วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

AI ระบุผู้ติด COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ

Photo: Gao Han/VCG/Getty Images

นักวิจัยจาก บริษัท เทคโนโลยี Synergies Intelligent Systems และ Universität Hamburg ของเยอรมนีได้พัฒนาอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องที่สามารถระบุได้ว่าใครบ้างในฝูงชนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของ Covid-19 แบบไม่แสดงอาการ อัลกอริธึมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการอนุมานของความน่าจะเป็นของแต่ละบุคคล (continuous learning and inference of individual probability) หรือ CLIIP ซึ่งใช้การเคลื่อนที่ของผู้คนในเมืองจากการใช้การติดตามตำแหน่งบนโลก (global positioning system) หรือ GPS และข้อมูลของผู้ป่วยที่ทราบว่าติดเชื้อเป็นฐานในการระบุ ความแม่นยำของ CLIIP ขึ้นอยู่กับการที่คนต้องใช้แอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนที่ใช้ GPS ซึ่งเปิดการติดตามตำแหน่งของพวกเขาให้อยู่ในระยะไม่เกินหนึ่งเมตร (3.2 ฟุต) และบันทึกผลการทดสอบไวรัสที่เป็นบวก (คือติดไวรัส) Michael Chang ของ Synergies กล่าวว่า "ด้วยเทคโนโลยีประเภทนี้เราสามารถกักกันคนจำนวนน้อยมาก - เพียง 3% ถึง 5% และลดผลกระทบของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผลการค้นหาจาก Google เปิดเผยผลเสียหายแฝงจากการล็อกดาวน์

Photo by Elena Mozhvilo on Unsplash

นักวิจัยจาก University of Warwick ของสหราชอาณาจักร University of Ottawa ของแคนาดาและ Paris School of Economics และ Aix-Marseille ๊ืรอำพหระั ของฝรั่งเศสพบว่าข้อมูล Google Trends จาก 10 ประเทศทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริการะหว่างเดือนมกราคม 2019 ถึงเมษายน 2020 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิต จากการสั่งล็อกดาวน์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาด นักวิจัยสังเกตเห็นจำนวนผู้คนที่ค้นหา ใน Google โดยใช้คำที่เกี่ยวข้องกับความเบื่อ ความเหงา และความกังวล เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเริ่มต้นของการล็อกดาวน์ครั้งแรก Nick Powdthavee จาก University of Warwick กล่าวว่า "ผลการค้นพบของเราบ่งชี้ว่าสุขภาพจิตของผู้คนอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดและการล็อกดาวน์" และยังกล่าวเสริมว่า “ อาจมีความจำเป็นที่ต้องทำให้เแน่ใจว่ามีการสนับสนุนที่จัดเตรียมไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องดิ้นรนมากที่สุดจากการล็อกดาวน์”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Warwick (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สิงคโปร์เปิดใช้บริการรถโดยสารอัตโนมัติเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก

Photo by Jisun Han on Unsplash

สิงคโปร์ได้เปิดตัวบริการรถโดยสารอัตโนมัติเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ซึ่งจะวิ่งในเส้นทางสองสายคือ Singapore Science Park 2 และ Jurong Island โดยเป็นโครงการนำร่องระยะเวลา 3 เดือนเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของบริการตามความต้องการ (on-demand service) รวมถึงความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพและ ผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Alliance for Action (AfA) on Robotics ในขณะที่รถโดยสารถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทวิศวกรรม ST Engineering; ผู้ให้บริการแผนที่ GPS Lands ให้อัลกอริทึมการทำแผนที่สำหรับการนำทาง AfA กล่าวว่า "เพื่อให้ได้รับข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการการขนส่งในเมืองในอนาคต เส้นทางทั้งสองมีความแตกต่างกันในสภาพทางกายภาพ ผู้โดยสาร ประเภทการบริการและยานพาหนะ ตลอดจนแนวคิดการดำเนินงาน" ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างเช่นข้อมูลเชิงลึกจากสาย Science Park 2 จะช่วยระบุได้ว่าบริการรถบัสแบบออนดีมานด์สามารถตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งของผู้ที่เรียกใช้ในพื้นที่ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนได้ดีกว่าหรือไม่เมื่อระบบขนส่งสาธารณะให้บริการด้วยความถี่ที่ต่ำลง ส่วนเส้นทาง Jurong Island จะจอด 10 สถานี  และวิ่งตามกำหนดเวลาตั้งแต่เวลา 11.30 น. ถึง 14.30 น. ในวันธรรมดา เพื่อรองรับการเดินทางในช่วงเที่ยงวัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บี๊ป ๆ พูดว่า "ยิ้ม" สิ "มนุษย์"

Shutter, a robot photographer designed by Yale’s Marynel Vazquez and her team.

Marynel Vazquez จาก Yale University และเพื่อนร่วมงานได้สร้างช่างภาพหุ่นยนต์ชื่อ Shutter ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สบายใจ Vazquez กล่าวว่า "เรากำลังดูว่าช่างภาพหุ่นยนต์สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ได้รับปฏิกิริยาเชิงบวกจากผู้คนมากขึ้นตอนนี้เรามีตัวแทนทางสังคมที่สามารถดึงดูดผู้คนและเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่เราสามารถถามว่า 'มีโอกาสอะไรบ้าง ที่เปิดกว้างสำหรับการถ่ายภาพ? '"ทีมงานมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Shutter ให้มีอารมณ์ขันเพื่อให้ยิ้มและถ่ายภาพได้ดีขึ้น Tim Adamson จาก Yale ตั้งโปรแกรมให้ Shutter แสดงอารมณ์ขันที่หลากหลายเช่น GIF ของสุนัขที่ยื่นหัวออกไปนอกหน้าต่างรถด้วยความเร็วสูงตัวอย่างเสียงของเด็ก ๆ ที่กำลังหัวเราะ และมีม (meme) ชายคนหนึ่งที่ทำหน้าตาตลก ๆ อยู่หน้ากล้อง พร้อมโควตขำ ๆ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: YaleNews

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักวิจัยด้าน computer vision พัฒนาแพลตฟอร์มการติดตามอัจฉริยะที่ใช้ได้ระดับเมือง

Image Credit: Yogesh Simmhan/IIos

แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ Anveshak (ภาษาฮินดีที่หมายความว่า "ผู้ตรวจสอบ (investigator)") ที่พัฒนาโดยนักวิจัยด้าน computer vision จาก Indian Institute of Science (IISc) ได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านเมืองโดยไม่ขึ้นกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของเมืองนั้น Anveshak สามารถระบุตำแหน่งและจุดซ้อนทับของฟีดกล้อง 1,000 ตัวรอบเมืองรวมทั้งเส้นทางที่เป็นไปได้ที่วัตถุหรือบุคคลสามารถติดตามผ่านฟีดเหล่านั้นได้ แพลตฟอร์มนี้สร้าง "สปอตไลท์" บนวัตถุที่ถูกติดตาม ปรับขนาดของมันแบบไดนามิกตามระยะห่างช่องว่างของระยะครอบคลุมของกล้อง และสามารถลดคุณภาพวิดีโอโดยอัตโนมัติเพื่อลดแบนด์วิดท์แทนที่จะหยุดการติดตาม งานวิจัยนี้มีประโยชน์หลัก ๆ อยู่สองด้าน ด้านแรกที่เห็นได้ชัดคือความปลอดภัยสาธารณะ เช่นการต่อต้านอาชญากรรม และการหาเส้นทางให้รถพยาบาลโดยอัตโนมัติ ในด้านที่สองเป็นเรื่องของการเพิ่มศักยภาพขององค์กรในอนาคต ในด้านการผลิต การค้าปลีกจำนวนมาก และระบบ computer vision ขนาดใหญ่สำหรับองค์กร ในปัจจุบันระบบนี้ยังติดตามวัตถุได้ครั้งละหนึ่งตัวเท่านั้น แต่นักวิจัยกำลังพัฒนาให้สามารถติดตามวัตถุได้หลายตัวในเวลาเดียวกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  VentureBeat