วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

IBM สร้างโปรแกรมการศึกษาและวิจัยด้าน Quantum แห่งแรก

ภาพจาก ACM

IBM ประกาศว่าได้สร้างโปรแกรมการศึกษาและวิจัยด้านควอนตัม (Quantum) ขึ้นเป็นแห่งแรกสำหรับ  Historically Black Colleges and Universities (HBCU) ซึ่งนำโดย  Howard University และ HBCU อีก 12 แห่ง IBM-HBCU Quantum Center จะให้การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ IBM และจะมีส่วนร่วมด้านการศึกษา และความพยายามในการเข้าถึงประชาคม จุดประสงค์เริ่มต้นคือเตรียม และสร้างผู้มีความสามารถที่ HBCU ในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ให้พร้อมสำหรับยุคของควอนตัม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: HPCwire

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีด้าน AI ช่วยมองหาคนขับรถที่เป็นอันตราย

ภาพจาก ECU News

ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก  Australia’s Edith Cowan University (ECU) และ University of Melbourne และ University of Malaysia ซึ่งเป็นระบบที่ใช้เครือข่ายประสาทเทียมของระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับป้ายทะเบียนได้ในทุกเงื่อนไข และประมวลผลได้ในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งถ้าใช้ร่วมกับระบบรู้จำใบหน้าจะสามารถตรวจจับคนขับรถที่กำลังพูดโทรศัพท์อยู่ หรือคนขับที่กำลังหลับอยู่ หรือมีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ นักวิจัยบอกว่าด้วยความเร็วและประสิทธิภาพของวิธีที่ก้าวหน้านี้ เรากำลังจะเปลี่ยนวิธีการที่จะดูแลการจราจร

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Edith Cowan University (Australia)


เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

รูปมาจากเว็บไซต์ข่าว แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเอารูปถนนในกรุงเทพไปใช้ 

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

โปรตีนที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ช่วยป้องกันเซลล์ของมนุษย์ที่ถูกเลี้ยงมาในห้องทดลองจาก SARS-CoV-2

Photo by Photoholgic on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Washington (UW) School of Medicine in Seattle และ Washington University School of Medicine ใน St. Louis ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นเกราะหุ้มเซลล์ของมนุษย์ที่ถูกเลี้ยงในห้องทดลองจาก SARS-CoV-2 ซึ่งก็คือโคโรนาไวรัสที่เป็นต้นเหตุของ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา นักวิจัยจาก UW School of Medicine ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบโปรตีนกว่าสองล้านตัวซึ่งเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นกับ โปรตีนขัดขวาง SARS-CoV-2 และยับยั้งเซลที่ติดเชื้อ จากนั้นโปรตีนกว่า 118,000 ตัวถูกผลิตและทดสอบ ซึ่งนำไปสู่ยาต้านไวรัสตัวหนึ่งคือ LCB1 นักวิจัยเชื่อว่าการใช้ยาต้านไวรัสที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เป็นวิธีการที่น่าจะให้ผลอย่างมาก พวกมันสามารถกันการติด SARS-CoV-2 ได้ดีอย่างน้อยเทียบเท่ากับ  monoclonal antibodies แต่สร้างง่ายกว่ามาก และยังเสถียรกว่าด้วย 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: News-Medical

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

ความพึงพอใจต่ออาชีพวิศวกรในอเมริกาสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดแต่เงินเดือนเพิ่มขึ้นช้า

ภาพจาก: iStockphoto

จากการสำรวจล่าสุดของ IEEE ด้านเงินเดือนและสวัสดิการของผู้ประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยีที่เป็นสมาชิกของ IEEE พบว่ามีรายได้ต่อปีอยู่ที่ $148,500 ในปี 2019 เพิ่มขึ้น 2.4% จากปี 2018 แต่ความพึงพอใจต่องานกลับสูงขึ้น โดยเกิน 1.0 จากสเกล -2 ถึง +2 เป็นครั้งแรก โดยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในทุกด้านรวมถึงด้านความท้าทายทางเทคโนโลยี การสนับสนุนของนายจ้างด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ค่าตอบแทน และโอกาสที่จะก้าวหน้า วิศวกรด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคมีมัธยฐานเงินเดือนสูงสุดคือ $185,000 ในขณะนักการศึกษามีมัธยฐานเงินเดือนต่ำสุดคือ $105,707 และเงินเดือนของผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ของเครื่องลดลงจาก $185,000 ในปี 2018 มาเป็น $130,800 ในปี 2019 นอกจากนี้จากผู้สอบถามทั้งหมดที่ทำงานเต็มเวลา มี 8.6% ที่เป็นผู้หญิง และช่องว่างระหว่างเงินเดือนของผู้หญิงกับผู้ชายเพิ่มขึ้น 18% ในหนึ่งปี นอกจากนี้ช่องว่างของเงินเดือนระหว่างคนคอเคเซียนกับคนแอฟริกันอเมริกันยังกว้างขึ้นด้วย 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

ทำไม C++ กระโดดขึ้นมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

Photo by Caspar Camille Rubin on Unsplash


Tiobe Software บอกว่า ตอนนี้ C++ เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่เติบโตขึ้นมาเร็วที่สุด โดยขึ้นมาอยู่อันดับสี่จากดัชนีภาษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดของบริษัทในเดือนกันยายน 2020  ตามหลังภาษา C, Java และ Python โดย Paul Jansen จาก Tiobe บอกว่า C++ เคยขึ้นอยู่จุดสูงสุดที่ 17.53% เมื่อปี 2003 โดยเขาบอกว่าการมาถึงของ C++ 20 อาจเป็นส่วนหนึ่งของคำอธิบายว่าทำไมมันจึงกลับมาได้รับความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งจากการประกาศรับรองเวอร์ชันสมบูรณ์ของ C++ 20 ซึ่งเป็นการอัพเดตใหญ่ของภาษานับจากปี 2017 โดยมีคุณลักษณะใหม่คือ "module" และ "coroutine" ซึ่ง Jansen บอกว่าจะมาแทนที่กลไก include อันน่าสะพรึงกลัว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet