นักวิจัยจาก University of Waterloo Cheriton School of Computer Science ใน Canada และ New York University ได้ร่วมกันพัฒนาจักรกลค้นหา (search engine) เฉพาะทางเพื่อนักวิจัยที่ทำวิจัยด้านการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจักรกลค้นหานี้จะค้นข้อมูลชุดข้อมูล COVID-19 Open Research Dataset (CORD-19) ซึ่งเป็นข้อมูลแบบสาธารณะเปิดให้เข้าใช้ได้ โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะมีบทความวิชาการ รายงานทางการแพทย์ บทความจากวาสาร และข้อมูลที่มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับ COVID-19 และไวรัสจระกูลโคโรนา ประมาณ 45,000 บทความ ซึ่ง AI จะดึงข้อมูลเชิงลึกออกมาจากข้อมูลที่เป็นข้อความ และทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยใช้ภาษาที่เราใช้กันทั่ว ๆ ไป
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Waterloo Cheriton School of Computer Science
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563
การศึกษาเพื่อใช้ AI ในการหาระเบิดที่ยังไม่ระเบิดจากสงครามเวียดนาม
นักวิจัยจาก Ohio State University (OSU) ใช้ AI เพื่อหาระเบิดที่ถูกทิ้งลงมาแต่ยังไม่ระเบิดในกัมพูชา ในช่วงสงครามเวียดนาม วิธีการคือใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร ใกล้กับ Kampong Trabaek ในกัมพูชา เพื่อหาหลุมระเบิด ซึ่งนักวิจัยบอกว่ามันสามารถหาหลุมระเบิดเจอได้สูงกว่าวิธีมาตรฐานที่ใช้กันถึง 160% ผลการศึกษาพบว่า 44% ถึง 50% ของระเบิดที่ถูกทิ้งลงไปที่นั่นยังไม่ระเบิด
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News
วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563
ภาพสามมิติเสมือนจริงของใบหน้าสามารถสร้างได้จากกล้องของสมาร์ตโฟน
นักวิจัยจาก Carnegie Mellon University's Robotics Institute ได้แสดงให้เห็นถึงการสร้างภาพสามมิติเสมือนจริงได้โดยใช้วีดีโอภาพใบหน้าที่ถ่ายจากกล้องสมาร์ตโฟน โดยเขาได้ใช้ขั้นตอนวิธีของการเรียนรู้เชิงลึกประมวลผลภาพวีดีโอที่ถ่ายใบหน้าจากด้านหน้าและด้านข้าง ตามข่าวบอกว่ากระบวนการสร้างไม่ได้ใช้เวลาที่เร็วนัก ต้องใช้เวลาประมาณ 30 ถึง 40 นาทีจึงจะประมวลผลเสร็จ แต่กระบวนการทั้งหมดสามารถทำได้โดยใช้สมาร์ตโฟน โดยสมาร์ตโฟนที่นักวิจัยใช้คือ iPhone X
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563
ผู้เชี่ยวชาญจากยุโรปบอกว่าได้พัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ตโฟนสำหรับหยุดโคโรนาไวรัส
กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ 130 คนจากประเทศในยุโรป 8 ประเทศ กำลังจะเปิดตัวแพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือที่จะสามารถติดตามคนที่มีสัมผัสใกฃ้ชิดกับผู้ติดเชื่้อโคโรนาได้ หลักการก็คือเมื่อสมาร์ตโฟนสองเครื่องมาอยู่ใกล้กันก็จะมีการบันทึกข้อมูลเอาไว้ 14 วัน ดังนั้นพอสามารถตรวจเจอคนที่ติดไวรัส ก็สามารถแจ้งเตือนผู้ที่มีความเสี่ยงได้ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้ารหัสและเข้าดูได้โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพเท่านั้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563
คอมพิวเตอร์จิ๋วเพื่อติดตามสัตว์ป่าที่เข้าถึงที่อยู่ได้ยาก
ทีมวิศกร นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และนักชีววิทยาจาก Ohio State University, several German universities, หลายแห่งในเยอรมัน และ Smithsonian Tropical Research Institute ในปานามา ได้ร่วมกันพัฒนาคอมพิวเตอร์คิดหลังขนาดจิ๋ว (ดูรูปได้จากข่าวเต็ม) เพื่อติดไว้บนหลังสัต์ขนาดเล็กเพื่อที่จะได้ติดตามเข้าไปในถิ่นที่อยู่ของมัน โดยคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ และจะใช้พลังงานอย่างประหยัดคือมันจะตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งเท่านั้น ความจุแบตเตอรีที่ใช้จะมีเพียง 5% ของถ่าน 3A ที่เราใช้ทั่วไป นักวิจัยได้ทดสอบกับฝูงค้างคาวอยู่สองสัปดาห์ และสามารถบันทึกการติดต่อสื่อสารของพวกมันประมาณ 400,000 ครั้งลงในโทรศัพท์
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ค้างคาวอีกแล้ว บอกตามตรงสรุปข่าวนี้ก็เพราะค้างคาวนี่แหละ อยากบอกนักวิจัยว่าช่วงนี้เลิกยุ่งกับมันไปสักพักได้ไหมไอ้ค้างคาวนี่
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ค้างคาวอีกแล้ว บอกตามตรงสรุปข่าวนี้ก็เพราะค้างคาวนี่แหละ อยากบอกนักวิจัยว่าช่วงนี้เลิกยุ่งกับมันไปสักพักได้ไหมไอ้ค้างคาวนี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)