วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักเคมีและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ร่วมมือกันใช้ AI กับปฏิกิริยาเคมี

Photo by Alex Kondratiev on Unsplash

นักเคมีและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ Princeton University ร่วมมือกันพัฒนาซอฟต์แวร์แมชชีนเลิร์นนิงแบบโอเพนซอร์สที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อปรับปฏิกิริยาสังเคราะห์ทางเคมีให้เหมาะสมที่สุด ซอฟต์แวร์ปรับใช้หลักการสำคัญของการปรับให้เหมาะสมที่สุดแบบเบย์ (Bayes optimization) เพื่อให้สามารถสังเคราะห์สารเคมีได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Benjamin Shields ผู้เขียนหลักของงานวิจัย และเป็นผู้สร้างแพคเกจ Python กล่าวว่า "ในการออกแบบซอฟต์แวร์ ได้พยายามรวมวิธีต่างๆเพื่อให้ผู้คนสามารถนำสิ่งสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาใส่เข้าไปในโปแกรมให้ได้ และไม่ว่าคุณจะใช้วิธีนี้หรือการเรียนรู้ของเครื่องโดยทั่วไปก็ตาม มันจะมีกรณีที่ความเชี่ยวชาญของมนุษย์มีคุณค่าเสมอ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Princeton University

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การค้นผ่าน Google ช่วยทำนายการพุ่งขึ้นของ COVID-19

ภาพจาก ACM

นักวิจัยจาก University College of London (UCL) ของสหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัย Bar-Ilan ของอิสราเอลพบว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วย Covid-19 สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าโดยเฉลี่ย 17 วันโดยใช้ข้อมูลการค้นหาออนไลน์ นักวิจัยได้พัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ที่เปรียบเทียบการค้นหาของ Google ที่เกี่ยวข้องกับอาการ Covid-19 กับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อ Covid-19 ข้อมูลของอาการที่ถูกระบุโดย National Health Service and Public Health England ของสหราชอาณาจักรจะถูกใช้โดยตัวแบบ และให้น้ำหนักตามความถี่ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย Covid-19 ที่ได้รับการยืนยัน Vasileios Lampos จาก UCL กล่าวว่า "เราได้แสดงให้เห็นว่าแนวทางของเราใช้ได้ผลกับประเทศอื่น ๆ ด้วย โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจสังคมและสภาพภูมิอากาศ การวิเคราะห์ของเรายังเป็นหนึ่งในกลุ่มแรก ๆ ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์โควิด -19 และการค้นหาเกี่ยวกับอาการของการไม่ได้กลิ่นและมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง".

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เมื่อหุ่นยนต์ต้องมาทำงานร่วมกัน มันก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้

COURTESY OF PANASONIC

โรงพยาบาล  Changi General เจเนอรัลของสิงคโปร์กำลังใช้ซอฟต์แวร์จาก Open Robotics เพื่อช่วยไม่ให้หุ่นยนต์ขวางทางกันในโถงทางเดินหรือนอกลิฟต์ หุ่นยนต์ประมาณ 50 ตัวของโรงพยาบาลมาจากผู้ผลิต 8 รายและซอฟต์แวร์ดังกล่าวช่วยให้หุ่นยนต์จากผู้ผลิตหลายรายสามารถสื่อสาร และจัดเส้นทางการเดินที่จะไม่ขัดขวางหรือชนกัน  Open Robotics เป็นผู้ดูแลซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Robot Operating System (ROS) แต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้โดย Changi ยังช่วยให้หุ่นยนต์ที่ไม่ใช้ ROS สามารถสื่อสารกันได้ บริษัทหวังว่าจะมีการนำซอฟต์แวร์ฟรีที่แก้ไขได้ง่ายมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้หุ่นยนต์ในที่ทำงานสามารถทำงานร่วมกันได้โดยสะดวก Rian Whitton จาก ABI Research กล่าวว่าต้องของคุณ ROS ที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถพัฒนาหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้ได้เร็วขึ้น  และเราสามารถเร่งการทำงานร่วมกันให้เร็วขึ้นได้ผ่านแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์ส

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แสดงวิธีเอาชนะตัวตรวจจับ Deepfake

ตัวอย่าง deepfake ซ้ายภาพจริง Amy Adams จากหนัง Man of Steel ภาพขวาเอาหน้า Niolas Cage มาใส่ ภาพจาก Wikipedia

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโก (UCSD) แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่ามีวิธีที่เอาชนะโปรแกรมให้ตรวจจับวิดีโอปลอม (deepfake) ได้ จากการนำเสนอในงาน  Winter Conference on Applications of Computer Vision 2021 เมื่อเดือนมกราคม นักวิจัยอธิบายว่าพวกเขาแทรกตัวอย่างที่เป็นปฏิปักษ์ (adversarial) ลงในทุกเฟรมของวีดีโอ เหนี่ยวนำให้เกิดข้อผิดพลาดในระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI วิธีนี้ยังใช้งานได้แม้ว่าวีดีโอจะถูกบีบอัดไปแล้ว เนื่องจากอัลกอริธึมที่ใช้สู้กับตัวตรวจจับนี้จะประเมินว่าตัวแบบการจับวีดีโอว่าจริงหรือปลอมทำงานอย่างไร จากนั้นใช้สิ่งที่คำนวณได้นี้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปภาพ เพื่อให้รูปภาพปฏิปักษ์ยังคงมีประสิทธิภาพหลังจากการบีบอัดและการคลายการบีบอัด นักวิจัยของ USCD กล่าวว่า "เราแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่ทันสมัยในปัจจุบันสำหรับการตรวจจับวีดีโอปลอมสามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย หากคนที่ต้องการจู่โจมรู้รายละเอียดทั้งหมดหรือแม้กระทั่งบางส่วนว่าตัวตรวจจับทำงานยังไง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UC San Diego Jacobs School of Engineering

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมเก่าแก่กลับขึ้นบนสุดของตารางอีกครั้ง

image: Getty Images/iStockphoto

บริษัทซอฟต์แวร์ของสวิสคือ Tiobe พบว่าภาษา C เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมอันดับต้น ๆ ในปัจจุบันคิดเป็น 16.34% ของการค้นหาทั้งหมด จากการติดตามเครื่องมือค้นหาต่าง ๆ หลายตัว เอาชนะ Java, Python, C ++ และ C # ของ Microsoft แม้ว่าวิศวกรของ Amazon, Microsoft และ Google จะมุ่งเน้นไปที่ Rust ของ Mozilla ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับหน่วยความจำที่เกิดจาการเขียนโค้ดของภาษา C และ C ++ แต่ Paul Jansen จาก Tiobe กล่าวว่าภาษา C ค่อนข้างเสถียรเมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ Jansen กล่าวว่าภาษาการเขียนโปรแกรมแปดอันดับแรกในดัชนี TIOBE ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมาโดยเสริมว่าทั้งหมดยกเว้น C ออกเวอร์ชันใหม่ค่อนข้างบ่อย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet