วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Google ให้ทุนการศึกษา 100,000 ทุน เพื่อให้เรียนประกาศนียบัตรออนไลน์

The Google logo outside if its New York City offices, which were closed on May 19, 2020 due to the coronavirus pandemic.

[ภาพจาก CNBC]

Google เริ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรออนไลน์ใหม่ ด้าน Data Analytics, Project Management, และ UX design ซึ่งสอนโดยพนักงานของ Google และใช้แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ Coursera โดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีปริญญาใด ๆ ก่อนที่จะเข้าเรียน และแต่ละวิชาสามารถเรียบจบได้ในช่วงเวลา 3-6 เดือน โดย Google บอกว่าจะพิจารณาว่าประกาศนียบัตรเหล่านี้เท่ากับระดับปริญญาตรีซึ่งใช้เวลาเรียน 4 ปี สำหรับตำแหน่งงานใน Google 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียนผ่านแพลตฟอร์ม Coursera จะอยู่ที่ $49 ต่อเดือน แต่ Google จะให้ทุนการศึกษา 100,000 ทุน สำหรับคนที่ลงทะเบียนเรียนหนึ่งในโปรแกรมประกาศนียบัตรเหล่านี้ และจะมอบทุน $10 ล้านเหรียญให้กับองค์กรอย่าง YWCA, NPower, และ JFF ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร และร่วมมือกับ Google ในการพัฒนาแรงงานที่เป็นผู้หญิง ทหารผ่านศึก และผู้ด้อยโอกาส 

Google เลือก Data Analytics, Project Management, และ UX design มาเป็นโปรแกรมที่ใช้สอนนี้เนื่องจากเป็นสาขาที่กำลังเติบโตและมีเงินเดือนสูง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNBC

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Deepfake ถูกใช้เพื่อใส่ร้ายคู่สามีภรรยานักกิจกรรม

ถ้าไปค้นในอินเทอร์เน็ตจะพบว่าชายที่ชื่อ Oliver Taylor เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในประเทศอังกฤษ อายุประมาณ 20 ปี มีตาสีน้ำตาล เป็นคนรักกาแฟ ถูกเลี้ยงมาในครอบครัวชาวยิวธรรมดา และมีงานบรรณาธิการและบล็อกโพสต์กว่า 6 ชิ้นที่แสดงความสนใจด้านการต่อต้านชาวยิวและกิจกรรมของชาวยิว และยังได้พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์อย่าง Jerusalem Post และ Times of Israel ด้วย แต่สุดท้ายอาจกลายเป็นว่า Taylor นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง? 

แสดงการวิเคราะห์รูปโปรไฟล์ของ Tylor ว่าสร้างจาก DeepFake 
[ภาพจาก: Reuters]

เรื่องของ Taylor ได้รับความสนใจจนนำไปสู่การตรวจสอบเมื่อ Taylor ไปเขียนบทความโจมตีนักการศึกษาที่อยู่ในลอนดอนคือ Mazen Marsri ซึ่งเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ในบทความที่ตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ชาวยิวในอเมริกา โดยบอกว่า Marsri และภรรยาเป็นผู้ที่สนับสนุนผู้ก่อการร้าย 

จากการตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยพบว่าไม่มีข้อมูลของเขา และเขาก็ไม่ได้มีร่องรอยของการออนไลน์นอกจากการไปตอบคำถามในเว็บไซต์ถามตอบ Quora ซึ่งก็มีการใช้งานอยู่สองวันในเดือนมีนาคม หนังสือพิมพ์สองฉบับที่เผยแพร่งานของเขาก็พยายามแต่ไม่สามารถระบุตัวตนของเขาได้ ผู้เชี่ยวชาญใช้โปรแกรมที่ทันสมัยที่สุดทางนิติเวชมาวิเคราะห์รูปโพรไฟล์ของเขา และได้ผลว่ามันเป็นรูปที่ถูกสร้างขึ้นโดยเทคนิคที่เรียกว่า deepfake ทางสำนักข่าว Reuter ยังไม่รู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังตัวตนปลอมนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Reuters

เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

Deepfake เป็นการใช้เทคนิคที่เรียกว่า deep learning ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ AI ในการสร้างภาพ หรือวีดีโอจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แบบที่ดูเหมือนจริงมาก สำหรับใครที่อยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ Deepfake สามารถดูได้จากวีดีโอนี้ครับ 


 

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ในญี่ปุ่นกำลังจะทำงานในร้านสะดวกซื้อ

ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ หุ่นยนต์จากผู้พัฒนาในญี่ปุ่นชื่อ Telexistence จะเตรียมอาหารในร้านสะดวกซื้อ FamilyMart  โดยมีแผนการจะขยายให้ได้ 20 สาขาในโตเกียวภายในปี 2022 


ภาพจาก: Reuters

ในตอนเริ่มต้นจะให้คนเป็นคนคุ่มหุ่นยนต์จากระยะไกล จนกว่า AI จะเรียนรู้และเลียนแบบการทำงานของคนได้ บริษัทบอกว่าการทำแบบนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก หุ่นยนต์นี้ถูกเรียกว่า T Model โดยถูกออกแบบให้มีลักษณะเหมือนจิงโจ้ เพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกไม่สะดวกใจถ้ารูปลักษณ์ของหุ่นยนต์เหมือนคนมากเกินไป


อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ขากรรไกรเพื่อช่วยผลิตหมากฝรั่งทางการแพทย์

จากการศึกษาของนักวิจัยที่ University of Bristol ประเทศอังกฤษ พบว่าหุ่นยนต์ที่เลียนแบบขากรรไกรของคนในการบดเคี้ยว จะช่วยให้บริษัทยาผลิตหมากฝรั่งทางการแพทย์ได้ โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบปริมาณไซลิทอล (xylitol) ที่เหลืออยู่ในหมากฝรั่งจากการเคี้ยวของหุ่นยนต์ เทียบกับคนไข้ที่เข้ารับการทดลอง 


[รูปภาพจาก: University of Bristol News (U.K.)]

นักวิจัยยังต้องการประเมินปริมาณของไซลิทอลที่ถูกปล่อยออกจากหมากฝรั่งอีกด้วย ซึ่งผลการทดลองพบว่าอัตราการปล่อยไซลิทอลในคนกับหุ่นยนต์มีอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยปริมาณไซลิทอลที่ถูกปล่อยออกมามากที่สุดจะอยู่ใน 5 นาที่แรก และหลังจากเคี้ยวไป 20 นาที จะมีปริมาณไซลิทอลเหลืออยู่ในหมากฝรั่งค่อนข้างน้อย นักวิจัยบอกว่าหุ่นยนต์นี้จะช่วยให้บริษัทผลิตยาได้ทดลองหมากฝรั่งทางการแพทย์ โดยลดการทดลองกับคนไข้จริงและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bristol News (U.K.)

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การสัมภาษณ์งานด้านเทคโนโลยีเป็นการประเมินความตื่นเต้นไม่ใช่ทักษะ

นักวิจัยจาก North Carolina State University (NC State) และ Microsoft พบว่าการสัมภาษณ์ด้านเทคนิคในตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ไม่ได้เน้นไปที่ความสามารถในการเขียนโปรแกรม แต่เป็นการดูว่าใครจัดการกับความตื่นเต้นได้ดีกว่ากัน เพราะการสัมภาษณ์งานในตำแหน่งนี้มีการให้ผู้สมัครเขียนโปรแกรมลงบนกระดาน และอธิบายโปรแกรมให้ผู้สอบสัมภาษณ์ฟังไปด้วย 

person writes on whiteboard

[รูปภาพจาก: NC State University News]

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยการแบ่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยกลุ่มหนึ่งให้สัมภาษณ์แบบเขียนกระดานและอธิบายโปรแกรม อีกกลุ่มหนึ่งให้เขียนโปรแกรมในห้องส่วนตัวที่ไม่มีผู้สัมภาษณ์อยู่ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่าบริษัทอาจจะเสียนักเขียนโปรแกรมที่เก่ง ๆ ไป เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่คุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมบนกระดานไปด้วยและอธิบายสิ่งที่เขาเขียนออกมาดัง ๆ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NC State University News