นักวิจัยจาก Google ได้พัฒนาหุ่นยนต์สุนัขและสอนให้มันเดินโดยให้มันดูวีดีโอการเดินของสุนัขจริง ๆ บนลู่วิ่ง หุ่นยนต์สุนัขนี้มีชื่อว่า Laikago โดยตัวมันเองมีลักษะต่างจากสุนัขจริง ๆ (ดูรูปได้จากข่าว) ดังนั้นมันจะไม่สามารถลอกเลียนสุนัขจริง ๆ ทั้งหมดได้ โดยระบบจะใช้ขั้นตอนวิธี reinforcement learning เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวเหมือนสุนัขจริง ๆ ให้มากที่สุด
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Wired
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563
Google เพิ่มแป้นพิมพ์เบรลบนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์
Google ได้เพิ่มแป้นพิมพ์เบรลสำหรับผู้พิการทางสายตาสำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ โดยที่ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์พิเศษใด ๆ โดยแป้นพิมพ์นี้จะทำงานได้กับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตั้งแต่เวอร์ชัน 5 ขึ้นไป โดยให้อัปเดต Android Accessibility Suite จาก Google Play Store โดยในช่วงแรกนี้จะรองรับเบรลเกรด 1 และ 2 ในภาษาอังกฤษเท่านั้น ภาษาอื่น ๆ จะค่อย ๆ ตามมา
อ่านข่าวเต็มได้ที่: VentureBeat
วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563
ฟลอริดาใช้รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองส่งข้อมูลไปทดสอบ COVID
หน่วยทดสอบ COVID ใน Jacksonville ฟลอริดา ใช้รถ Shuttle Bus แบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ในการส่งตัวอย่างที่ได้จากคนไข้ไปประมวลผลที่โรงพยาบาล โดยในช่วงทดสอบนี้ รถนี้จะถูกขับตามมาโดยรถที่ขับด้วยคนอีกทีหนึ่ง และถนนที่รถวิ่งผ่านก็ยังมีการกันไม่ให้มีคนเดินเท้าและรถอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการใช้รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองแบบนี้ ถึงแม้ยังต้องมีคนคุมอยู่ แต่มันก็ช่วยลดโอกาสที่อาจมีการติดเชื้อจากการขนส่งโดยเฉพาะคนที่ต้องอยู่ในรถกับตัวอย่าง และยังช่วยให้มีบุคลากรเหลือทำงานในโรงพยาบาลมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องไปขนส่งด้วยตัวเอง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Verge
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563
มาใช้ Google Account กับโทรศัพท์แอนดรอยด์กันเถอะ
ปัจจุบันนี้พวกเราส่วนใหญ่ก็คงใช้สมาร์ตโฟนกันนะครับ ซึ่งสมาร์ตโฟนก็มีอยู่หลัก ๆ สองค่าย คือของฝั่ง Apple ซึ่งก็คือ iPhone และของฝั่งแอนดรอยด์ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ โดยคนที่ใช้ iPhone ก็ควรจะต้องมี Apple ID ส่วนคนที่ใช้แอนดรอยด์ก็ควรมี Google Account แต่เชื่อไหมครับ ปัจจุบันคนที่ใช้มือถือหลายคนกลับละเลย และไม่ให้ความสำคัญกับการที่ต้องผูกข้อมูลเหล่านี้ไว้กับโทรศัพท์ตัวเอง ทั้ง ๆ ที่มีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการแบ็คอัพข้อมูล การติดตามโทรศัพท์ถ้าโทรศัพท์หาย และการกู้คืนโทรศัพท์
เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน (เรื่องนี้ว่าจะเขียนนานแล้ว แต่มีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาก่อน) ผมได้เจอประสบการณ์ที่ต้องกู้คืนโทรศัพท์ที่เจ้าของลืมรหัสเข้าเครื่อง จริง ๆ ไม่เชิงลืมครับคืออย่างนี้ เรื่องของเรื่องคือน้องสาวผมได้เปลี่ยนโทรศัพท์ซึ่งใช้มานานมากน่าจะเกิน 7 ปี และที่ต้องเปลี่ยนเพราะถ้าไม่เปลี่ยนต่อไปก็จะใช้แอปพวกธนาคารต่าง ๆ ไม่ได้แล้ว น้องก็เอาโทรศัพท์เก่าและใหม่ มาเพื่อให้ช่วยเซ็ตให้ เท่าที่เห็นคือโทรศัพท์เก่าที่น้องใช้ไม่ได้ตั้งรหัสเข้าเครื่อง เครื่องใหม่ก็ไม่ได้ตั้ง และยังไม่ได้ล็อกอิน Google Account ก็เลยแนะนำให้ล็อกอินก่อน แล้วน่าจะตั้งพินเข้าเครื่องด้วย น้องก็ทำท่าอิดออดไม่อยากล็อกอิน Google Account บอกเครื่องเก่าก็ไม่ได้ล็อก ก็เลยบอกว่าถ้าไม่ได้ล็อกแล้วโหลดแอปยังไง น่าจะล็อกมั้ง ก็เลยยอม ซึ่งก็นั่งคิดรหัสผ่านอยู่ตั้งนาน แสดงว่าไม่ค่อยได้ใช้ Google Accont เพื่อเรื่องอื่นจริง ๆ ถึงตอนให้ตั้งพินก็ยังไม่อยาก แต่ก็ยอมทำ เอาละครับเรื่องมันเริ่มตรงนี้แหละครับ เวลาตั้งพินมันจะให้ใส่สองครั้งเหมือนกันใช่ไหมครับ ซึ่งน้องผมก็ทำผ่านเรียบร้อย แต่เชื่อไหมครับ พินที่น้องผมตั้งไป มันไม่ใช่ตัวที่เขาตั้งใจ เขากดผิดไปบางตัว แล้วกดผิดเหมือนกันสองครั้ง เหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดมันเกิดขึ้นแล้วครับ ซึ่งแน่นอนการตั้งพินก็ผ่านไปเรียบร้อย
แล้วเรื่องมันก็เกิด พอไม่ใช้เครื่องหน้าจอมันก็ล็อก พอจะปลดล็อกมันก็ให้ใส่พิน และแน่นอนครับมันเข้าไม่ได้ น้องก็พยายามเดาว่าผิดตรงตำแหน่งไหน แต่เดายังไงก็ไม่ถูก ซึ่งยิ่งเดาผิดมากครั้ง มันก็เพิ่มเวลาให้รอมากขึ้น ดังนั้นผมก็คิดว่าเดาไปคงใช้เวลาอีกเท่าไรก็ไม่รู้ ผมก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่ก็คิดถึงการ Factory Reset เครื่อง ก็เลยจะลองทำดู ซึ่งสมัยก่อนก็ทำบ่อยเวลาจะลง ROM เครื่องเอง เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแล้ว เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม แต่ประเด็นคือเท่าที่เคยทำมาเราจะต้องปิดเครื่องให้ได้ก่อน แล้วค่อยกดปุ่มพิเศษเพื่อเข้าเมนูพิเศษของเครื่อง แต่ตอนนี้มันก็ไม่ยอมให้ปิดเครื่องครับ พอจะปิดเครื่องมันก็ยังให้ใส่พินให้ถูก ซึ่งจริง ๆ คุณสมบัตินี้มันเป็นคุณสมบัติที่ดีมากเลยนะครับ ถ้าโทรศัพท์เราหาย แต่พอมาเจอกับตัวเองเข้าก็หงุดหงิดครับ แต่สุดท้าย Google ก็ช่วยชีวิตครับ มีวิธีที่ทำให้เราเข้าเมนูพิเศษได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง ดังนั้นผมก็ทำไป แล้วก็ทำ Factory Reset
ถึงตอนนี้คิดว่าเอาชนะได้แล้ว ความคิดเริ่มย้อนแย้ง ประมาณว่าสุดท้ายก็ไม่แน่จริงนี่หว่า ยังไงถ้าใครโขมยเครื่องไปเขาก็เอาไปใช้ได้อยู่ดี แต่ผมคิดผิดครับ มันยังไม่จบ เพราะหลังจาก Factory Reset เสร็จมันก็ยังถามพินเข้าเครื่องอยู่ดี แต่มันมีทางเลือกให้เราล็อกอิน Google Account ด้วย มันบอกประมาณว่าดูเหมือนว่ามีใช้พินหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ น่าจะลืมพิน ถ้าลืมพินก็ให้ใช้ Google Account ที่ล็อกอินมาก่อนหน้าที่จะ reset เครื่องนะ โอ้วประทับใจมากครับ และก็รู้สึกดีใจที่บอกให้น้องล็อกอิน Google Account ไว้ก่อน และแสดงให้เห็นว่าทำไมเราต้องผูก Gogole Account ของเรากับโทรศัพท์แอนดรอยด์
ซึ่งจากประสบการณ์นี้บอกตามตรงว่าค่อนข้างประทับใจกับระบบความปลอดภัย อย่างนี้ถ้าเราตั้งพินเอาไว้ดี ๆ คนที่เก็บเครื่องเราได้หรือโขมยไปจะเอาเครื่องไปใช้ ก็จะยุ่งยากมาก แต่คิดอีกที ถ้ามีทางเลือกแบบให้ล็อกอิน Google Account ได้ ทำไมไม่ทำให้ออกมาถามตอนเขาป้อนพินผิดหลาย ๆ ครั้งนะ ทำไมต้องให้เขาไป Factory Reset ก่อนด้วย...
เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน (เรื่องนี้ว่าจะเขียนนานแล้ว แต่มีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาก่อน) ผมได้เจอประสบการณ์ที่ต้องกู้คืนโทรศัพท์ที่เจ้าของลืมรหัสเข้าเครื่อง จริง ๆ ไม่เชิงลืมครับคืออย่างนี้ เรื่องของเรื่องคือน้องสาวผมได้เปลี่ยนโทรศัพท์ซึ่งใช้มานานมากน่าจะเกิน 7 ปี และที่ต้องเปลี่ยนเพราะถ้าไม่เปลี่ยนต่อไปก็จะใช้แอปพวกธนาคารต่าง ๆ ไม่ได้แล้ว น้องก็เอาโทรศัพท์เก่าและใหม่ มาเพื่อให้ช่วยเซ็ตให้ เท่าที่เห็นคือโทรศัพท์เก่าที่น้องใช้ไม่ได้ตั้งรหัสเข้าเครื่อง เครื่องใหม่ก็ไม่ได้ตั้ง และยังไม่ได้ล็อกอิน Google Account ก็เลยแนะนำให้ล็อกอินก่อน แล้วน่าจะตั้งพินเข้าเครื่องด้วย น้องก็ทำท่าอิดออดไม่อยากล็อกอิน Google Account บอกเครื่องเก่าก็ไม่ได้ล็อก ก็เลยบอกว่าถ้าไม่ได้ล็อกแล้วโหลดแอปยังไง น่าจะล็อกมั้ง ก็เลยยอม ซึ่งก็นั่งคิดรหัสผ่านอยู่ตั้งนาน แสดงว่าไม่ค่อยได้ใช้ Google Accont เพื่อเรื่องอื่นจริง ๆ ถึงตอนให้ตั้งพินก็ยังไม่อยาก แต่ก็ยอมทำ เอาละครับเรื่องมันเริ่มตรงนี้แหละครับ เวลาตั้งพินมันจะให้ใส่สองครั้งเหมือนกันใช่ไหมครับ ซึ่งน้องผมก็ทำผ่านเรียบร้อย แต่เชื่อไหมครับ พินที่น้องผมตั้งไป มันไม่ใช่ตัวที่เขาตั้งใจ เขากดผิดไปบางตัว แล้วกดผิดเหมือนกันสองครั้ง เหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดมันเกิดขึ้นแล้วครับ ซึ่งแน่นอนการตั้งพินก็ผ่านไปเรียบร้อย
แล้วเรื่องมันก็เกิด พอไม่ใช้เครื่องหน้าจอมันก็ล็อก พอจะปลดล็อกมันก็ให้ใส่พิน และแน่นอนครับมันเข้าไม่ได้ น้องก็พยายามเดาว่าผิดตรงตำแหน่งไหน แต่เดายังไงก็ไม่ถูก ซึ่งยิ่งเดาผิดมากครั้ง มันก็เพิ่มเวลาให้รอมากขึ้น ดังนั้นผมก็คิดว่าเดาไปคงใช้เวลาอีกเท่าไรก็ไม่รู้ ผมก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่ก็คิดถึงการ Factory Reset เครื่อง ก็เลยจะลองทำดู ซึ่งสมัยก่อนก็ทำบ่อยเวลาจะลง ROM เครื่องเอง เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแล้ว เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม แต่ประเด็นคือเท่าที่เคยทำมาเราจะต้องปิดเครื่องให้ได้ก่อน แล้วค่อยกดปุ่มพิเศษเพื่อเข้าเมนูพิเศษของเครื่อง แต่ตอนนี้มันก็ไม่ยอมให้ปิดเครื่องครับ พอจะปิดเครื่องมันก็ยังให้ใส่พินให้ถูก ซึ่งจริง ๆ คุณสมบัตินี้มันเป็นคุณสมบัติที่ดีมากเลยนะครับ ถ้าโทรศัพท์เราหาย แต่พอมาเจอกับตัวเองเข้าก็หงุดหงิดครับ แต่สุดท้าย Google ก็ช่วยชีวิตครับ มีวิธีที่ทำให้เราเข้าเมนูพิเศษได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง ดังนั้นผมก็ทำไป แล้วก็ทำ Factory Reset
ถึงตอนนี้คิดว่าเอาชนะได้แล้ว ความคิดเริ่มย้อนแย้ง ประมาณว่าสุดท้ายก็ไม่แน่จริงนี่หว่า ยังไงถ้าใครโขมยเครื่องไปเขาก็เอาไปใช้ได้อยู่ดี แต่ผมคิดผิดครับ มันยังไม่จบ เพราะหลังจาก Factory Reset เสร็จมันก็ยังถามพินเข้าเครื่องอยู่ดี แต่มันมีทางเลือกให้เราล็อกอิน Google Account ด้วย มันบอกประมาณว่าดูเหมือนว่ามีใช้พินหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ น่าจะลืมพิน ถ้าลืมพินก็ให้ใช้ Google Account ที่ล็อกอินมาก่อนหน้าที่จะ reset เครื่องนะ โอ้วประทับใจมากครับ และก็รู้สึกดีใจที่บอกให้น้องล็อกอิน Google Account ไว้ก่อน และแสดงให้เห็นว่าทำไมเราต้องผูก Gogole Account ของเรากับโทรศัพท์แอนดรอยด์
ซึ่งจากประสบการณ์นี้บอกตามตรงว่าค่อนข้างประทับใจกับระบบความปลอดภัย อย่างนี้ถ้าเราตั้งพินเอาไว้ดี ๆ คนที่เก็บเครื่องเราได้หรือโขมยไปจะเอาเครื่องไปใช้ ก็จะยุ่งยากมาก แต่คิดอีกที ถ้ามีทางเลือกแบบให้ล็อกอิน Google Account ได้ ทำไมไม่ทำให้ออกมาถามตอนเขาป้อนพินผิดหลาย ๆ ครั้งนะ ทำไมต้องให้เขาไป Factory Reset ก่อนด้วย...
โปรแกรมบอทที่ทำหน้าที่ขุดเงินคริปโตได้แอบเจาะโปรแกรม MSSQL Server มาเกือบสองปี
บริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์ชื่อ Guardicore บอกว่า มีโปรแกรมบอทที่ใช้วิธีเดารหัสผ่านของผู้ดูแลระบบของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MSSQL Server เมื่อเดาได้แล้วก็ติดตั้งสคริปต์การขุดเงินคริปโตลงในระบบปฏิบัติการที่โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลทำงานอยู่ โดยทำมาเกือบสองปีแล้ว โปรแกรมบอทตัวนี้มีชื่อว่า Vollgar โดย Guardicore บอกว่าโปรแกรมนี้เจาะระบบได้ 3000 ระบบต่อวัน โดยบอกว่าการจู่โจมมีมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 โดยมาจาก IP address กว่า 120 ตัว โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน โดย 60% ของเครื่องที่ติดโปรแกรมนี้จะติดอยู่ไม่เกิน 2 วัน แต่ เกือบ 20% จะปล่อยให้เครื่องตัวเองติดอยู่เกิน 1 สัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น 10% จะติดซ้ำ โดย Guadicore ได้โพสต์สคริปต์เพื่อตรวจจับบอทตัวนี้ไว้ที่ GitHub repository ของ Guadicore
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet
อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)