Courtesy of Deepmind |
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
Courtesy of Deepmind |
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
Photo by Moritz Knöringer on Unsplash |
สวัสดีปีใหม่ครับ ศรัณย์วันศุกร์วันนี้มาในวันปีใหม่พอดี เนื่องจากวันเริ่มต้นของปีนี้เป็นวันศุกร์ และเมื่อเริ่มต้นด้วยวันศุกร์ ก็หวังว่ามันจะเป็นปีที่ทำให้เรามีความสุขกันทุกคนนะครับ
ในวันนี้ผมก็อยากจะเริ่มต้นด้วยการมองย้อนไปในปีที่แล้วจากการเขียนบทความลงในบล็อกนี้ของผมแล้วกันนะครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านบล็อกนะครับ เริ่มจากต้นปีมียอดวิวอยู่ที่ประมาณ 120,000 กว่าวิว จนถึงวันสุดท้ายของปีมียอดวิว 150,000 กว่าวิว ถ้าเอากลม ๆ ก็คือ ปีนี้มีผู้เข้ามาอ่านบล็อกทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าครั้ง ก็ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
ถึงแม้ผมจะทำสำเร็จตามที่ตั้งปณิธานไว้ในปีที่แล้ว คือสรุปข่าวไอทีเขียนลงบล็อกวันละหนึ่งเรื่อง แต่บทความที่ถูกอ่านมากที่สุดกลับเป็นบทความเกี่ยวกับอ.วีระกับ Apple ซึ่งโพสต์ไว้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว กับบทความสรุปให้ฟังอีกครั้งซึ่งเขียนในปีที่แล้ว ส่วนสรุปข่าวไอทีที่เขียนให้อ่านทุกวันก็พอมียอดอ่านอยู่บ้าง ก็หวังว่าในปีนี้จะเข้ามาอ่านกันให้มากขึ้นนะครับ ซึ่งผมจะพยายามคัดสรรเรื่องที่น่าสนใจมาให้อ่านกันต่อไปครับ ส่วนศรัณย์วันศุกร์ก็จะพยายามหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้บ่อย ๆ ขึ้นในทุก ๆ วันศุกร์ครับ
และสำหรับใครที่สนใจบทความด้าน Computing ก็ขอฝากบล็อกนี้ของผมไว้ด้วยครับ ซึ่งเอาจริง ๆ ปีที่แล้วก็ไม่ได้เขียนมากนัก เนื่องจากไม่มีเวลา เพราะจัดสรรเวลาแต่ในปีนี้ผมตั้งใจว่าจะเขียนให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละบทความครับ
ในปีนี้ปณิธานของผมที่ตั้งใจจะทำให้ได้ก็คือจัดสรรเวลาให้ดีขึ้นเพื่อจะได้มีเวลาพัฒนาตัวเองตามที่ตั้งใจไว้มาหลายปีแล้ว และดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้มีกำลังดูแลคนในครอบครัว และเมื่อแก่ตัวลงมากกว่านี้จะได้ไม่เป็นภาระของคนในครอบครัวครับ ส่วนใครที่มีปณิธานอะไรก็ขอให้ทำได้ตามที่ตั้งใจไว้นะครับ
ขอให้เป็นปีที่ดีสำหรับทุกคนครับ
AI Guard ของ Secom ภาพจาก KYODO |
ในขณะเดียวกัน Sohgo Security Services (Alsok) ได้ติดตั้งกล้อง 4K ที่หอคอย Tokyo Skytree เพื่อทดสอบความสามารถในการติดตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ ยิ่งไปกว่านั้นคุกในจังหวัด Yamaguchi ใช้โดรนลาดตระเวณติดกล้องของ Secom ให้บินตรวจตราตามเส้นทางที่ต้องการ เจ้าหน้าที่จาก Alsok บอกว่า 4K, AI และ 5G จะเป็นสามเสาหลักด้านความปลอดภัยนับจากนี้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Japan Times
Photo by Brooke Lark on Unsplash |
นักวิจัยจาก Ben-Gurion University of the Negev (BGU) อิสราเอลพบว่า ผู้ใช้งานออนไลน์จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเว็บไซต์ นักวิจัยได้ทดลองโดยประเมินการสมัครสมาชิก โดยปรับเปลี่ยนลำดับการป้อนข้อมูลอย่างเช่นชื่อ ที่อยู่ และอีเมล โดยพบว่าถ้าถามข้อมูลที่ไม่ค่อยมีความสำคัญก่อน แล้วค่อยถามข้อมูลที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น จะทำให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น การแยกการร้องขอออกเป็นหลาย ๆ หน้า จะมีส่วนทำให้ข้อมูลรั่วไหลมากขึ้น นักวิจัยบอกว่าคนทั่วไป และผู้ดูแลกฏระเบียบควรตระหนักถึงช่องโหว่นี้ เพราะมันง่ายมากที่จะเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนตัว
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ben-Gurion University of the Negev (Israel)
ภาพจาก SINTEF |
นักวิจัยจากสถาบัน SINTEF ประเทศนอร์เวย์ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ใต้น้ำที่จะติดตามปลาในกระชังโดยอัตโนมัติ หุ่นยนต์นี้ชื่อ CageReporter ซึ่งใช้ระบบระบุตำแหน่งใต้น้ำและระบบคอมพิวเตอร์วิชันแบบสามมิติ ในการระบุสภาพของตาข่ายและปลาในกระชัง ระบบนี้ยังใช้ขั้นตอนวิธีด้านปัญญาประดิษฐ์ในการติดตามพฤติกรรมของฝูงปลา ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของมันโดยไม่รบกวนมัน CageReporter ยังใช้เซ็นเซอร์ที่อยู่บนตัวมันในการวัดอุณหภูมิของน้ำ และระดับของแสงและอ็อกซีเจน ถ้าหุ่นยนต์ตรวจพบความผิดปกติมันจะรายงานตำแหน่งของมันกับกับสถานีฐานโดยใช้สัญญาณอัลตราซาวด์
นักวิจัยบอกว่าเทคโนโลยีนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญและแม่นยำอย่างมาก อย่างเช่นสุขภาพของปลาและสภาพของน้ำ ในอนาคตเราอาจสามารถทำอุตสาหกรรมสัตว์น้ำโดยไม่ต้องใช้คนเลยก็ได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Atlas