อ่านข่าวเต็มได้ที่: VentureBeat
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ACM เรียกร้องให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเลิกการใช้เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า
คณะกรรมการด้านเทคโนโลยีของ ACM (Association for Computing Machinery) สหรัฐอเมริกา ได้ออกข้อเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายให้ภาครัฐและองค์กรธุรกิจหยุดการใช้เทคโนโลยีรู้จำใบหน้าทันที ACM ให้เหตุผลว่าเทคโนโลยีนี้ยังไมสมบูรณ์พอ และมีช่องโหว่ด้านความลำเอียงระหว่างเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ และเพศ ข้อเรียกร้องของ ACM ยังพูดถึงกฎเกณฑ์การควบคุม ซึ่งรวมไปถึงการไม่ยอมรับอัตราข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเชื้อชาติ เพศ และปัจจัยด้านประชากรศาสตร์อื่น ๆ และยังมีข้อเสนอแนะให้มีการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก และให้รัฐบาลดูแลอย่างเข้มงวด ต้องบอกประชาชนให้ชัดเจนว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า และต้องระบุกรณีที่จะมีการใช้งานให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มติดตั้งใช้งาน และบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะต้องรับผิดชอบถ้าเทคโนโลยีนี้ทำความเสียหายให้กับบุคคล
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
หุ่นยนต์ AI กำลังจะได้รับบทนำในหนัง Sci-Fi
ภาพยนต์เชิงวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าฉายให้เราดูกัน ได้นำหุ่นยนต์เหมือนคนมารับบทนำเป็นครั้งแรกในภาพยนต์ หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า Erica ถูกสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นสองคนคือ Hiroshi Ishiguro และ Kohei Ogawa ผู้อำนวยการสร้างคือ Sam Khoze บอกว่า "เธอ (หุ่นยนต์ Erica) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับบทนี้โดยเฉพาะ เราจำลองการเคลือนไหวและอารมณ์ของเธอ แบบหนึ่งฉากต่อหนึ่งฉาก เช่นควบคุมความเร็วของการเคลื่อนไหว การพูดออกมาจากอารมณ์ สอนการพัฒนาการคุณลักษณะ และภาษากาย" หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า b มีทุนสร้าง $70 ล้านเหรียญ โดยกำหนดฉายยังไม่ระบุ แต่จะไม่เร็วกว่าปลายปีหน้า ลักษณะหน้าตาของหุ่นยนต์ดูได้จากข่าวเต็มครับ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Popular Mechanics
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
สร้อยคอจาก NASA ช่วยสู้ COVID
นักวิจัยจากNational Aeronautics and Space Administration (NASA) Jet Propulsion Laboratory ได้พัฒนาสร้อยคอซึ่งถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยสร้อยคอนี้มีเซ็นเซอร์ที่จะทำให้สร้อยคอสั่นเมื่อตรวจจับได้ว่าคนใส่กำลังจะเอามือแตะหน้า โดยจะยิ่งสั่นแรงขึ้นเมื่อมือเข้าใกล้หน้ามากขึ้น NASA บอกว่าสร้อยคอนี้สร้างง่ายและเข้าถึงได้ง่าย โดยวิธีการสร้างและรายการของชิ้นส่วนที่จำเป็นในการสร้าง มีการเปิดเผยเป็นสาธารณะให้คนที่ต้องการสร้างไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับรูปภาพ วีดีโอแสดงการใช้งาน และลิงก์การสร้างดูได้จากข่าวเต็มครับ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNet
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
โปรแกรมเรียกค่าไถ่ปลอมตัวเป็นโปรแกรมติดตาม COVID
นักวิจัยจาก ESET ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคลในซโลวัค บอกว่าผู้โจมตีทางไซเบอร์ได้ปล่อยแอปซึ่งเป็นมัลแวร์ลงบนที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผ่านทางเว็บไซต์ (ซึ่งปัจจุบันเข่้าถึงไม่ได้แล้ว) โดยบอกว่ามันคือแอปอย่างเป็นทางการของแคนาดาสำหรับการติดตามผู้ที่มีการสัมผัสกับคนที่เป็น COVID-19 จริง ๆ แล้วแอปตัวจริงยังไม่ปล่อยออกมา โดยจะปล่อยออกมาเร็วที่สุดเดือนหน้า แอปปลอมตัวนี้จะติดตั้งโปรแกรมเรียกค่าไถ่ชื่อ CryCryptor ลงบนเครื่องของเหยื่อ และจะเข้ารหัสไฟล์บนเครื่อง โดยจะเข้ารหัสไฟล์ที่มีนามสกุล (ส่วนขยาย) ตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม อย่างไรก็ตาม ESET ได้ปล่อยคีย์ถอดรหัสของเวอร์ชันแรกของโปรแกรมเรียกค่าไถ่นี้เรียบร้อยแล้ว ESET บอกว่าโปรแกรมตัวนี้ถูกดัดแปลงมาจากซอร์ซโค้ดที่ถูกอัพโหลดขึ้นไปบน Github โดยผู้พัฒนาตั้งชื่อโปรเจ็คว่า CryDroid และบอกว่ามันเป็นโครงการวิจัย
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ในวันที่เขียนข่าวนี้ CryDroid ยังเปิดให้ดาวน์โหลดได้ โดยผู้พัฒนามีคำเตือนไว้ใน Github ของตัวเองว่าการเอาโค้ดไปจู่โจมเป้าหมายโดยไม่ได้รับความยินยอมของเป้าหมายถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด และผู้พัฒนาขอไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายจากการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในทางที่ผิด
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
อุปกรณ์ในบ้านอัจฉริยะสามารถบอกพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคความจำเสื่อม
นักวิจัยจาก Gonzaga University และ Washington State University ได้พัฒนาขั้นตอนวิธีใหม่ที่จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากอุปกรณ์ในบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Devices) เพื่อที่จะวัดความถดถอยในด้านการรับรูู้ของผู้ใช้เมื่อเวลาผ่านไป ขั้นตอนวิธีนี้มีชื่อว่า Behavior Change Detection for Groups (BCD-G) จะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของคนในบ้าน โดยการทดลองนี้ระบบได้ติดตามพฤติกรรมของคน 14 คน ในบ้านของพวกเขาเองเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยมี 7 คน จาก 14 คนนี้ที่มีอาการของโรคความจำเสื่อมโดย BCD-G ประเมินกิจกรรม 16 อย่าง ซึ่งรวมถึง การอาบน้ำ ทำอาหาร นอนหลับ ทำงาน และกินยา โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมของทั้งสองกลุ่ม โดยเปรียบเทียบคนที่มีอายุและระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน นักวิจัยบอกว่าขั้นตอนวิธีนี้ขะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ที่ดูแลทราบว่าใครที่มีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)