อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
นักวิจัยอิสราเอลพัฒนาวิธีการตรวจโคโรนาแบบกลุ่มได้ผลเร็วขึ้น 8 เท่า
ทีมนักวิจัยจากอิสราเอลได้ร่วมกันพัฒนาขั้นตอนวิธีที่ทำให้สามารคัดกรองผู้ติด COVID-19 โดยสามารถทดสอบเป็นกลุ่มได้ ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรง และสามารถตรวจตัวอย่างได้พร้อมกัยที่ละหลาย ๆ ตัวอย่าง ทำให้ประหยัดเวลา เงิน และปริมาณของชุดตรวจที่ต้องใช้ หลักการทำงานของวิธีนี้คือ เอาตัวอย่างที่จะทดสอบมาใส่เครื่องพร้อม ๆ กัน ทีละ 384 ชิ้น โดยตัวอย่างจากคนไข้ 1 คน จะแยกเป็น 6 ชิ้น โดยใช้หุ่นยนต์ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ใช้การทดสอบแค่ 48 ครั้งสำหรับตัวอย่าง 384 ชิ้น และตัวอย่างของคนไข้ 1 คน จะได้รับการทดสอบทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องขึ้นด้วย
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
หุ่นยนต์ซื้อของได้รับความนิยมในเมืองในอังกฤษช่วงปิดเมือง
หุ่นยนต์หกล้อที่ใช้ส่งสินค้าจากร้านค้าปลีกกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในเมือง Milton Keynes ในอังกฤษ ในช่วงปิดเมืองเนื่องจากไวรัสโคโรนา หุ่นยนต์นี้เป็นของบริษัท Starship ซึ่งใช้ส่งของฟรีให้กับบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ่นยนต์นี้ได้ส่งของไปแล้วกว่าแสนเที่ยว ซึ่งทางบริษัทบอกว่าจะขยายการใช้หุ่นยนต์นี้กับผู้คนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตนี้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ุอุปกรณ์ช่วยติดตามพฤติกรรมนักสูบ
ทีมนักวิจัยจาก Cornell ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่จะติดตามพฤติกรรมการสูบของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อที่อาจจะได้ใช้ช่วยควบคุมการติดบุหรี่ของผู้สูบได้ นักวิจัยได้พัฒนาแบตเตอรีที่เขาเรียกว่า PuffPacket ขึ้นมาสามเวอร์ชัน ทำให้สามารถติดเข้าได้กับบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ และมันก็ใช้สัญญาณจากตัวบุหรี่ และเทคโนโลยีบลูทูชเพื่อติดตามความแรง ช่วงเวลา และความถี่ของการสูบ โดยส่งข้อมูลไปที่สมาร์ทโฟน ซึ่งก็จะบันทึกสถานที่ เวลา และกิจกรรมที่ทำในตอนสูบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยให้รู้ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้างที่กระตุ้นให้สูบบุหรี่ ซึ่งนักวิจัยหวังว่า PuffPacket จะข่วยให้คนสูบได้รู้ปริมาณนิโคตินที่ตัวเองได้รับเข้าไป และช่วยให้นักวิจัยเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้คนสูบบุหรี่ เพื่อที่จะได้ออกแบบกลไกในการควบคุม
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ผิวหนังไฟฟ้าที่ใช้เหงื่อเป็นพลังงานช่วยดูแลสุขภาพ
นักวิจัยจาก California Institute of Technology (Caltech) ได้พัฒนาผิวหนังไฟฟ้าที่สามารถติดลงบนผิวหนังของคน โดยในตัวผิวหนังนี้มีเซ็นเซอร์เพื่อวัดสัญญาณชีพของคนที่ติดมันอยู่ โดยผิวหนังนี้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะดูดซับแลคเตท (lactate) จากเหงื่อของคนใส่ โดยเมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับอากาศจะทำให้ได้น้ำ ไพรูเวท (pyruvate) และพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซ็นเซอร์และอุปกรณ์บลูทูช ด้วยวิธีนี้ทำให้ผิวหนังนี้ส่งค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์ และมีพลังงานที่เสถียรเพียงพอที่จะทำงานอยู่ได้หลายวัน
อ่านข่างเต็มได้ที่: Caltech News
อ่านข่างเต็มได้ที่: Caltech News
วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
การปักธงแดงในข่าวจะช่วยลดการแชร์ข้อมูลหลอกลวงได้
นักวิจัยจาก New York University Tandon School of Engineering พบว่าการนำหัวข่าวไปจับคู่กับเว็บไซต์ที่เป็นเว็บไซต์เช็คความจริงของข่าว ไปตรวจสอบกับสื่อหลัก ไปตรวจสอบกับความเห็นของคนส่วนใหญ่ และแม้แต่ใช้ AI ช่วยตรวจสอบ จะช่วยลดการแชร์ข่าวลวงลงไปได้มาก นักวิจัยบอกว่าเป็นที่น่ายินดีมากที่เว็บไซต์เช็คความจริงของข่าวนั้นน่าเชื่อถือมาก อย่างไรก็ตามมันก็ขึ้นกับทัศนคติทางการเมืองและเพศด้วย โดยนักวิจัยพบว่าคนที่เชียร์พรรครีพับลิกัน (ของอเมริกา) และผู้ชายมักจะไม่สนใจตัวบ่งชี้จากเครื่องมือที่กล่าวมาแล้ว และมีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ มากกว่า
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NYU Tandon School of Engineering
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ในขณะที่ผู้หญิงมักจะถูกคิดว่าเป็นพวกเมาท์มอยมากกว่า แต่ผู้ชายกลับกลายเป็นพวกแชร์ข่าวปลอมมากกว่า
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NYU Tandon School of Engineering
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ในขณะที่ผู้หญิงมักจะถูกคิดว่าเป็นพวกเมาท์มอยมากกว่า แต่ผู้ชายกลับกลายเป็นพวกแชร์ข่าวปลอมมากกว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)