อพวกเขา

AI Doctor
IMAGE: UNSPLASH/ALEXANDER SINN

จากผลการศึกษาของนักวิจัยจาก  Pennsylvania State University (Penn State) และ University of California, Santa Barbara พบว่า ผู้ป่วยอาจไม่เชื่อใจแพทย์แบบปัญญาประดิษฐ์  (artificial intelligence) หรือ AI ที่รู้จักชื่อและประวัติทางการแพทย์ของพวกเขา ทีมนักวิจัยได้ออกแบบแชทบอท 5 ตัว โดยบอทเหล่านี้ถูกตั้งโปรแกรมให้ถามคำถามเกี่ยวกับอาการและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 จากนั้นจึงวินิจฉัยและให้คำแนะนำ ผู้เข้าร่วมการศึกษามีแนวโน้มที่จะพิจารณาว่าแชทบอทล่วงล้ำ และมีแนวโน้มน้อยมากที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ เมื่อแชทบอทคุยกับพวกเขาโดยชื่อแรก (first name) และอ้างถึงประวัติทางการแพทย์ของพวกเขา แต่ในทางกลับกันพวกเขาคาดว่าหมอที่เป็นคนจะสามารถแยกเขาออกออกจากคนไข้รายอื่น และมีแนวโน้มน้อยที่จะปฏิบัติตามถ้าหมอจำข้อมูลของพวกเขาไม่ได้ Shyam Sundar จาก Penn State กล่าวว่า "เมื่อระบบ AI รับรู้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล มันจะถูกมองว่าเป็นการล่วงล้ำ ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลที่มากขึ้นกับการใช้ AI ในสังคม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Penn State News

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

AI ใช้พลังงานมหาศาลแต่แฮกเกอร์จะทำให้มันใช้มากขึ้นไปอีก

TAYLOR VICK/UNSPLASH
TAYLOR VICK/UNSPLASH

นักวิจัยของ Maryland Cybersecurity Center (MC2) ได้สรุปการโจมตีที่สามารถเพิ่มการใช้พลังงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI โดยการบังคับให้เครือข่ายประสาทเทียมในระดับลึก (deep neural network) ใช้ทรัพยากรในการคำนวณมากเกินความจำเป็น ทีมงานได้เพิ่มสัญญาณรบกวนเล็กน้อยให้กับอินพุตของเครือข่ายประสาทเทียมแบบหลายทางออกที่ปรับข้อมูลเข้าได้ (input-adaptive multi-exit neural network) ซึ่งทำให้ระบบมองว่ายากขึ้นขึ่งต้องใช้การคำนวณที่เพิ่มขึ้น นั่นคือต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำให้เสร็จสมบูรณ์ ในการสมมติว่าผู้โจมตีมีข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับเครือข่าย นักวิจัยสามารถใช้พลังงานในระดับสูงสุด และถ้าสมมติว่ามีข้อมูลน้อยหรือไม่มีเลยก็ยังสามารถทำให้การประมวลผลช้าลง และเพิ่มการใช้พลังงานได้จาก 20% ถีง 80% แม้ว่าการแฮ็กนี้ยังคงอยู่เป็นทฤษฎีอยู่ แต่ Tudor Dumitras จาก MC2 กล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญก็คือการทำให้คนสนใจว่านี่เป็นรูปแบบภัยคุกคามใหม่ และการโจมตีประเภทนี้สามารถเกิดขึ้นได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT Technology Review

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แหวนอัจฉริยะที่มีชิป RFID ฝังอยู่

3D-printed smart ring
ภาพจาก Fraunhofer-Gesellschaft (Germany)

นักวิจัยจากสถาบัน Fraunhofer Institute for Casting, Composite and Processing Technology (IGCV) ของเยอรมนีได้พัฒนาแหวนสำหรับสวมนิ้วอัจฉริยะที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D) ที่สามารถใช้แทนกุญแจบ้าน กระเป๋าสตางค์ บัตรประกันสุขภาพ และอื่น ๆ ได้ แหวนอัจฉริยะมีชิประบุตัวตนด้วย RFID อยู่ในตัวที่ช่วยให้สามารถซื้อสินค้า เปิดประตูอัจฉริยะ จัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ และยังทำเรื่องอื่น ๆ ได้อีกมากมาย การพิมพ์แบบสามมิติจะพิมพ์ทีละชั้น มีการหยุดพิมพ์เพื่อฝังชิป RFID เข้าไปในโพรงของแหวน จากนั้นจึงพิมพ์ต่อไป  Maximilian Binder ของ IGCV กล่าวว่า "การแปลงเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เพื่อให้สามารถฝังชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างกระบวนการผลิตนั้นเป็นเอกลักษณ์ของงานนี้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fraunhofer-Gesellschaft (Germany)