วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

คอมพิวเตอร์จิ๋วเพื่อติดตามสัตว์ป่าที่เข้าถึงที่อยู่ได้ยาก

ทีมวิศกร นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และนักชีววิทยาจาก Ohio State University, several German universities, หลายแห่งในเยอรมัน และ Smithsonian Tropical Research Institute ในปานามา ได้ร่วมกันพัฒนาคอมพิวเตอร์คิดหลังขนาดจิ๋ว (ดูรูปได้จากข่าวเต็ม) เพื่อติดไว้บนหลังสัต์ขนาดเล็กเพื่อที่จะได้ติดตามเข้าไปในถิ่นที่อยู่ของมัน โดยคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ และจะใช้พลังงานอย่างประหยัดคือมันจะตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งเท่านั้น ความจุแบตเตอรีที่ใช้จะมีเพียง 5% ของถ่าน 3A ที่เราใช้ทั่วไป นักวิจัยได้ทดสอบกับฝูงค้างคาวอยู่สองสัปดาห์ และสามารถบันทึกการติดต่อสื่อสารของพวกมันประมาณ 400,000 ครั้งลงในโทรศัพท์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

ค้างคาวอีกแล้ว บอกตามตรงสรุปข่าวนี้ก็เพราะค้างคาวนี่แหละ อยากบอกนักวิจัยว่าช่วงนี้เลิกยุ่งกับมันไปสักพักได้ไหมไอ้ค้างคาวนี่

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

ซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย COVID-19 จะลบข้อมูลในเครื่องคุณและเขียนส่วนบูตเครื่องขึ้นมาใหม่

ZDNet ระบุว่าซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (malware,มัลแวร์)  ที่ใช้รูปลักษณ์ของ COVID-19 จำนวน 5 ตัว จะทำความเสียหายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ลบข้อมูลทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์จนถึงเขียนส่วนบูตเครื่องหลัก (master boot record) ขึ้นมาใหม่ มัลแวร์จะใช้ชื่อว่า COVID-19.exe ตัวหนึ่งเมื่อติดเครื่องแล้ว มันจะแสดงวินโดว์ที่ปิดไม่ได้ เมื่อผู้ใช้สาละวนอยู่กับการพยายามแก้ปัญหา ตัวมัลแวร์จะเข้าไปเขียนส่วนบูตเครื่องหลัก และเมื่อเครื่องถูกรีสตาร์ตขึ้นมาใหม่มันจะบล็อกผู้ใช้ไม่ให้เข้าไปสู่เมนูก่อนการบูตเครื่อง อีกตัวหนึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ (ransomeware) เพื่อหลอกผู้ใช้ แต่จริง ๆ แล้วมีจุดประสงค์เพื่อโขมยรหัสผ่าน และในเวอร์ขันสองจะแอบเขียนส่วนบูตเครื่องหลักไปด้วย ส่วนอีกสองตัวจะลบไฟล์ในเครื่อง ถึงแม้มันจะใช้วิธีแบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเอามาก ๆ แต่มันก็ทำงานได้จริง ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามันก็ทำอันตรายได้จริง ถ้ามันกระจายไปอย่างกว้างขวาง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

อยากได้คำตอบกันไหมว่าเราจะต้องอยู่บ้านช่วยชาติกันไปนานแค่ไหนและรัฐบาลจะทำอะไร

ตอนนี้หลายคนอาจอยู่บ้านช่วยชาติ Work From Home กันมาหลายวันแล้วนะครับ ส่วนตัวผมนี่ก็สอนออนไลน์อยู่ที่บ้านมาสามสัปดาห์แล้ว ในส่วนตัวตอนนี้ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรมาก เพราะส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบไปไหนต่อไหนอยู่แล้ว ปกติเลิกงานก็กลับบ้าน ที่เดือดร้อนที่สุดตอนนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องเปลืองไฟ เปลืองแอร์ที่บ้าน และกังวลว่าอุปกรณ์ที่ใช้อยู่มันจะเสียไหม เพราะหลายชิ้นก็ใช้งานมานานแล้ว ถ้ามันเสียก็จะทำให้ทำงานลำบากขึ้น ตอนนี้ก็คงจะออกไปซ่อมหรือหาซื้อได้ยาก เพราะร้านต่าง ๆ ก็ปิดกันหมด โดยเฉพาะร้านตามห้างต่าง ๆ ปกติผมจะไปหาซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามห้าง และอีกอันก็คือรู้สึกว่าการสอนออนไลน์มันเตรียมเหนื่อยกว่าการสอนปกติ และบางทีมันสอนยากกว่า เพราะไม่ได้เห็นหน้านักศึกษา ข้อดีอย่างเดียวคือไม่ต้องเดินทาง อีกเรื่องนึงที่เดือดร้อนที่สุดก็เป็นเรื่องตัดผมครับ ก่อนที่มถานการณ์จะมาถึงขนาดนี้ ผมตั้งใจจะไปตัดผม แต่วันที่ไปดันมีคนรอตัดผมเต็มร้านไปหมด ผมก็เลยไม่รอ และหลังจากวันนั้นดันไม่ว่าง ก็เลยไม่ได้ตัดมาจนถึงตอนนี้ และคงไม่ได้ตัดไปอีกนานอย่างน้อยก็คงถึงสิ้นเดือนนี้

ในส่วนพวกเราที่ทำงานที่บ้านได้ ไม่ตกงาน บ้านมีเน็ตดี ๆ ดู Netflix ได้ ก็คงอยู่กันไปได้ สักพักหนึ่ง แต่ถ้ามันนานมาก ๆ ผมว่าพวกเราก็คงไม่ไหวเหมือนกันนะครับ ขนาดผมตอนนี้ยังรู้สึกเริ่มเบื่อ ๆ เลย และลองมาดูผลกระทบกับบุคคลที่ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ บางคนต้องตกงาน ธุรกิจบางตัวถึงกับต้องปิดตัวไป ในส่วนนี้รัฐบาลได้คิดมาตรการรองรับไหม มาตรการ 5000 บาทนานสามเดือนมันเยียวยาได้พอไหม พอเปิดมาหลังจากนี้ถ้าเขาไม่มีงานทำ รัฐบาลจะช่วยเขายังไง คือที่เขียนมานี้ไม่ได้คิดแต่จะตำหนิรัฐบาล แต่อยากจะให้คิดว่ามันไม่ใช่ให้อยู่บ้านกันไปเรื่อย ๆ เพราะยิ่งต้องอยู่นาน การเยียวยาจากรัฐบาลมันจะทำได้ยากมากขึ้น และค่าใช้จ่ายมันจะยิ่งสูงมากขึ้น

คือผมเข้าใจว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก และไม่คาดคิด แต่การจะประกาศอะไรออกมา มันควรจะผ่านการกลั่นกรองวางแผนมาระดับหนึ่งไหมครับ อย่างทีมคุณหมอท่านเสนอแนะว่าควรให้อยู่บ้านกันมากที่สุด ท่านก็เสนอในมุมของคุณหมอ ท่านก็คิดในมุมลดการระบาด แต่มันก็ต้องมีคนคิดส่วนอื่นด้วย ในตอนแรกที่เสนอมาว่าถึง 12 เมษายน นี่ ใช้หลักคิดอะไร แล้วมีมาตรการจะจัดการยังไง แล้วทำไมพอประกาศมาแค่ไม่กี่วันก็มาขยายเป็น 30 เมษายน คือมันมีหลักการอะไรในการประเมิน ดังนั้นตอนนี้ก็คือเราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อถึงวันที่ 30 เมษายน แล้วมันจะยังไงต่อไป เรามีอะไรเป็นเกณฑ์ประเมินความสำเร็จของมาตรการ ประชาชนจะได้รู้ว่ามันสำเร็จหรือไม่ และถ้ามันไม่สำเร็จ มันก็ต้องประเมินว่าทำไมมันไม่สำเร็จ เรามาผิดทาง ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือหรือเพราะอะไร ถ้ามาตรการไม่สำเร็จ เราปิดต่อไป แล้วจะทำยังไง ให้มันสำเร็จ

มีคนบอกว่าอย่าวิจารณ์อย่างเดียว ต้องเสนอด้วยสิ หรือเอาแต่วิจารณ์มาทำดูสิ ซึ่งจริง ๆ ผมบอกแล้วนะว่าการวิจารณ์มันไม่ใช่ว่าเราต้องทำได้ เพราะหลาย ๆ ครั้ง เราก็ไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือ หรือมีศักยภาพที่จะทำได้เหมือนคนที่มีอำนาจอยู่ แต่คราวนี้ผมอยากจะลองเสนอดูบ้าง คือผมว่ารัฐบาลน่าจะมีแผนไปเลยในช่วงนี้ว่าหยุดแล้วจะทำอะไร เช่นประกาศหยุดหนึ่งเดือนอย่างตอนนี้ ในช่วงสองสัปดาห์แรก อยู่บ้านกัน ช่วยลดการติดต่อ เพิ่มเรื่อง social distancing ในช่วงสองสัปดาห์นี้ รัฐบาลจะจัดหาชุดตรวจโควิดที่ให้ผลเร็ว ทำให้หน้ากากอนามัยหาซื้อได้ หรือจัดส่งให้ประชาชน (ซึ่งวันนี้ทีฟังเหมือนกับเขากำลัวจะทำหน้าการผ้ามาแจก) จัดทำเจลล้างมือ อะไรก็ว่าไป หลังจากนั้นอีกสองสัปดาห์ จะปูพรมลงตรวจประชาชน ซึ่งตรงนี้จะต้องขอเพิ่มมาตรการเช่นประกาศเป็นวันหยุด ให้ทุกคนอยู่บ้านตรวจด้วยเครื่องมือที่ให้ผลเร็วจะได้รู้จำนวนคนป่วย แล้วแยกตัวออกมา เพราะโรคนี้บางทีมันก็ไม่แสดงอาการ อาจไม่ได้ 100% แต่ก็ทำให้มากที่สุด พวกที่ต้องทำจริง ๆ หยุดไม่ได้ ก็ให้ตรวจที่ทำงาน ในช่วงที่ต้องหยุดงานนี้ บริษัทที่เสียผลประโยชน์ ไม่สามารถ work from home ได้ รัฐบาลจะชดเชยให้ลูกจ้าง ให้บริษัทยังไงก็ว่าไป ช่วงที่หยุดก็ทำความสะอาดที่ทำงาน ระบบขนส่งมวลชนอะไรให้มากที่สุด ถ้าเห็นว่า Face Shield มันใช้ได้ผล ก็อาจจัดหา หรือสั่งทำให้พร้อมจำหน่าย หรือแจกจ่ายประชาชนที่มีรายได้น้อย ตรงนี้อาจใช้เวลาอีกสองสัปดาห์ และแน่นอนต้องให้ประชาชนตระหนักว่าในช่วงหลังจากนี้ออกจากบ้าน ต้องใช้ Face Shield สวมหน้ากากอนามัย พกเจลล้างมือติดตัว ซึ่งรวมทั้งหมดนี้ก็จะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนตามที่ประกาศหยุด ซึ่ง Covid อาจไม่หายไปหมด แต่อย่างน้อยเราก็ออกมาใช้ชีวิตกันได้เหมือนเดิม ด้วยการระมัดระวังป้องกันตัวเอง เพราะอย่างน้อยเราก็ได้คัดกรองคนป่วยไปส่วนใหญ่แล้ว และเราก็สามารถหาซื้อเครื่องมือป้องกันตัวเองได้ง่ายไม่ขาดตลาดเหมือนตอนนี้  อีกอย่างที่ต้องทำให้เกิดให้ได้คือระบบซึ่งเป็น cashless เอาให้ถึงระดับล่างที่สุดเลยให้ได้ เพราะเชื้อพวกนี้มันติดต่อผ่านแบงค์หรือเหรียญได้ จริง ๆ มันก็ไม่ใช่แค่โรคนี้หรอก หลายโรคเลยแหละ แต่เราไม่ได้สนใจมันมากเท่านั้นเอง

ที่พูดมามันก็เป็นเพียงแนวคิดของผม จะดีหรือไม่ดีไม่รู้ แต่ผมอยากได้คำชี้แจงหรือแผนงานอะไรประมาณนี้ครับ อย่างน้อยมันก็ดีกว่าอยู่บ้านช่วยชาติกันไปนะ ซึ่งถ้าแผนมันไม่ได้ผลอะไรครงไหนเราจะได้รู้ และจะได้เข้าใจว่าทำไมต้องหยุดต่อ หรือต้องทำอะไรต่อไปและพร้อมให้ความร่วมมือ และจะได้มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน และถ้ายิ่งให้เราออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วเท่าไหร่ เศรษฐกิจก็ยิ่งเสียหายน้อยลงเท่านั้น และรัฐบาลก็ใช้เงินในการเยียวยาน้อยลงด้วย ไม่ใช่เอาแต่ออกมาขู่ ถ้ายังไม่ลดก็ปิดต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งมันฟังแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย นอกจากจะเกลียดมากขึ้น เวรกรรม ว่าจะไม่แขวะแล้ว อดไม่ได้จริง ๆ

ACM มอบรางลัลให้ผู้พัฒนา AlphaGo

Association for Computing Machinery (ACM) ได้ประกาศในวันที่ 1 เมษายน เพื่อมอบรางวัล ACM Prize in computing ประจำปี 2019  ในสาขา คอมพิวเตอร์เล่นเกม (computer game-playing) ให้กับ David Silver ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มนักพัฒนาที่พัฒนา AlphaGo ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่เล่นเกม Go ชนะแชมป์ของเกมนี้ที่เป็นคน ในตอนนี้ Silver และทีมกำลังพัฒนาขั้นตอนวิธีที่เรียกว่า AlphaZero เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้การเล่นเกมกับตัวเอง โดยไม่ต้องเรียนรู้จากผู้เล่นที่เป็นคนเลย ซึ่งขั้นตอนวิธีที่ Silver และทีมกำลังพัฒนาสามารถนำไปประยุกต์กับเทคโนโลยีระดับสูงนอกจากเกมได้ อย่างเช่น Google ตอนนี้ก็กำลังศึกษาวิธีที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ACM

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

แอพมือถือบางตัวอาจมีประตูลับซ่อนอยู่

นักวิจัยด้านความมั่นคงไซเบอร์ (cybersecurity) ที่ Ohio State University, New York University, and Germany's CISPA Helmholtz Center for Information Security พบว่า 8.5% จากแอปประมาณ 150,000 ตัวที่เราสามารถดาวน์โหลดกันได้มีประตูลับซึ่งอาจเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หรือบล็อกผู้ใช้จากการเข้าถึงเว็บต่าง ๆ ซึ่งอันหลังนี้นักวิจัยบอกว่า มันแอบเอาไว้โดยไม่บอก ดังนั้นผู้ใช้อาจไม่รู้ตัวว่าถ้าใช้คำนี้แล้วจะถูกบล็อก นักวิจัยบอกว่าบางครั้งช่องโหว่นี้มันไม่ได้เป็นความมุ่งร้ายของผู้พัฒนาแอป แต่เป็นความประมาทหรือเข้าใจผิดว่าการทำวิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering) โปรแกรมเพื่อให้เห็นโค้ดโปรแกรมนั้นทำได้ยาก ดังนั้นบางแอปก็อาจเอาตัวรหัสผ่านระดับสูงสุดสด (master password) ใส่ไว้ในแอป ดังนั้นถ้าใครทำวิศกรรมย้อนกลับแล้วได้รหัสผ่านนี้ไปก็สามารถเข้าถีงข้อมูลอะไรก็ได้ที่แอปเก็บไว้ นักวิจัยไดสร้างเครื่อมือแบบเปิดเผยโค้ดชื่อ InputScore เพื่อช่วยให้นักพัฒนาได้เห็นช่องโหว่ในโปรแกรมของตัวเอง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Ohio State News