วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บี๊ป ๆ พูดว่า "ยิ้ม" สิ "มนุษย์"

Shutter, a robot photographer designed by Yale’s Marynel Vazquez and her team.

Marynel Vazquez จาก Yale University และเพื่อนร่วมงานได้สร้างช่างภาพหุ่นยนต์ชื่อ Shutter ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สบายใจ Vazquez กล่าวว่า "เรากำลังดูว่าช่างภาพหุ่นยนต์สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ได้รับปฏิกิริยาเชิงบวกจากผู้คนมากขึ้นตอนนี้เรามีตัวแทนทางสังคมที่สามารถดึงดูดผู้คนและเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่เราสามารถถามว่า 'มีโอกาสอะไรบ้าง ที่เปิดกว้างสำหรับการถ่ายภาพ? '"ทีมงานมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Shutter ให้มีอารมณ์ขันเพื่อให้ยิ้มและถ่ายภาพได้ดีขึ้น Tim Adamson จาก Yale ตั้งโปรแกรมให้ Shutter แสดงอารมณ์ขันที่หลากหลายเช่น GIF ของสุนัขที่ยื่นหัวออกไปนอกหน้าต่างรถด้วยความเร็วสูงตัวอย่างเสียงของเด็ก ๆ ที่กำลังหัวเราะ และมีม (meme) ชายคนหนึ่งที่ทำหน้าตาตลก ๆ อยู่หน้ากล้อง พร้อมโควตขำ ๆ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: YaleNews

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักวิจัยด้าน computer vision พัฒนาแพลตฟอร์มการติดตามอัจฉริยะที่ใช้ได้ระดับเมือง

Image Credit: Yogesh Simmhan/IIos

แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ Anveshak (ภาษาฮินดีที่หมายความว่า "ผู้ตรวจสอบ (investigator)") ที่พัฒนาโดยนักวิจัยด้าน computer vision จาก Indian Institute of Science (IISc) ได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านเมืองโดยไม่ขึ้นกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของเมืองนั้น Anveshak สามารถระบุตำแหน่งและจุดซ้อนทับของฟีดกล้อง 1,000 ตัวรอบเมืองรวมทั้งเส้นทางที่เป็นไปได้ที่วัตถุหรือบุคคลสามารถติดตามผ่านฟีดเหล่านั้นได้ แพลตฟอร์มนี้สร้าง "สปอตไลท์" บนวัตถุที่ถูกติดตาม ปรับขนาดของมันแบบไดนามิกตามระยะห่างช่องว่างของระยะครอบคลุมของกล้อง และสามารถลดคุณภาพวิดีโอโดยอัตโนมัติเพื่อลดแบนด์วิดท์แทนที่จะหยุดการติดตาม งานวิจัยนี้มีประโยชน์หลัก ๆ อยู่สองด้าน ด้านแรกที่เห็นได้ชัดคือความปลอดภัยสาธารณะ เช่นการต่อต้านอาชญากรรม และการหาเส้นทางให้รถพยาบาลโดยอัตโนมัติ ในด้านที่สองเป็นเรื่องของการเพิ่มศักยภาพขององค์กรในอนาคต ในด้านการผลิต การค้าปลีกจำนวนมาก และระบบ computer vision ขนาดใหญ่สำหรับองค์กร ในปัจจุบันระบบนี้ยังติดตามวัตถุได้ครั้งละหนึ่งตัวเท่านั้น แต่นักวิจัยกำลังพัฒนาให้สามารถติดตามวัตถุได้หลายตัวในเวลาเดียวกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  VentureBeat


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แผนที่ที่สร้างจากประชาชนเพื่อระบุตำแหน่งของกล้องสอดแนม

[Photo: Benedikt Geyer /Unsplash; Michael Daniels/Unsplash]

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Amnesty International วางแผนที่จะสร้างแผนที่ประชาชนเพื่อระบุกล้องวงจรปิดทุกตัวที่เปิดใช้งานการรู้จำใบหน้าใน New York City ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปอาสาสมัครจะสามารถใช้แอปบนสมาร์ทโฟนเพื่อระบุกล้องสอดแนมที่พวกเขาเห็น แอพนี้ใช้ Google Street View และ Google Earth ร่วมกัน เพื่อช่วยแท็กและแนบข้อมูลตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของกล้องเหล่านั้น แผนที่ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ "Ban the Scan (ต่อต้านการสแกน)" ของแอมเนสตี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเผยแพร่การตระหนักรู้ไปทั่วโลกเกี่ยวกับอันตรายจากการจดจำใบหน้าต่อสิทธิพลเมือง องค์กรยังหวังว่าจะเปิดตัวโครงการแผนนที่ที่สร้างจากประชาชนนี้ในเมืองอย่าง  New Delhi, West Bank, และ Ulaanbaatar ของ Mongolia ในเดือนต่อ ๆ ไป

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fast Company

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

อเมริกานำในการแข่งขันด้าน AI ในขณะที่จีนกำลังพุ่งขึ้นมา

Photo by Markus Winkler on Unsplash

จากการศึกษาข้อมูลในปี 2020 ของ Information Technology and Innovation Foundation ยืนยันว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกด้านการพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในขณะที่จีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสหภาพยุโรปยังตามหลังอยู่ การวิเคราะห์ตัวชี้วัด ซึ่งรวมถึงความสามารถของบุคลากร กิจกรรมการวิจัย การพัฒนาเชิงพาณิชย์ และการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจากการสำรวจให้คะแนนอเมริกา 44.6 จากคะแนนเต็ม 100 จีนตามมาด้วยคะแนน 32 และสหภาพยุโรปมีคะแนนเพียง 23.3 สหรัฐอเมริกาชนะคู่แข่งอย่างขาดลอย ในด้านการลงทุนกับบริษัทสตาร์ตอัพ และเงินทุนด้านการพัฒนา ในขณะที่จีนควบคุมซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงที่สุด 500 อันดับแรกของโลกมากที่สุดอยู่ที่ 214 เครื่อง เทียบกับสหรัฐ 113 เครื่อง และสหภาพยุโรป 91 เครื่อง  Daniel Castro จาก Information Technology and Innovation Foundation กล่าวว่าทั้งสหรัฐฯและยุโรปควรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าของจีน "เนื่องจากประเทศต่างๆที่เป็นผู้นำในการพัฒนาและใช้ AI จะกำหนดอนาคตและปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของตนอย่างมีนัยสำคัญ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Times of India

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

เมื่อเรื่องราวเริ่มถูกเผยแพร่ AI สามารถช่วยระบุข่าวปลอมได้

ภาพจาก Rensselaer Polytechnic Institute

นักวิจัยของ Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ระบุว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถช่วยประเมินข่าวสารได้อย่างแม่นยำ แต่ก็ต่อเมื่อเรื่องราวเปิดเผยเป็นครั้งแรกเท่านั้น โดยรวมแล้วทีม RPI พบว่าการแทรกแซงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไม่ได้ผล เมื่อใช้กับเรื่องราวที่มีการพูดถึงบ่อยครั้ง ซึ่งผู้คนได้มีความคิดเห็นของตัวเองต่อเรื่องราวนั้นแล้ว คำแนะนำที่สร้างโดย AI ช่วยให้ผู้อ่านตัดสินได้ดีขึ้นเกี่ยวกับความถูกต้องของบทความข่าว เมื่อหัวข้อนั้นใหม่ยังใหม่มากก่อนที่จะมีผู้ให้ความคิดเห็น การแทรกแซงนี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อให้เหตุผลที่สอดคล้องกับกระบวนการคิดตามธรรมชาติของบุคคล เช่นการประเมินความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ให้มา หรือความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา Dorit Nero จาก RPI กล่าวว่า "หากเราสามารถเข้าถึงผู้คนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เรื่องราวนั้นถูกเผยแพร่ ใช้เหตุผลที่เจาะจงเพื่ออธิบายว่าเหตุใด AI จึงตัดสินแบบนั้น พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับคำแนะนำนั้นมากขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Rensselaer Polytechnic Institute