วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แผนที่ที่สร้างจากประชาชนเพื่อระบุตำแหน่งของกล้องสอดแนม

[Photo: Benedikt Geyer /Unsplash; Michael Daniels/Unsplash]

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Amnesty International วางแผนที่จะสร้างแผนที่ประชาชนเพื่อระบุกล้องวงจรปิดทุกตัวที่เปิดใช้งานการรู้จำใบหน้าใน New York City ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปอาสาสมัครจะสามารถใช้แอปบนสมาร์ทโฟนเพื่อระบุกล้องสอดแนมที่พวกเขาเห็น แอพนี้ใช้ Google Street View และ Google Earth ร่วมกัน เพื่อช่วยแท็กและแนบข้อมูลตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของกล้องเหล่านั้น แผนที่ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ "Ban the Scan (ต่อต้านการสแกน)" ของแอมเนสตี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเผยแพร่การตระหนักรู้ไปทั่วโลกเกี่ยวกับอันตรายจากการจดจำใบหน้าต่อสิทธิพลเมือง องค์กรยังหวังว่าจะเปิดตัวโครงการแผนนที่ที่สร้างจากประชาชนนี้ในเมืองอย่าง  New Delhi, West Bank, และ Ulaanbaatar ของ Mongolia ในเดือนต่อ ๆ ไป

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fast Company

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

อเมริกานำในการแข่งขันด้าน AI ในขณะที่จีนกำลังพุ่งขึ้นมา

Photo by Markus Winkler on Unsplash

จากการศึกษาข้อมูลในปี 2020 ของ Information Technology and Innovation Foundation ยืนยันว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกด้านการพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในขณะที่จีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสหภาพยุโรปยังตามหลังอยู่ การวิเคราะห์ตัวชี้วัด ซึ่งรวมถึงความสามารถของบุคลากร กิจกรรมการวิจัย การพัฒนาเชิงพาณิชย์ และการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจากการสำรวจให้คะแนนอเมริกา 44.6 จากคะแนนเต็ม 100 จีนตามมาด้วยคะแนน 32 และสหภาพยุโรปมีคะแนนเพียง 23.3 สหรัฐอเมริกาชนะคู่แข่งอย่างขาดลอย ในด้านการลงทุนกับบริษัทสตาร์ตอัพ และเงินทุนด้านการพัฒนา ในขณะที่จีนควบคุมซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงที่สุด 500 อันดับแรกของโลกมากที่สุดอยู่ที่ 214 เครื่อง เทียบกับสหรัฐ 113 เครื่อง และสหภาพยุโรป 91 เครื่อง  Daniel Castro จาก Information Technology and Innovation Foundation กล่าวว่าทั้งสหรัฐฯและยุโรปควรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าของจีน "เนื่องจากประเทศต่างๆที่เป็นผู้นำในการพัฒนาและใช้ AI จะกำหนดอนาคตและปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของตนอย่างมีนัยสำคัญ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Times of India

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

เมื่อเรื่องราวเริ่มถูกเผยแพร่ AI สามารถช่วยระบุข่าวปลอมได้

ภาพจาก Rensselaer Polytechnic Institute

นักวิจัยของ Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ระบุว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถช่วยประเมินข่าวสารได้อย่างแม่นยำ แต่ก็ต่อเมื่อเรื่องราวเปิดเผยเป็นครั้งแรกเท่านั้น โดยรวมแล้วทีม RPI พบว่าการแทรกแซงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไม่ได้ผล เมื่อใช้กับเรื่องราวที่มีการพูดถึงบ่อยครั้ง ซึ่งผู้คนได้มีความคิดเห็นของตัวเองต่อเรื่องราวนั้นแล้ว คำแนะนำที่สร้างโดย AI ช่วยให้ผู้อ่านตัดสินได้ดีขึ้นเกี่ยวกับความถูกต้องของบทความข่าว เมื่อหัวข้อนั้นใหม่ยังใหม่มากก่อนที่จะมีผู้ให้ความคิดเห็น การแทรกแซงนี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อให้เหตุผลที่สอดคล้องกับกระบวนการคิดตามธรรมชาติของบุคคล เช่นการประเมินความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ให้มา หรือความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา Dorit Nero จาก RPI กล่าวว่า "หากเราสามารถเข้าถึงผู้คนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เรื่องราวนั้นถูกเผยแพร่ ใช้เหตุผลที่เจาะจงเพื่ออธิบายว่าเหตุใด AI จึงตัดสินแบบนั้น พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับคำแนะนำนั้นมากขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Rensselaer Polytechnic Institute

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์ใช้หมึกแบบใหม่ล่าสุดเพื่อพิมพ์ 'กระดูก' 3 มิติด้วยเซลล์ที่มีชีวิต

Photo: UNSW

เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก University of New South Wales (UNSW) Sydney ของออสเตรเลียช่วยให้เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D) สามารถพิมพ์โครงสร้างที่เหมือนกระดูกด้วยเซลล์ที่มีชีวิต (living cell) ได้ นักวิจัยได้พัฒนาหมึกที่ประกอบด้วยแคลเซียมฟอสเฟตและเทคนิคใหม่ของพวกเขาที่เรียกว่าการพิมพ์ทางชีวภาพแบบเซรามิกรอบทิศทางในสารแขวนลอยของเซลล์ (ceramic omnidirectional bioprinting in cell-suspensions) หรือ  COBICS ซึ่งช่วยให้สามารถพิมพ์โครงสร้างคล้ายกระดูก 3 มิติที่แข็งตัวในไม่กี่นาทีเมื่ออยู่ในน้ำ นับเป็นครั้งแรกที่โครงสร้างดังกล่าวถูกสร้างขึ้นที่อุณหภูมิห้องโดยไม่มีสารเคมีรุนแรงหรือรังสีและยังสามารถรวมเซลล์ที่มีชีวิตเข้าไปได้ด้วย Kristopher Kilian จาก UNSW กล่าวว่า "เราสามารถเข้าไปในกระดูกได้โดยตรง ในที่ที่มีเซลล์ เส้นเลือด และไขมัน  จากนั้นพิมพ์โครงสร้างคล้ายกระดูกที่มีเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ได้ในบริเวณนั้นโดยตรง ในตอนนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถทำได้" 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of New South Wales (Australia)

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

จะฝึกหุ่นยนต์โดยใช้ AI และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร

 ตัวอย่างกลุ่มจุดที่สร้างจาก PCGAN ภาพจาก UT Arlington

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ University of Texas at Arlington (UT Arlington) กำลังใช้เครือข่ายปฏิปักษ์ร่วมกำเนิด (generative adversarial networks) หรือ GAN เพื่อฝึกหุ่นยนต์ให้รู้จักวัตถุต่าง  ๆ  การฝึกแบบนี้ปกติแล้วต้องใช้ชุดข้อมูลภาพขนาดใหญ่มาก แต่ GAN สามารถสร้างข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งทำให้สามารถฝึกสอนหุ่นยนต์ได้ในเพียงไม่กี่วินาที นักวิจัยได้พัฒนา PCGAN ซึ่งเป็น GAN แบบมีเงือนไขตัวแรกที่สามารถสร้างกลุ่มของจุดสีที่หนาแน่นได้ในโหมดที่ไม่ต้องฝึกสอน จากการประเมินตัวอย่างแบบสุ่ม 5,000 ตัวอย่างของวัตถุในแต่ละคลาส นักวิจัยพบว่า PCGAN สามารถสังเคราะห์กลุ่มของจุดที่มีคุณภาพสูงสำหรับ อะเรย์ที่แตกต่างกันของวัตถุในคลาสต่าง  ๆ นักวิจัยบอกว่าเรากำลังเริ่มจากจุดเล็ก ๆ และสร้างลำดับชั้นเพื่อนำไปสร้างฉากสังเคราะห์ที่สมบูรณ์ (full synthetic scene generation) ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหุ่นยนต์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Texas Advanced Computing Center