วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักวิทยาศาสตร์พิมพ์ตึกสร้างจากดินโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ

ตึกในดูไบที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยเทคโนโลยีนี้ใช้สร้างสถาปัตยกรรมส่วนหน้าอาคาร (facade) ทั้งหมด[ภาพโดย: Satish Kumar/Reuters]

นักวิจัยจาก Texas A&M University ได้พัฒนาเทคนิคในการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อพิมพ์ตึก โดยวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์คือดิน ซึ่งนักวิจัยคาดหวังว่าวิธีนี้จะสร้างตึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนการใช้คอนกรีต ทีมนักวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะพิมพ์โครงสร้างออกมาโดยใช้ดินที่เอามาจากสวนทั่ว ๆ ไป นักวิจัยบอกว่าขณะนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการปรับปรุงความสามารถในการรับน้ำหนักให้กับดิน เพราะนี่คือส่วนสำคัญที่จะทำให้สามารถใช้แทนคอนกรีตได้ นักวิจัยบอกว่าปัญหาของการใช้คอนกรีตคือ มันนำมารีไซเคิลไม่ได้ และยังต้องใช้พลังงานมากมายในการผสม และเคลื่อนย้าย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Guardian

 



วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอาจสอนหุ่นยนต์ให้ทำงานชนะคนได้


[ภาพจาก U.S. Army Research Laboratory

นักวิจัยจาก U.S. Army Combat Capabilities Development Command's Army Research Laboratory (ARL) และ University of Texas at Austin ได้พัฒนาขั้นตอนวิธีที่จะช่วยให้รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองปรับปรุงระบบนำทางของตัวเอง โดยสังเกตจากการขับรถของคนจริง ๆ ขั้นตอนวิธีนี้นี้มีชื่อว่า APPLD (adaptive planner parameter learning from demonstration) ที่จะทำให้ระบบทำเหมือนกับที่คนสาธิตให้ดู ในขณะเดียวกันก็ยังคงความสามารถในการนำทางแบบเดิมไว้ ตัวอย่างการสาธิตก็ให้คนขับรถจำลองโดยใช้ตัวควบคุมไร้สายของ Xbox โดยระบบจะสังเกตว่าเมื่อคนขับ ขับรถผ่านในที่ที่เป็นทางแคบ เขาก็จะขับช้าลง และระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งหุ่นยนต์ก็จะเรียนรู้ที่จะลดความเร็วสูงสุดลงมา และเพิ่มการคำนวณต่าง ๆ ให้มากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการทำแบบนี้หุ่นยนต์สามารถเดินทางผ่านเส้นทางแคบที่มันไม่สามารถผ่านไปได้ก่อนหน้า นักวิจัยคาดหวังว่า ขั้นตอนวิธีนี้จะช่วยฝึกสอนรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองในสมรภูมิ ให้ทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่ธุรกันดาร

อ่านข่าวเต็มได้ที่: U.S. Army Research Laboratory


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้ช่วยเสมือนช่วยคัดกรองสายเรียกเข้าจากระบบอัตโนมัติ

 

You won’t be hearing from them anymore

Juj Winn/Getty Images

นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology พัฒนาผู้ช่วยเสมือนเพื่อคัดกรองสายเรียกเข้าเพื่อบล็อกสายจากระบบอัตโนมัติที่โทรเข้ามา เบอร์โทรที่ไม่อยู่ในรายชื่อผู้ติดต่อจะถูกส่งต่อไปยังผู้ช่วยเสมือน ซึ่งจะบอกให้สายที่โทรเข้าระบุชื่อผู้รับ ถ้าสายที่โทรเข้ามาตอบมา ผู้ช่วยเสมือนจะขัดจังหวะ และพูดว่า  "ขอโทษด้วย ไม่ได้ยิน คุณช่วยบอกชื่อคนที่คุณจะโทรหาอีกครั้งได้ไหม" ถ้าคนโทรมาเป็นคนจริง ก็จะหยุดการสนทนา ผู้ช่วยจะส่งต่อการโทรไปยังผู้รับ และบันทึกข้อมูลลงในแอปพลิเคชัน ระบบนี้บล็อกการโทรเข้าจากสายโทรเข้าอัตโนมัติ 8000 รายการได้ 100% และบล็อกสายที่เป็นคนโทรเข้ามาได้ 97.8% จาก 21 สาย ซึ่งพูดกับผู้ช่วยแต่ระบุชื่อคนรับผิด  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

AI ของ Facebook ช่วยให้ได้ภาพจาก MRI เร็วขึ้น 4 เท่า

รูปซ้ายภาพจาก MRI ที่ใช้ข้อมูล 1 ใน 4 ของรูปเต็ม รูปขวาภาพที่สร้างจาก AI โดยใช้ภาพซ้าย
ภาพจาก The Daily Mail

Facebook และผู้เชี่ยวชาญจาก New York University ได้พัฒนาตัวแบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบเปิดเผยรหัสเพื่อช่วยสร้างภาพที่ขาดหายไปจากการสแกนด้วย MRI ประโยชน์ของการทำแบบนี้ก็คือการสแกนด้วย MRI เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์จะใช้เวลานานมาก แต่ด้วยวิธีนี้สามารถสแกนภาพให้มีรายละเอียดน้อยลงและใช้ AI ช่วยสร้างภาพที่สมบูรณ์ขึ้นมา จากการฝึกสอนด้วยภาพจากการสแกนแบบเต็มรูปแบบเป็นพันภาพ และทดสอบกับนักฉายภาพรังสีหกคน ผลการทดสอบพบว่าวิธีนี้เที่ยงตรง และช่วยให้ได้ภาพที่มีความคุณภาพสูงแต่ใช้เวลาเร็วขึ้นสี่เท่า นักวิจัยบอกว่าตัวแบบนี้สามารถทำให้ MRI เร็วเท่าหรือเร็วกว่าการเอกซ์เรย์ โดยมีข้อมูลให้วิเคราะห์มากกว่า และไม่ต้องใช้รังสีด้วย  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Daily Mail

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จะดีแค่ไหนถ้าเราควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของเราจากแอปมือถือได้ดีขึ้น

Source: Jan Vašek from Pixabay

ในแต่ละปีนักพัฒนาแอปมือถือได้เงินเป็นพันล้านเหรียญจากการขายข้อมูลที่เก็บมาจากมือถือของลูกค้า และพวกเขาไม่ได้ให้ทางเลือกที่ง่ายนักกับผู้ใช้ในการป้องกันเรื่องดังกล่าว แม้ว่า iOS  และ Android จะเพิ่มการรวบรวมข้อมูลด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว จะช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น แต่จากการศึกษาพบว่าผู้ใช้ยังต้องวุ่นวายกับข้อมูลมากมาย และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ จริง ๆ แล้วการควบคุมความเป็นส่วนตัวแบบนี้ขาดการแยกจุดประสงค์ที่ต่างกันของการเก็บข้อมูล นักวิจัยจาก Cylab ของ Carnegie Mellon University ได้พัฒนาผู้ช่วยความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องช่วยให้ผู้ใช้ที่ใช้แอปมือถือควบคุมข้อมูลของตัวเองได้ดีขึ้น โดยไม่ต้องไปปวดหัวกับการตอบข้อมูลด้านความส่วนตัวมากเกินไป นักวิจัยบอกว่าในปัจจุบันผู้ใช้โดยเฉลี่ยจะมีแอปติดตั้งอยู่บนมือถือ 70 ตัว และแต่ละตัวผู้ใช้ต้องตอบคำถามด้านความเป็นส่วนตัวประมาณ  3 คำถาม ต่อแอป นั่นหมายความว่าผู้ใช้ต้องตอบคำถามกว่า 200 คำถาม ผู้ช่วยความเป็นส่วนตัวที่พัฒนาขึ้นนี้จะถามด้านความเป็นส่วนตัวจากผู้ใช้ประมาณ 5-6 คำถาม นำมาสร้างเป็นโพรไฟล์ของความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้เป็นตัวอนุมานตัวเลือกด้านความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าตัวผู้ช่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ในบางกรณี ซึ่งนักวิจัยบอกว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ประมาณ 10% ของการใช้งาน ก็จะถามผู้ใช้เพิ่มเติมอีกเพียงหนึ่งหรือสองคำถาม

 อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University